เลี้ยงสัตว์ » ความเป็นมาของ..เกษตรแปลงใหญ่และสินเชื่อ..งบสองหมื่นล้านบาท

ความเป็นมาของ..เกษตรแปลงใหญ่และสินเชื่อ..งบสองหมื่นล้านบาท

3 กุมภาพันธ์ 2018
3296   0

https://goo.gl/L4uzRD

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ) ได้มอบนโยบาย เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2558 เน้นให้ความสำคัญในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต โดยการรวมแปลงการผลิตของเกษตรกรเป็นแปลงใหญ่เพื่อก่อให้เกิดกิจกรรมลดต้นทุนการผลิตตามที่กำหนด และสามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม หลักการของแปลงใหญ่ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อาทิ ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ รวมทั้งผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด มีการผลิตร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการเชื่อมโยงกับตลาดเพื่อบริหารจัดการให้เกิดสมดุลระหว่างอุปสงค์ และอุปทานของสินค้าเกษตร ตลอดจนแก้ปัญหาเรื่องสินค้าล้นตลาด และราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ

วัตถุประสงค์

1) เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม และบริหารจัดการร่วมกัน เกิดการรวมกันผลิต และรวมกันจำหน่าย โดยมีตลาดรองรับที่แน่นอน

2) เพื่อให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต และมีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน ภายใต้การบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

เกษตรแปลงใหญ่ เกษตรประชารัฐ

กระทรวงเกษตร ฯ เผย “แปลงใหญ่ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่” มุ่งเน้นพัฒนาสหกรณ์การเกษตรประชารัฐ และสินค้าเกษตรสร้างรายได้เร็ว หรือ Cash Crop พร้อมเชื่อมโยงการตลาดเพื่อรับซื้อสินค้าเกษตรของสมาชิก

 


1. Q: แปลงใหญ่ คืออะไร
A: คือ การส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มการผลิตและการบริหารจัดการร่วมกัน ตลอดจนการจัดการด้านการตลาด เพื่อการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน โดยมีหน่วยงานภาครัฐและภาคีที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวก

2. Q: แปลงใหญ่ มีหลักการในการดำเนินงานอย่างไร
A: 9 หลักการของแปลงใหญ่
1) ความสมัครใจ : เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ด้วยความสมัครใจ และดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และเป้าหมายของแปลงใหญ่
2) ง่ายต่อการเข้าถึง : รวมตัวกันได้ จับเป็นกลุ่มผลผลิตเกษตรชนิดเดียวกันดำเนินการได้เลย
3) ขนาดพื้นที่เหมาะสม :
3.1) ข้าวไม่น้อยกว่า 300 ไร่ และ เกษตรกรไม่น้อยกว่า 30 ราย
3.2) สินค้าอื่นไม่น้อยกว่า 300 ไร่ หรือ เกษตรกรไม่น้อยกว่า 30 ราย
4) พัฒนาให้ถึงเป้าหมาย : ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ขยายโอกาส
5) พื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agri-Map สามารถรวมเป็นแปลงใหญ่ได้ และใช้เทคโนโลยีเข้าไปปรับพื้นที่ให้เหมาะสม
6) ยกระดับ : มาตรฐาน ประสิทธิภาพการผลิต เน้นผลผลิตของแปลงใหญ่
7) แหล่งน้ำ : พัฒนาตามความจำเป็น/เหมาะสม
8) กระบวนการกลุ่ม :
8.1) กลุ่มเดิม (สหกรณ์/วิสาหกิจชุมชน) – แบ่งเป็นกลุ่มย่อย ทำแปลงใหญ่ได้
8.2) ไม่มีกลุ่ม – พัฒนาให้เกิดกลุ่ม ต้องใช้เวลา
9) Economy of scale : ตัดสินด้วยเกณฑ์ของแหล่งทุน ขึ้นกับกิจกรรมที่กลุ่มขอรับการสนับสนุน

3. Q: เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานต้องทำอย่างไร
A: มี 12 ขั้นตอน คือ
1) ต้องมีความรู้และความเข้าใจในความหมายและหลักการของแปลงใหญ่ที่ชัดเจน
2) ต้องเข้าใจองค์ประกอบของแปลงใหญ่
3) ต้องมีการบูรณาการงานร่วมกันของหน่วยงานภาคีต่างๆ เกี่ยวข้องในแปลงใหญ่
4) Single Command (SC) ต้องเข้ามาสนับสนุนการดำเนินการแปลงใหญ่
5) ผู้จัดการแปลงต้องทำแผนการปฏิบัติงานแปลงใหญ่ที่ชัดเจน เช่น แผนปฏิบัติงานราย 3 เดือน แผนการปฏิบัติงานรายปี
6) ผู้จัดการแปลงต้องทำแผนธุรกิจแปลงใหญ่รายบุคลคล/แผนกลุ่ม ที่ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้จริง เพื่อรองรับการสนับสนุนสินเชื่อแปลงใหญ่
7) มีการพัฒนาการดำเนินงานร่วมกันทั้งระบบตลอดห่วงโซ่อุปทาน
8) พัฒนาสินค้าดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนากลุ่ม ให้เกิดความเข้มแข็งไปพร้อมๆกัน
9) มีการประเมินผลที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน(แตกต่างจากก่อนเข้าแปลงใหญ่อย่างไร) เช่น จำนวนเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP
10) สินค้าแปลงใหญ่ต้องมีคุณภาพได้มาตรฐาน
11) สมาชิกแปลงใหญ่ต้องได้รับการพัฒนาให้เป็น Smart farmer ทุกราย
12) ต้องยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อยกระดับเกษตรกรและปฏิรูปภาคการเกษตร

4. Q: แปลงใหญ่เชื่อมโยงกับนโยบายอื่นในกระดำษ A4 อย่างไร
A: ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งปี 2559 ซึ่งเน้นให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน โดยต้องทำให้สินค้ามีคุณภาพมีตลาดรองรับ (ต้นทุนลดลง 20% ผลผลิตเพิ่ม 20 %) การเชื่อมโยงนั้นเริ่มจากเกษตรกรรวมกลุ่มทำการผลิตในสินค้าชนิดเดียว มีการวางแผนร่วมกัน มีการถ่ายทอดความรู้ โดยใช้กลไก ศพก. ส่งเสริมระบบน้ำ/กระจายน้ำเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้ในการผลิตสินค้าเกษตร ส่งเสริมให้เกษตรทำการผลิตสินค้าปลอดภัย พัฒนาเป็นเกษตรอินทรีย์ รวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์เพื่อยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง ดำเนินการจัดตั้งเป็นธนาคารสินค้าเพื่อให้บริการสมาชิกของกลุ่ม รวมทั้งเสริมการเกษตรผสมผสานตามเกษตรทฤษฎีใหม่ ทำการผลิตในพื้นที่เหมาะสม (Zoning by Agri-map) อย่างไรก็ตามตัวช่วยในการพัฒนาต้องสร้างเกษตรกรให้เป็น smart farmer สร้างข้าราชการที่ดูแลให้เป็น smart officer ภาครัฐจะเป็นตัวช่วย ด้านเงินกู้ดอกเบี้ยต่ า ลานตาก ตลาดสินค้าเกษตร ฯลฯ ทั้งหมดจะนำไปสู่ปลายทางคือคุณภาพของเกษตรกรดีขึ้น มีฐานะทางสังคม(ภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกรและสังคมยอมยอมรับ) และ รายได้เพิ่มขึ้น/หนี้สินลดลง

5. Q: เงื่อนไขแปลงใหญ่เปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างไร
A:  
6. Q: การสมัครเข้าร่วมมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง 
A:  
7. Q: ทำไมต้องมีนโยบายแปลงใหญ่
A: 1) เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและบริหารจัดการร่วมกัน  เพื่อให้เกิดการรวมกันผลิตและรวมกันจำหน่าย โดยมีตลาดรองรับที่แน่นอน
2) เพื่อให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตและมีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน ภายใต้การบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
8. Q: เกษตรกรได้อะไร จากการเข้าร่วมแปลงใหญ่
A: เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันผลิต  นำไปสู่การต้นทุนการผลิต ผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น มีการบริหารจัดการ ขายผลผลิตได้ในราคายุติธรรมเพราะมีการทำข้อตกลง MOU กับเอกชน
9. Q: สินเชื่อแปลงใหญ่ ดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 มีวัตถุประสงค์อะไร
A: เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันผลิต  นำไปสู่การต้นทุนการผลิต ผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น มีการบริหารจัดการ ขายผลผลิตได้ในราคายุติธรรมเพราะมีการทำข้อตกลง MOU กับเอกชน
10. Q: หน่วยงานใดบ้างที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการแปลงใหญ่
A: ทุกหน่วยงานในกระทรวงเกษตรฯ หน่วยราชการอื่นๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชน

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี อนุมัติเพิ่มวงเงินสินเชื่อโครงการเกษตรแปลงใหญ่ 20,000 ล้านบาท ตั้งเป้า 2 พันแปลง ปรับเปลี่ยนเป็นโครงการ 5 ปี โดยเพิ่มเงินกู้ให้กลุ่มเกษตรกรแปลงละ 10 ล้านบาท จากโครงการเดิมที่ ครม.อนุมัติไว้แปลงละ 5 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงเดิมให้เกษตรกรจ่ายร้อยละ 0.01 และรัฐบาลชดเชยร้อยละ 3

“วันนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้ส่งแผนขยายสินเชื่อให้เลขาฯ ครม.แล้ว เมื่อผ่าน ครม.กลุ่มเกษตรกรจะกู้ได้ทันฤดูเพาะปลูกนี้ จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยพิจารณาจากศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรที่ยื่นแผนกู้เงิน ทั้งนี้ได้นำสองโครงการเดิมมารวมกัน เป็นการจูงใจเกษตรกรให้เกิดการรวมกลุ่มกันลดต้นทุนผลิตสินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน นำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลมาใช้พัฒนาแปลงและดูตลาด แก้ปัญหาความผันผวนด้านราคา”

นายสมชายกล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาโครงการเกษตรแปลงใหญ่มีปัญหาล่าช้าในปี 59/60 ไม่ได้ตามเป้า โดยมีกลุ่มเกษตรกรยื่นกู้เพียง 133 ล้านบาท โดยจะเป็นกลุ่มนาข้าวแปลงใหญ่ 53 แปลง จากทั้งหมดตั้งเป้าเกษตรแปลงใหญ่ทั่วประเทศ 650 แปลง แปลงละ 5 ล้านบาท วงเงินกู้ 3,250 ล้านบาท เป็นนาข้าวแปลงใหญ่ 381 แปลง และที่เหลือเป็นพืชอื่นๆ เนื่องจากในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาอยู่ระหว่างที่กลุ่มเกษตรกรกำลังทำโครงการและแผนการทำธุรกิจเสนอ ธ.ก.ส.ถึงศักยภาพการใช้คืน

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวต่อว่า เมื่อตนเข้ามารับตำแหน่งจึงมารื้อโครงการดูทั้งหมดติดขัดอะไร โดยเฉพาะการร่วมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน รวมถึงมาตรการไม่จูงใจ ระยะเวลากู้สั้นไป วงเงินกู้น้อย จึงเปลี่ยนเป็นโครงการให้กู้ยาว 5 ปี เดิมมีปัญหาโครงการนาข้าว 5 ล้านบาท บางแปลงได้ 2-3 ล้านบาท ให้กู้เพียง 1 ปี ต่อมาเริ่มขยายมาเป็นโครงการเกษตรแปลงใหญ่เพิ่มเป็น 3 ปี ในพืช 32 ชนิด

“ผมนำ 2 โครงการเดิมมารวมกันและขยายวงเงิน 10 ล้านบาทเพื่อจูงใจ เดิมเกษตรกรไม่กู้ ระยะเวลาให้กู้สั้นไปไม่สะดวกหาซื้อเครื่องจักร ใช้ลดต้นทุนการผลิตยังไม่เท่าไรก็ต้องรีบคืนเงินกู้แล้ว จึงมาปรับระยะเวลาและวงเงินเพิ่มจูงใจกลุ่มเกษตรกรมากขึ้น” นายสมชายกล่าว

นายสมชายกล่าวอีกว่า มาตรการลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังรอบ 2 ไปปลูกพืชอื่น 2.532 ล้านไร่ ซึ่งภายในสิ้นเดือน 30 พ.ย.นี้จะทราบชัดเจนว่ามีเกษตรกรสมัครใจเข้าร่วมโครงการกี่ครัวเรือน ขณะนี้กำลังทำประชาคมในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ชี้แจงให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น ข้าวโพด 2 ล้านไร่ และพืชหลังนาเพื่อลดรอบการทำนา เป็นมาตรการที่ภาครัฐเข้าไปดำเนินการสนับสนุนในพื้นที่เป้าหมายไร่ละกว่า 2 พันบาท รายละไม่เกิน 10 ไร่.

ที่มา https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%89%E0%B..
https://www.moac.go.th/a4policy-alltype-391191791793
http://www.thaipost.net/home/?q=%E0%B8%8A%E0%..