ถ้าน้ำเป็นกรด วิธีแก้ไข คือ ใส่ปูนต่างๆ ได้แก่..
ปูนโดโลไมท์ – มีความเป็นด่างต่ำ แต่จะมีแร่ธาตุเป็นอาหารของแพลงตอนพืช พวกแมกนีเซียม แคลเซียม
ปูนขาว – มีความเป็นด่างสูง แต่มีแร่ธาตุอาหารต่ำ ใช้ปรับสภาพน้ำที่เป็นกรดมาก ..แต่ใช้ต้องอย่างระมัดระวัง
ปูนมาร์ล – มีความเป็นด่างต่ำ มีแร่ธาตุพวกแคลเซียมมาก ถ้ากรณีน้ำมีอัลคาไลน์สูงมากไม่ควรใช้
ปูนเปลือกหอยเผา – มีความเป็นด่างสูง มีแร่ธาตุอาหารสูง ใช้ปรับสภาพน้ำที่เป็นกรดมาก ๆ การใช้ต้องค่อย ๆ ใช้
..ซึ่งการปรับสภาพน้ำนั้นต้องดูจากสิ่งแวดล้อมด้วยว่า ควรจะใช้ปูนชนิดไหน เพราะแต่ละอย่างมีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน และราคาแตกต่างกัน การใช้ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะถ้าใส่มากไปก็เป็นโทษเหมือนกัน
ถ้าน้ำเป็นด่าง ล่ะ … วิธีแก้ไข ให้ใส่พวกกรดต่าง ๆ ได้แก่..
น้ำส้มสายชู 5 % – มีความเป็นกรดเจือจางต้องใช้ผสมกับน้ำแล้วค่อย ๆ สาดปรับสภาพให้ได้ 7 จึงหยุด ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังใส่ไปวัดค่า pH ไปด้วย
น้ำสับปะรด – มีความเป็นกรดเจือจาง ใช้ผสมน้ำ สาดเช่นกัน
การรักษาค่าระดับ pH ของน้ำ เมื่อคงที่แล้ว ควรใส่จุลินทรีย์น้ำ เพิ่มลงไป เพื่อเพิ่มปริมาณของแพลงค์ตอน และรักษาระบบนิเวศน์ของน้ำให้คงที่อยู่เสมอ..
ขอบคุณ www.ubmthai.com