ภาพแพะบอร์ของประเทศแอฟริกา(ใต้ )
1. ลักษณะทั่วไป
-มีมัดกล้ามเนื้อที่เด่นชัด และให้ความรู้สึกของความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อตามสัดส่วนโครงสร้าง
-แพะเพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าแพะเพศเมีย แพะเพศผู้จะมีหน้าอกกว้างลึก แผ่นหลังกว้างและแข็งแกร่ง มีมัดกล้ามเนื้อสะโพกใหญ่แน่น ส่วนหัวต้องมีขนาดกว้างรับกับส่วนโค้งเรียบของหน้าผากจนถึงจมูก เขาจะต้องกลมโค้งไปทางด้านหลัง ส่วนแพะเพศเมียจะต้องมีกล้ามเนื้อแข็งแรง มีเนื้อหน้าอกเด่นชัด กล้ามเนื้อน่องและสะโพกแข็งแรงสมส่วน แต่ยังคงดูมีลักษณะความเป็นเพศเมียที่สมบรูณ์อยู่
ขอบคุณภาพจาก http://www.boerboksa.co.za
2. โครงสร้างของหัวและสี
►แพะทั้งเพศผู้และเพศเมียต้องมีหัวที่ใหญ่ แข็งแรง นัยน์ตาสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะหัวต้องเรียบโค้งรับกับใบหน้าตั้งแต่โคนเขาจนถึงจมูก เขาทั้งสองข้างต้องกลมสีเข้มและอยู่ห่างกันพอดี แพะที่ถูกสูญเขาสามารถเข้าประกวดได้โดยไม่ผิดกติกา
►ใบหูจะต้องเรียบและอยู่ด้านข้างของใบหน้า โดยไม่บังตาแพะ ใบหูควรมีขนสีแดง 75% แต่ไม่ต่ำกว่า 50%
►ปากบน-ล่างต้องขบเสมอกัน โดยไม่มีส่วนใดยื่นออกมา
►ขนส่วนหัวต้องมีสีแดง อาจเป็นแดงอ่อน แดงเข้ม แดงอมส้ม หรือแดงอมน้ำตาลก็ได้ ส่วนหัวทั้งซีกซ้ายและขวาควรมีสัดส่วนขนสีแดง 40% เป็นอย่างต่ำ (ไม่รวมใบหู) ซึ่งโดยรวมแล้วส่วนหัวทั้งหมดควรต้องมีขนสีแดง 75% ส่วนที่เหลือต้องเป็นสีขาว
ลักษณะที่จัดว่าเป็นข้อบกพร่อง
1.เขาแบน ตรง ไม่กลม โค้ง หรือเขาทั้งสองข้างอยู่ชิดกันเกินไป
2.ปากล่างแหลมเล็ก
3.หูสั้น
4.มีขนสีแดงโดยรวมไม่ถึง 75%
5.หูพับจนเห็นรูหู
ลักษณะที่จัดว่าเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง
1.ส่วนหน้าผากเว้าเข้า
2.หูพับจนเห็นรูหู ซึ่งเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
3.ปากบน หรือล่างยื่นออก ขบไม่เสมอกัน
ลักษณะที่ต้องถูกคัดทิ้ง
1.ตาสีฟ้า
2.หัวไม่เรียบ ขรุขระไม่เป็นทรง
3.มีขนสีขาวทั้งหัว
3. ลำตัวส่วนหน้า
แพะเพศผู้จะต้องมีกล้ามเนื้อบริเวณคอเป็นมัดอย่างเห็นได้ชัด และต้องได้สัดส่วนกับลำตัว
ส่วนแพะเพศเมียจะมีลำคอยาวเล็กน้อยและเนียนเรียบ ทั้งเพศผู้และเพศเมียต้องมีหน้าอกกว้างและลึก หัวไหล่กว้างมีกล้ามเนื้อแน่น
ลักษณะที่จัดว่าเป็นข้อบกพร่อง
1.หัวไหล่ขาหน้าโก่งขึ้น
2.อกแคบ
3.สันคอแคบ
4.สันคอคดแอ่น
ลักษณะที่จัดว่าเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง
1.หัวไหล่ขาหน้าโก่งมากเกินไป
2.กระดูกอกยื่นออกมามากเกินไป
4. แผ่นหลัง
แพะทั้งเพศผู้และเพศเมียต้องมีแผ่นหลังที่กว้างและยาว รอยต่อระหว่างวิทเธอร์กับแผ่นหลังทำมุมเล็กน้อย สันหลังกว้างยาวประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ ส่วนสะโพกยาวโค้งต่อจนถึงบั้นท้าย บั้นท้ายต้องกลมและมีกล้ามเนื้อใหญ่แน่นได้สัดส่วนต่อลงไปจนถึงขาหลัง กระดูกก้นกบต้องกว้าง ส่วนหางต้องตรงไม่คดเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
ลักษณะที่จัดว่าเป็นข้อบกพร่อง
1.สันหลังไม่กว้าง แคบและสั้น ไม่มีกล้ามเนื้อ
2.แผ่นหลังสั้น ไม่มีกล้ามเนื้อ
3.หางคด
4.กระดูกก้นกบแคบ
ลักษณะที่จัดว่าเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง
1.หลังคดงอ
2.กระดูกสะโพกหักมุมไม่รับกับส่วนแผ่นหลัง
3.บั้นท้ายเรียบ ไม่มีกล้ามเนื้อ
4.รอยต่อระหว่างแผ่นหลังกับวิทเธอร์ทำมุมมากเกินไป
5. ส่วนขา ข้อเท้า และกีบ
►ขาหน้าของแพะทั้งเพศผู้และเพศเมียต้องตรง ยาวสมส่วนกับลำตัว โดยอยู่ในตำแหน่งแนวตรงกับวิทเธอร์
►ส่วนข้อเท้าขาหน้าลงไปจนถึงกีบต้องสั้นและตรง ขาหลังต้องตรงสมส่วน เมื่อมองจากด้านหลังจะเห็นเป็นแนวตรงตั้งฉากกับพื้น เมื่อมองจากด้านข้าง ขาหลังต้องตรงตั้งฉากกับข้อเท้า ความยาวของขาช่วงข้อเท้าลงมาถึงกีบต้องไม่สั้นเกินไป
►กีบเท้าต้องชิดกัน เป็นสีเข้ม และชี้ไปด้านหน้า
ลักษณะที่จัดว่าเป็นข้อบกพร่อง
1.เข่าชนกัน
2.ข้อหัวเข่าใหญ่
3.ขามีเนื้อมากเกินไป หรือน้อยเกินไป
4.ช่วงข้อเท้าลงมาถึงกีบเอียงลาด
ลักษณะที่จัดว่าเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง
1.ปลายเท้าสองข้างแบะออกหรือเอียงเข้าหากัน
2.ขาหลังแคบชิดกันเกินไป
3.ขาหลังตรงและตึงเกินไป
4.ขาโก่ง
5.ช่วงขาหน้ายาวเกินไป
6.ช่วงขาหลังไม่ตรงตั้งฉากกับพื้น
6. ผิวหนังและขน
►ผิวหนังต้องมีความยืดหยุ่น นุ่มนวล แพะเพศผู้ต้องมีผิวหนังช่วงหน้าอกและที่คอย่นอย่างเห็นได้ชัด แตกต่างจากแพะเพศเมียที่ไม่ย่น
►ใต้หาง ขอบตาและเปลือกตา ไม่มีขนและผิวหนังบริเวณนี้ต้องมีเม็ดสีเข้มเป็นสีน้ำตาล บริเวณผิวหนังใต้หางจะต้องมีสัดส่วนของผิวสีเข้มอย่างน้อย 75% ในการคัดพ่อพันธุ์ชั้นดี ผิวบริเวณใต้หางนี้จะต้องเป็นสีเข้มทั้งหมด 100%
►ขนแพะทั้งเพศผู้และเพศเมียต้องสั้นเป็นเงามัน ไม่หยาบ ตามลำตัวมีขนสีขาว และอาจมี 20% เป็นสีแดง การมีขนสีแดงทั้งตัวจะถูกจัดอยู่ในประเภทขนสีแดงล้วนในการแข่งขัน
ลักษณะที่จัดว่าเป็นข้อบกพร่อง
1.ผิวหนังไม่ยืดหยุ่น
2.ขนหยาบ
3.ขนยาวเกินไป
4.เพศเมียมีผิวใต้หางเป็นผิวสีเข้มน้อยกว่า 50%
ลักษณะที่จัดว่าเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง
1.เพศผู้มีผิวใต้หางเป็นผิวสีเข้มน้อยกว่า 50%
2.ขอบตา และเปลือกตาเป็นสีชมพูอ่อน
3.เพศเมียมีผิวขอบตา เปลือกตา และผิวใต้หางเป็นสีชมพูอ่อนทั้งหมด
4.ตามลำตัวเป็นผิวสีชมพูอ่อนทั้งตัว
ลักษณะที่ต้องถูกคัดทิ้ง
1.แพะเพศผู้ และเพศเมียที่มีขนสีขาวทั้งตัว
2.แพะเพศผู้ที่มีผิวใต้หางเป็นสีชมพูอ่อน 100%
7. อวัยวะสืบพันธุ์
►ในแพะเพศเมียจะต้องมีเต้านมที่ได้รูปทรงที่ดีและอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เต้านมซีกซ้ายและขวาต้องมีหัวนมที่สมบรูณ์ (หมายถึงรูน้ำนมเปิดสามารถให้นมได้) ข้างละไม่เกิน 2 หัว แต่ลักษณะเต้านมที่ถูกต้องและดีที่สุดคือมีหัวนมเพียงซีกละ 1 หัวเท่านั้น.. ส่วนแพะเพศผู้ก็ต้องมีหัวนมได้รูปทรงไม่ผิดรูปร่างเต้านมซีกซ้ายและขวาจะต้องมีขนาดเท่าๆกัน มีระยะห่างของหัวนมเท่าๆกันทั้งสองข้าง และมีหัวนมได้ซีกละ 2 หัว แต่ลักษณะที่ถูกต้องและดีที่สุดคือมีหัวนมเพียงซีกละ 1 หัว
►แพะเพศผู้ต้องมีลูกอัณฑะข้างละ 1 ใบ และต้องมีขนาดเท่ากันทั้งสองข้าง ตรงกลางลูกอัณฑะมีรอยแยกได้ไม่เกิน 1 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางของลูกอัณฑะทั้งสองข้างในแพะเพศผู้อายุ 1 ปี ควรวัดได้ 10 นิ้ว และแพะอายุ 2 ปี ควรวัดได้ 12 นิ้ว
ลักษณะที่จัดว่าเป็นข้อบกพร่อง
1.ลูกอัณฑะแพะเพศผู้ห้อยย้อย ปัดไปมาเวลาเดิน
2.หัวนมแพะเพศเมียมีรูน้ำนม 2 รู ในหัวเดียว
ลักษณะที่จัดว่าเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง
1.แพะเพศเมียมีหัวนมมากกว่าซีกละ 2 หัว
2.แพะเพศผู้มีลูกอัณฑะรูปร่างผิดปกติ หรือมีขนาดเล็กเกินไป
3.รอยแยกของลูกอัณฑะมีความยาวเกิน 1 นิ้ว
4.แพะเพศผู้มีหัวนมมากกว่าข้างละ 2หัว
5.ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีหัวนมหลายหัวรวมกันเป็นกระจุก
หรือบางท่านได้เเนะนำไว้ว่า
1.พันธ์ุแท้ จะมีความสูงใต้ท้องถึงหัวไหล่ เท่ากับ ใต้ท้องถึงพื้น
2.พันธ์ุแท้ จะมีความสูงหัวเข่าถึงใต้ท้อง เท่ากับ หัวเข่าถึงพื้น
3.พันธ์ุแท้ จะมีก้นไม่แหลม และ ไม่มีขนยาวๆ
4.พันธ์ุแท้ ไม่ยืนหัวเข่าหุบเข้า ทั้งขาหน้าและขาหลัง..
จริงหรือไม่กรุณาไปฝึกดู+ วิเคราะห์กันเอง ได้ผลเป็นเช่นไร ไปโพสให้ความคิดเห็นกันได้ในเพจ เลี้ยงแพะยั่งยืน ด้วยความยินดีครับ..
สำหรับในประเทศไทยนั้น แพะพันธุ์บอร์ ( Boer)กรมปศุสัตว์ ได้นำเข้ามาจากประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อปลายปีพ.ศ. 2539 เป็นแพะเนื้อขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นคือ..
ลำตัวสีขาว หัวและคอจะมีสีแดง
ใบหูยาวปรก มีน้ำหนักแรกเกิด 4 กก.
น้ำหนักหย่านม 20 กก.
โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 90 กก. ตัวเมีย 65 กก.
ขอบคุณ https://pantip.com/topic/36909886/
เฟสบุ๊ค สมาคมแพะและแกะไทย
http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php
http://www.boergoats.co.za/
https://modernfarmer.com/2017/06..
PALPATION OF A BUCK’S TESTICLES
http://breeding.dld.go.th/th/index.php/2015-07-04-09-39-04/2015-07-04-09-45..