ยูทูป » วันนี้มี’ซูเปอร์บลูมูนพระจันทร์สีเลือด’ ครั้งเดียวในรอบ 152 ปี

วันนี้มี’ซูเปอร์บลูมูนพระจันทร์สีเลือด’ ครั้งเดียวในรอบ 152 ปี

31 มกราคม 2018
2830   0

สำหรับประเทศไทยจะสามารถรับชมได้ทั่วทั้งประเทศตั้งแต่ช่วงหัวค่ำทางทิศตะวันออก

….ปรากฏการณ์ดวงจันทร์ทั้งสามจะเกิดขึ้นพร้อมกันแบบนี้ และนับเป็นครั้งแรกในรอบ 152 ปี โดยครั้งล่าสุดที่เกิด จันทรุปราคา ซูเปอร์มูน และบลูมูน พร้อมกันต้องย้อนไปถึงวันที่ 31 มี.ค. 2409

จันทรุปราคานั้นเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงาของโลก โดยในครั้งนี้มันจะเกิดขึ้นในช่วง “บลูมูน” ซึ่งคือช่วงที่มีดวงจันทร์เต็มดวง 2 ครั้งในเดือนเดียวกัน นอกจากนั้นแล้ว ในครั้งนี้ดวงจันทร์จะโคจรมาอยู่ในจุดที่ใกล้โลกที่สุด นั่นทำให้มันดูใหญ่และสว่างขึ้น หรือที่เรียกกันว่า “ซูเปอร์มูน”

…องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) เรียกปรากฏการณ์ครั้งนี้ว่า “ซูเปอร์บลูมูนสีเลือด” (super blue blood moon) และอธิบายบนเว็บไซต์ว่า “ขณะที่ดวงจันทร์อยู่ภายใต้เงาของโลก มันจะมีสีออกเป็นสีแดง ที่เรียกกันว่า ‘พระจันทร์สีเลือด’ ”

 

ชมปรากฏการณ์ในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า ประชาชนจะสามารถสังเกตุปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 19:51-21:07 น. ในทุกพื้นที่ของประเทศ ทางทิศตะวันออก โดยดวงจันทร์จะเข้าสู่เงาของโลกตั้งแต่ 17:51 น.

คลิปแสดงการเกิด ซูเปอร์บลูมูนพระจันทร์สีเลือด จากNASA

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า ในปี 2561 จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในประเทศไทยถึงสองครั้งด้วยกัน ในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกของปี สำหรับปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในไทยครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 27 ก.ค.

ลำดับปรากฏการณ์ ‘ซูเปอร์บลูมูนสีเลือด’
17:51น. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก
18:48น. ดวงจันทร์เคลื่อนเข้าสู่เงามืดของโลก เกิดเป็นจันทรุปราคาบางส่วน
19:51น. เข้าสู่จันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์อยู่ในเงามืดของโลกเต็มดวงนาน 1 ชั่วโมง 16 นาที
21:07น. สิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง จะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงอิฐทั้งดวง
22:11น. ดวงจันทร์ออกจากเงามืดของโลกหมดทั้งดวง แล้วเปลี่ยนเป็นจันทรุปราคาเงามัวที่จะสังเกตเห็นได้ยาก
23:08น. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก ถือว่าสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาครั้งนี้โดยสมบูรณ์

ที่มา: สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

และสามารถมองเห็นได้จากหลายทวีปทั่วโลก ได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปออสเตรเลีย ทวีปเอเชีย บริเวณตอนเหนือและตะวันออกของทวีปยุโรป ตอนเหนือและตะวันออกของทวีปแอฟริกา ตอนเหนือและตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้

แต่ในพื้นที่ส่วนมากของยุโรป อเมริกาใต้ และแอฟริกา จะไม่สามารถชมปรากฏการณ์นี้ได้ เพราะดวงจันทร์จะลับขอบฟ้าไปแล้วในขณะที่มันเดินทางผ่านเงาของโลก