ภาพแสดงอาการ แพะเป็นโรคตาฟาง(พิงค์อาย-pink eye)
แพะตาเจ็บ ตาแดง มักเป็นโรคตาอักเสบติดต่อ (pink eye, infectious keratoconjunctivitis) มีสาเหตุจากเชื้อ Mycoplasma, Chlamydia โรคนี้ทำให้หนังตาบวมแดง น้ำตาไหลและอาจกลายเป็นขี้ตาเขียวข้น ตาเป็นฝ้าขาว มีแผลหลุมที่ผิวกระจกตา ทำให้แพะเจ็บปวด มองไม่เห็น บางครั้งจะไม่กินอาหาร
ภาพแสดง ส่วนประกอบนัยน์ตาของแพะ
รอยโรค เริ่มจากการมีแผลหลุมที่กระจกตา โดยกระจกตาโดยรอบยังใสอยู่ หลังจากนั้นไม่กี่ ชม. จะพบฝ้าจาง ๆ ปรากฏขึ้น และกลายเป็นสีขาวขุ่น หรืออาจลดลงหายไป หรืออาจเป็นเพิ่มมากขึ้นก็ได้
จากนั้นภายใน 48–72 ชม. รายที่เป็นรุนแรงกระจกตาจะขาวขุ่นทั้งหมด ทำให้ตาข้างนั้นบอดไปชั่วคราว หลังจากนั้นเส้นเลือดจะเริ่มแพร่เข้าบนกระจกตาเข้าหาแผลหลุม ประมาณวันละ 1 มม. การที่กระจกตาขุ่นขาวเป็นผลจากอาการบวมของกระจกตาซึ่งเป็นกระบวนการอักเสบ หรือการมีเม็ดเลือดขาวแพร่เข้ามามองเป็นสีขาวนมหรือสีเหลือง ซึ่งเป็นอาการที่จัดว่าเป็นรุนแรง โดยมากแล้วอาการจะไม่หนักไปกว่านี้ คือมีอาการกระจกตาขุ่นขาว มีแผลหลุมและเปลือกตาอักเสบ การฟื้นสภาพเกิดขึ้นได้เองทุกระยะ
โดยสรุป จะเห็นได้ว่าโรคนี้เป็นโรคระดับฝูง การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการหยุดโรคได้เด็ดขาด
คำแนะนำในการป้องกันรักษา
- โรคติดต่อแพร่กระจายรวดเร็ว จึงต้องแยกสัตว์ป่วยออกจากฝูงเป็นการชั่วคราว กักสัตว์ป่วยไว้ในคอก งดการนำสัตว์ใหม่เข้าฝูง การรักษาทีละตัวในฝูงไม่สามารถทำให้โรคหยุดการแพร่ระบาดได้
- โรคนี้พบได้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแพะมีความเครียดที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้าย การรวมฝูงใหม่ ดังนั้นควรทำให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ จึงจะส่งเสริมระดับภูมิคุ้มกันโรค โดยการจัดการเรื่องโภชนาการที่เพียงพอ จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมอยู่สบาย
- oxytetracycline เป็นยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม เนื่องจากยาจะไปสะสมที่เนื้อเยื่อกระจกตาได้ดี แต่ควรให้ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
- การใช้ยาปฏิชีวนะ oxytetracycline ชนิดฉีดออกฤทธิ์นานหยอดตา เป็นการใช้ยานอกเหนือจากที่ฉลากกำหนด มีความไม่เหมาะสม เนื่องจากยาจะมีการระคายเคืองต่อดวงตา..สัตว์ป่วยจะมีน้ำตาไหลมาก ตัวยาจะไหลออกหมด จึงควรใช้ขี้ผึ้งป้ายตาซึ่งจะทำให้ตัวยายึดเกาะกับผิวกระจกตาได้ดี และถ้าสัตว์ป่วยที่แยกออกมีจำนวนน้อย สามารถป้ายตาวันละ 3-4 ครั้งได้ก็เป็นการดี ก่อนป้ายตาควรใช้สำลีชุบน้ำเช็ดขี้ตาออกให้หมดจดด้วย
- หากใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตาไม่ได้ ให้ใช้ยาปฏิชีวนะ oxytetracycline ชนิดฉีดออกฤทธิ์นาน (LA 200 มก/มล) ประมาณขนาด 1 ซีซี/นน.ตัว 10 กก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อร่วมด้วย ..โดยให้ฉีดสองครั้งห่างกัน 72 ชม.
สรุปวิธีรักษา
ใช้อ๊อกซี่ฉีด ..ตัวที่มีอาการทุกตัว1ซีซี/น้ำหนักแพะ10ก.ก.
ตัวที่มีอาการมากฉีดติดต่อกันสามวัน วันละครั้ง
ฉีดสักครั้งก่อน แล้วหยอดตาด้วย จะหายเร็ว
อ๊อกซี่1-2ซีซี.ผสมน้ำต้มสุก98ซีซี.ใช้หยอดตาได้
พร้อมกันนี้ได้รวบรวมจาก คำแนะนำจากเพื่อนๆสมาชิกในเฟซบุ๊ค “เลี้ยงแพะยั่งยืน“มาเป็นข้อมูลประกอบการรักษาโรคนี้ด้วย(..ต้องทดลองเอง ไม่รับรองผล) …
พิศมัย มะหะหมัด : สารส้มบดละเอียดพ่นเข้าตาเลย..
Nong Nok : น้ำผึ้งรวง หยอดตาครั้งละ2-3หยด
บุญมี ฟาร์มแพะ : ใช้อ๊อกซี่อาทียูหยอดพร้อมฉีด
พี่ปื๋อ ยู๊วฮู : พี่ลองไช้น้ำไบตำลึง เก็บไบตำลึงมาสัก5_6ไบ พี่คั้นเอาแต่น้ำมันบีบเข้าไปที่ตาของแพะเลย สัก2_3วัน
Abonn Se ผมหยอดยาหยอดตาคน ครับ. ไม่กี่วันก็หายครับ
และขอขอบพระคุณ ข้อมูลดีๆจาก คุณพี่สุบรรณ บุญประสิทธิ์ สัตวแพทย์ชำนาญงาน อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
ขอบคุณ www.108kaset.com/goat/index.php/topic,164.0.html
http://pvlo-pni.dld.go.th/index.php/infectious-keratoconjunctivitis
http://www.infovets.com/books/smrm/F/…
w ww.infovets.com/books/smrm/F/F220.htm
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Gade_corneyo-djontivite_clamidia3