เงินๆงานๆ-อาชีพ » วิธีการปลูกกาแฟในไทย

วิธีการปลูกกาแฟในไทย

16 มกราคม 2018
1869   0

วิธีการปลูกกาแฟในไทย
กาแฟ (Coffee) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Coffee Sp.
เป็นพืชที่ มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศพืชหนึ่ง ผลผลิตส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๙๕ เป็นกาแฟโรบัสต้า ซึ่งปลูกมากใน ๖ จังหวัดภาคใต้ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ระนอง และพังงา

และอีกประมาณร้อยละ ๕ เป็นกาแฟอะราบิก้า ซึ่งปลูกบนที่สูงทางภาคเหนือของประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน

..ในปี๒๕๓๘ / ๓๙ พบว่า ประเทศไทยผลิตเมล็ดกาแฟได้จำนวน ๗๕,๘๕๖ ตัน โดยใช้วัตถุดิบโรงงานกาแฟผงสำเร็จรูปและกาแฟคั่วภายในประเทศประมาณ ๒๒,๐๐๐ ตันหรือคิดเป็นร้อยละ ๓๐ ของผลผลิตทั้งหมด และผลผลิตอีกจำนวน ๕๐,๘๒๓ ตัน หรือร้อยละ ๗๐ นั้นส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศคิดเป็นมูลค่า ๒,๒๓๒ ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นพืชที่ทำรายได้เข้าสู่ประเทศที่สำคัญพืชหนึ่ง

 

พันธุ์กาแฟที่นิยมปลูกในประเทศไทยมี ๒ พันธุ์ คือ

๑. พันธุ์อะราบิก้า (Arabica) มีลักษณะทรงต้นเล็ก พุ่มน้อยสูงประมาณ ๖ – ๑๖ ฟุต ใบมีขนาดเล็กสีเขียวเป็นมัน เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศค่อนข้างเย็น นิยมปลูกบนพื้นที่สูง มีความต้านทานโรคต่ำไม่ทนทานต่อความผันแปรของอากาศ ระยะเวลาออกดอกถึงเก็บเกี่ยวประมาณ ๖ – ๙ เดือน

๒. พันธุ์โรบัสต้า (Robusta) มีลักษณะทรงต้นใหญ่กว่าพันธุ์อะราบิก้า ต้นสูงประมาณ ๗ – ๑๖ ข้อปล้องยาว ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวเข้มแต่ไม่เป็นมัน ชอบอากาศร้อนชื้นฝนตกชุกสม่ำเสมอ มีความต้านทนต่อโรคและความผันแปรของอากาศได้ดี ระยะเวลาออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ ๑๐ – ๑๑ เดือน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกาแฟ

-ลำต้น กาแฟเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นตั้งตรง กิ่งแขนงจะแตกเป็นคู่ตรงข้ามกัน และขนานไปกับระดับพื้นดินหรือห้อยต่ำลงดินตาข้างของลำตัวมักมีการแตกหน่อเป็นจำนวนมาก ควรมีการปลิดทิ้งหรือตัดแต่งกิ่งออกบ้าง เพื่อไม่ให้ทรงพุ่มแน่นทึบจนเป็นที่สะสมของโรคและแมลง

-ราก กาแฟมีรากดูดอาหารอยู่ตื้น ๆ แผ่กระจายในระดับความลึกประมาณ ๒๐ เซนติเมตรจากผิวดิน และจะแผ่กระจายในรัศมี ๑๒๐ เซนติเมตร รอบ ๆ ต้นกาแฟ

-ใบ กาแฟจะผลิใบออกเป็นคู่ ๆในตำแหน่งตรงข้ามกัน ปลายใบแหลม ใบย่น และขอบใบมีลักษณะหยักเป็นคลื่น

-ดอก ดอกกาแฟมีสีขาว กลิ่นหอมมาก.. ดอกเป็นช่อแน่นมีก้านสั้นเป็นดอก สมบูรณ์เพศ ดอกจะเกิดบริเวณข้อของกิ่ง ปกติกาแฟจะออกดอกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน แต่ถ้าอากาศชุ่มชื้นจะสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี

-ผล มีลักษณะคล้ายลูกหว้า ในแต่ละผลจะมี ๑ – ๓ เมล็ด เมล็ดรูปร่างกลมรีหรือรูปไข่ ผลสุกมีสีแดงปนน้ำตาล

ภูมิภาคและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

๑.ดิน ควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ หน้าดินลึก ระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขัง ดินมีความเป็นกรด- ด่าง อยู่ระหว่าง ๕.๕ – ๖.๕

๒.อุณหภูมิ กาแฟแต่ละพันธุ์จะมีความต้องการอากาศร้อนหนาวที่แตกต่างกัน กาแฟพันธุ์อะราบิก้าสามารถเจริญเติบโตได้ดีระหว่างอุณหภูมิ ๑๗ – ๒๒ องศาเซลเซียส ส่วนพันธุ์โรบัสต้าจะเจริญเติบโตได้ดีระหว่างอุณหภูมิ ๒๐ – ๒๕ องศาเซลเซียส

๓.ความชื้น กาแฟต้องการความชื้นจากอากาศสูงตลอดปี..ยกเว้นในช่วงผลิดดอกออกผล กาแฟจะต้องการความชื้นลดน้อยลงเพื่อกระตุ้นการออกดอกและการสุกของผล

๔.ปริมาณน้ำฝน พื้นที่ปลูกกาแฟจะต้องมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ ๑,๕๐๐ – ๒,๓๐๐ มิลลิเมตร / ปี และมีช่วงฝนตกติดต่อกันประมาณ ๘ – ๙ เดือน

การคัดเลือกและการเตรียมเมล็ดพันธุ์

การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ เมล็ดกาแฟที่จะใช้ทำพันธุ์ควรเลือกจากต้นที่ให้ผลผลิตสูงติดต่อกันสม่ำเสมอ เป็นต้นที่มีการเจริญเติบโตแข็งแรงดี มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมและโรคแมลงได้ดี และเป็นเมล็ดที่เก็บจากผลที่แก่เต็มที่ มีสีแดงเข้ม

การเตรียมเมล็ดพันธุ์ เมื่อคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ได้แล้วให้ใช้มือนวดเอาเปลือกและเนื้ออก นำเมล็ดที่ได้ไปแช่น้ำไว้ ๑ คืน หลังจากนั้นให้คัดเมล็ดที่ลอยน้ำทิ้ง เหลือไว้แต่เมล็ดที่จมน้ำ แล้วใช้มือขยี้เมือกออกให้หมด โดยอาจใช้ทรายหยาบหรือขี้เถ้าแกลบปนในน้ำ เพื่อช่วยในการขยี้เมือกให้หมดได้ง่ายขึ้น เสร็จแล้วนำไปล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง ซึ่งถ้าหากนำไปเพาะทันทีเลยก็จะทำให้มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง หรือจะนำไปผึ่งลมในที่ร่มให้แห้งสนิทเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพาะในภายหลังก็ได้ โดยไม่ควรเก็บไว้นานเกินกว่า ๒ เดือน เพราะจะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกลดน้อยลง

การเพาะเมล็ดกาแฟ

ควรนำเมล็ดกาแฟที่เตรียมไว้แล้วไปแช่น้ำก่อนเพาะ ๑ คืน แปลงเพาะหรือกระบะควรอยู่ในที่ร่มรำไร วัสดุที่ใช้เพาะควรเป็น ทรายหยาบที่สะอาดผสมกับขี้เถาแกลบอย่างละเท่า ๆ กัน สำหรับแปลงเพาะนั้นต้องยกแปลงขึ้นแล้วย่อยดินให้ละเอียด เกลี่ยหน้าดินให้เรียบ ให้น้ำสามารถระบายได้สะดวก หยอดเมล็ดให้ห่างกันประมาณ ๑x๑ นิ้ว แล้วกลบเมล็ดด้วยวัสดุที่เตรียมไว้สูง ๑ นิ้ว และใช้ฟางคลุมทับพอเมล็ดเริ่มงอกแล้วให้เอาฟางที่คลุมออกให้หมด เพื่อช่วยให้ต้นกล้างอกดีดตัวออกมาได้ รดน้ำให้ชุ่มทุกวันประมาณ ๑ – ๓ เดือน

เมื่อต้นกล้าเจริญเติบโตมีใบจริง ๓ – ๕ คู่ให้ย้ายชำลงถุงเพาะชำขนาด ๖x๙ นิ้ว เจาะรูโดยรอบ ใช้ดินที่ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วใส่ลงในถุงแล้วนำต้นกล้ามาชำลงในถุง ตั้งในที่ร่มรำไร รดน้ำทุกวัน เมื่อต้นกล้าสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร หรืออายุประมาณ ๘ เดือน จึงย้ายไปปลูกในไร่ต่อไป

 

การปลูกกาแฟมีข้อควรพิจารณาดังนี้

-การเตรียมพื้นที่สำหรับการปลุกกาแฟ ถ้าเป็นพื้นที่ลาดเทมากควรเตรียมพื้นที่แบบขั้นบันได เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน โดยให้ความกว้างแต่ละขั้นประมาณ ๑ เมตรขึ้นไป สำหรับพื้นที่ราบก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการทำสวนผลไม้ทั่วไป

-ระยะปลูกกาแฟที่แนะนำ คือ ๒.๕ x ๓ หรือ ๓x๓ เมตร สำหรับพันธุ์อะราบิก้า ถ้าเป็นพันธุ์โรบัสต้าให้ใช้ระยะ ๓x๓ เมตร หรือ ๔x๔ เมตร

-การเตรียมหลุมปลูก ควรขุดหลุมให้มีขนาด กว้าง x ยาว x ลึกประมาณ ๒x๒.๕x๒.๕ ฟุต และขุดหลุมทิ้งไว้ก่อนปลูกกาแฟประมาณ ๒ เดือน ควรแยกดินชั้นบนกับดินชั้นล่างไว้ด้านข้างปากหลุม ก่อนปลูกใช้ปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้วประมาณ ๑ ปี๊บ และปุ๋ยร๊อคฟอสเฟต ๒๐๐ กรัมคลุกเคล้าให้เข้ากันกับดินบนใส่รองก้นหลุม นำต้นกล้าที่ชำไว้ย้ายมาปลูกตั้งต้นให้ตรงไว้กลางหลุม แล้วกลบด้วยดินชั้นล่างให้เต็มหลุม กดดินให้แน่น ปักไม้ผูกยึดลำต้นกล้ากาแฟไว้เพื่อป้องกันลมพัดโยกล้ม

-ฤดูปลูกที่เหมาะสม คือต้นฤดูฝน เพราะน้ำฝนจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดิน ทำให้ต้นกาแฟเจริญเติบโตได้ดี ถ้าหลังจากปลูกแล้วฝนไม่ตกจะต้องรดน้ำให้ต้นกาแฟประมาณ ๑๐ วัน ควรมีวัสดุบังร่มให้ต้นกาแฟที่ปลูกใหม่ด้วย ใช้หญ้าแห้งหรือฟางคลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นในดิน และถ้าต้นกาแฟตายควรจะปลูกซ่อมทันที

การดูแลรักษา

การตัดแต่งกิ่ง ตามธรรมชาติของกาแฟจะออกดอกตามข้อของกิ่งข้ดใดที่ออกดอกให้ ผลในปีที่แล้วต่อไปจะไม่ออกดอกให้ผลอีกการตัดแต่งกิ่งจะบังคับให้ต้นกาแฟสร้างลำต้นรุ่นใหม่ นอกจากนี้ยังช่วยลดจำนวนกิ่งให้น้อยลง ทรงพุ่มโปร่ง สะดวกในการดูแลรักษาและทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของโรคแมลง การตัดกิ่งควรทำครั้งแรกเมื่อกาแฟมีอายุประมาณ ๗ปี ส่วนครั้งต่อไปจะต้องทำทุก๕ ปี เพื่อให้ผลผลิตสูงอย่างสม่ำเสมอ ระยะที่เหมาะสมที่สุดคือ ช่วงต้นฤดูแล้งหลังเก็บผลแล้วซึ่งเป็นช่วงที่กาแฟพักตัว ทำให้ต้นกาแฟมีโอกาสสร้างลำต้นรุ่นใหม่ได้นานกว่า ถ้าปีใดต้นกาแฟให้ผลผลิตมากต้นจะโทรม ควรรอให้ต้นกาแฟตั้งตัวได้เสียก่อนจึงเริ่มทำการตัดแต่งกิ่งแบบไว้กิ่งพี่เลี้ยง ซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้..

๑.ให้เลือกต้นกาแฟที่เอนออกจากกอเดิมมากที่สุด โดยเลือกต้นที่คาดว่าจะให้ผลผลิตสูงไว้เป็นต้นพี่เลี้ยงเพียง ๑ ต้น ส่วนต้นที่เหลือนั้นตัดออกให้หมด

๒.การตัดให้ใช้เลื่อยตัดเป็นปากฉลามที่ความสูง ๒๐ – ๓๐ เซนติเมตรจากพื้นดิน ไม่ควรตัดต่ำกว่า ๒๐ เซนติเมตร เพราะต้นตอ กาแฟบางตออาจไม่สร้างต้นรุ่นใหม่ออกมาตามที่ต้องการ และไม่ควรตัดต้นกาแฟสูงเกินกว่า ๓๐ เซนติเมตร เพราะจะทำให้หน่อหรือแขนงรุ่นใหม่สูงจากพื้นดินมากเกินไป ทำให้เก็บเกี่ยวได้ลำบาก หลังจากตัดต้นตอแล้วควรใช้ปูนขาวหรือน้ำมัน เครื่องที่ใช้แล้วหรือสีน้ำมันอย่างใดอย่างหนึ่งทารอยแผลที่ตัด เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าทำลาย

๓.ใช้กรรไกรตัดกิ่งของต้นพี่เลี้ยงออกจนถึงระยะ ๑.๕๐ เมตร สูงจากพื้นดิน เพื่อให้แขนงรุ่นใหม่ได้รับแสงอย่างเต็มที่

๔.หลังจากตัดต้นกาแฟแล้วประมาณ ๗ – ๑๕ วัน ตอกาแฟจะสร้างแขนงขึ้นใหม่ เมื่อมีความสูงได้ประมาณ ๒๐ – ๓๐ เซนติเมตร ให้เลือกแขนงที่สมบูรณ์แข็งแรงและอยู่ชิดผิวดินเอาไว้ ๗ – ๘ แขนง โดยให้กระจายอยู่รอบ ๆ ตอกาแฟเดิม การเลือกแขนงครั้งแรกนี้มีความสำคัญต่อความแข็งแรงของลำต้นรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก เพราะถ้าปล่อยให้แขนงเหล่านี้สูงเกินกว่า ๓๐ เซนติเมตร จะทำให้ต้นกาแฟใหม่สูงชะลอและอ่อนแอได้

๕.เมื่อแขนงทั้ง ๗ – ๘ แขนงที่เลือกไว้เจริญเติบโตมีความสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ให้เลือกแขนงที่สมบูรณ์แข็งแรงไว้เพียง ๔ – ๕ แขนงเท่านั้นสำหรับแขนงที่เหลือให้ปลิดออกให้หมด ใน ๔ -๕ แขนงที่ปล่อย ไว้นี้จะเจริญเติบโตเป็นต้นกาแฟรุ่นใหม่ต่อไป และถ้ายอดของแขนงเหล่านี้อยู่ชิดกันเกินไป ให้ใช้มือถ่างยอดเหล่านี้ออกจากกันเล็กน้อย ควรถ่างยอดทุก ๓ เดือน ต่อครั้ง เพื่อให้กาแฟได้รับแสงอย่างทั่วถึง สำหรับแขนงที่เกิดขึ้นมาภายหลังไม่ว่าจะเป็นตอกาแฟหรือบนต้นพี่เลี้ยงก็ตาม จะต้องปลิดออกอย่างสม่ำเสมอ

๖.ในปีถัดไปเมื่อเก็บผลกาแฟบนต้นพี่เลี้ยงแล้ว ให้ตัดต้นพี่เลี้ยงทิ้ง เพื่อจะได้เลี้ยงต้นกาแฟรุ่นใหม่ต่อไป และต้นกาแฟรุ่นใหม่นี้จะออกดอกภายใน ๑๐ – ๑๒ เดือนนับจากวันที่ตัดต้นครั้งแรก

๗.การตัดแต่งครั้งต่อไปให้ทำเมื่อต้นกาแฟรุ่นใหม่มีอายุครบ ๕ ปี ในกรณีที่กาแฟเจริญเติบโตต้นเดี่ยว ๆ ให้ริดพุ่มออกครึ่งหนึ่งแล้วบากลำต้นที่ระยะ ๒๐ – ๓๐ เซนติเมตร โดยทำการบาก ๑ รอย เพียงด้านเดียว ให้รอยบากลึกพอสมควรและเฉียงขึ้น จากนั้นโน้มต้นกาแฟให้เอนออกในด้านตรงข้ามกับรอยบาก หรือหักให้ราบกับพื้นดินโดยไม่ให้ขาดจากตอเดิม เพื่อให้เกิดแขนงขึ้นมาใหม่แล้วจึงค่อยตัดต้นเดิมทิ้งไป

การปลิดแขนง ต้นกาแฟที่มีกิ่งแขนงมาก ๆ มักจะได้ผลผลิตน้อย เพราะน้ำและอาหารที่รากดูดขึ้นมาจะถูกกิ่งแขนงนั้นแย่งไปเพราะฉะนั้น จะต้องคอยปลิดกิ่งแขนงออกให้หมด วิธีที่ดีควรใช้มือปลิดออกขณะที่กิ่งแขนงยังอ่อนอยู่ เพราะการใช้มือจะช่วยกำจัดตาที่อยู่บริเวณโคนกิ่งแขนงออกไป ทำให้แขนงน้อยลง

การกำจัดวัชพืช ควรเลือกใช้หลาย ๆ วิธีผสมผสานกัน เช่น ใช้มีดหรือจอกบถาง ใช้สารเคมีฉีดพ่น รวมทั้งการทำความสะอาดบริเวณโคนต้นกาแฟ เก็บผลกาแฟที่ร่วงหล่นไปทิ้ง ซึ่งเป็นการทำลายโรคและแมลงศัตรูกาแฟควบคู่กันไป สำหรับสารเคมีกำจัดวัชพืชที่แนะนำ คือ ไกลโพเสท เช่น ราวด์อัพ คาวบอย ใช้ฉีดพ่นวัชพืช ในไร่ในกาแฟที่ยังเล็กอยู่ ควรใช้ถุงพลาสติกคลุมต้นกาแฟก่อนฉีดพ่น เพื่อมิให้ได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดวัชพืช ส่วนไร่กาแฟที่มีอายุมากให้ใช้ดาลาพอน เช่น คาลาล่า ซิคาพอน ดาแลป ดาลาพอน โดยใช้ตามคำแนะนำในฉลาก และควรฉีดพ่นให้ห่างจากต้นกาแฟประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ฉีดพ่นประมาณ ๓ ครั้งต่อปี

การคลุมโคน เป็นวิธีการที่ช่วยรักษาความชื้นควบคุมอุณหภูมิของดิน ป้องกันการชะล้างปุ๋ยและธาตุอาหารจากดิน โดยเฉพาะสวนกาแฟที่อาศัยน้ำฝน วัสดุคลุมโคนมีหลายชนิด ได้แก่ ฟางข้าว เศษหญ้า เป็นต้น

 

การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยต้นกาแฟมีข้อควรพิจารณาปฏิบัติได้ดังนี้

-การใส่ปุ๋ยในถุงชำ / แปลงชำ สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ ๑๐ – ๑๐ – ๑๐ หรือ ๑๒ – ๑๒ – ๑๒ หรือ ๑๕ – ๑๕ – ๑๕ ผสมน้ำในอัตรา ๑๐๐ – ๑๕๐ กรัมต่อน้ำ ๑ ปิ๊บ (๒๐ ลิตร) รดทุก ๑๕ วัน ไม่ควรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป เพราะจะทำให้ลำต้นอ่อนแอ

-การใส่ปุ๋ยระหว่างปีที่ ๑– ๓ ใช้ปุ๋ยสูตร ๑๐ – ๑๐ – ๑๐ หรือ ๑๒ – ๑๒ – ๑๒ หรือ ๑๕ – ๑๕ – ๑๕ โดยใส่ในอัตราดังนี้

ปีที่ ๑ ใส่ต้นละ ๑๐๐ – ๑๕๐ กรัม ต่อครั้ง ปีละ ๓ ครั้ง

ปีที่ ๒ ใส่ต้นละ ๒๐๐ – ๒๕๐ กรัม ต่อครั้ง ปีละ ๓ ครั้ง

ปีที่ ๓ ใส่ต้นละ ๓๐๐ – ๓๕๐ กรัม ต่อครั้ง ปีละ ๓ ครั้ง

การใส่ปุ๋ยกาแฟปีที่ ๑ นั้น ให้ใส่หลังจากปลูกแล้ว ๑ เดือน และใส่ครั้งที่ ๒ หลังจากนั้นห่างกันครั้งละ ๔ เดือน ส่วนในปีที่ ๒ – ๓ นั้น ควรใส่ปุ๋ยช่วงเริ่มต้นฤดูฝน ใส่ครั้งที่ ๒ หลังจากใส่ครั้งแรก ๒ เดือน ครั้งที่ ๓ ใส่เมื่อปลายฤดูฝน

ปีที่ ๔ ขึ้นไป ให้ใช้ปุ๋ยสูตร ๑๐ – ๕ – ๒๐ หรือ ๑๓ – ๑๓ – ๒๑ เพราะช่วงนี้กาแฟมีความต้องการโปตัสเซียมสูง โดยใส่ในอัตรา ๒๕๐ – ๓๕๐ กรัม ต่อตันต่อครั้ง ปีละ ๓ ครั้ง

นอกจากนี้ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้แก่กาแฟในอัตราต้นละ ๑ ปิ๊บต่อปี เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น

ไม่ควรขุดดินรอยโคนต้นเพื่อจะช่วยให้ต้นกาแฟเพราะจะทำลายรากกาแฟ ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ควรใช้วิธีโรยปุ๋ยมาก ๆ บนผิวดินเป็นวงกลม ในรัศมีรอบทรงพุ่ม แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางแห้ง เป็นการป้องกันการชะล้าง ไม่ให้ปุ๋ยสูญหายไปโดยเปล่าประโยชน์ ในกรณีที่ไร่กาแฟมีพื้นที่ปลุกลาดชันมาก ๆ ให้ใส่ปุ๋ยโดยวิธีหยอดเป็นหลุมไม่ลึกมากนักกระจายบริเวณรัศมีทรงพุ่ม แล้วกลบหลุมปุ๋ยเพื่อป้องกันการชะล้าง

การปลูกพืชแซมในสวนกาแฟ กาแฟจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ร่มรำไร ดังนั้นจึงควรปลูกไม้บังร่มเพื่อ ช่วยลดความเข้มของแสงและช่วยเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยไม้บังร่มจะต้องเป็นต้นไม้ที่แผ่กิ่งก้านให้ร่มรำไร ต้นไม้ใหญ่หรือเล็กเกินไป และไม่ผลัดใยในฤดูแล้งได้แก่ สะตอ แค ขี้เหล็ก กระถินยักษ์ โดยทำการปลูกก่อนการปลูกกาแฟประมาณ ๑ ปี

โรคกาแฟ

๑.โรคผลเน่า เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง ถ้าเป็นกับผลอ่อนจะทำให้เกิดจุดดำเล็ก ๆ หลายจุดใกล้ขั้วผล ต่อมาขยายไปทั่วผล ทำให้ผลดำ เปลือกเหี่ยวย่น เมล็ดลีบ และแห้งคาต้น ถ้าเป็นกับผลแก่จะเกิดจุดดำเล็ก ๆต่อมาขยายใหญ่ขึ้นคลุมทั้งผล ทำให้ผลกาแฟไม่สมบูรณ์น้ำหนักน้อย

การป้องกันกำจัด

๑.รักษาแปลงให้สะอาด กำจัดวัชพืชที่ขึ้นรถในแปลงและตัดกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง ทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดความชื้นในไร่กาแฟ ทำให้เกิดการระบาดโรคลดน้อยลง

๒.เมื่อเก็บเกี่ยวผลกาแฟแล้ว ให้ตัดส่วนที่เป็นโรคเผาไฟทิ้ง เพื่อป้องกันการระบาดขอ

โรคในฤดูต่อไป

๓.ใช้สารเคมีฉีดป้องกัน ได้แก่ สารเคมีจำพวกแคปตาโฟล เช่น ไดโฟลาแทน ๔ เอฟ ไฟราเทน แซนตาเอส.เอ็ม. หรือจำพวกคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ เช่น คูปราวิท คูปรอท ๘๗ คูโปรซาน คอปเปอร์ไซด์ ๘๕ ใช้ในอัตราที่สลากแนะนำฉีดพ่นทุก ๗ – ๑๐ วันต่อครั้งจนกว่าโรคจะหายไป

๒.โรคราสนิม เกิดจากเชื้อราหนึ่งมีการระบาดมากในช่วงฤดูฝนขณะที่กาแฟกำลัง ผลิใบอ่อนโดยเฉพาะในพื้นที่ปลูกกาแฟที่เป็นที่ต่ำและไม่มีร่มเงา โรคนี้ทำความเสียหายให้กับใบโดยการสร้างเส้นใยราขึ้นปกคลุม ผิวใบด้านล่างมองเห็นเป็นผงสีส้มออกเหลือง แพร่กระจายโดยลมและฝน

การป้องกันกำจัด

๑.ดูแลรักษาแปลงให้สะอาด และบำรุงต้นกาแฟให้แข็งแรงพอที่จะต้านทานโรคได้

๒.ปลูกกาแฟโดยมีไม้บังร่มเงา

๓.ใช้สารเคมีฉีดป้องกัน ได้แก่ สารเคมีจำพวกคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ เช่น คูปราวิท คูปรอท ๘๗ คูโปรซาน คอปเปอร์ไซด์ ๘๕ ฉีดพ่นตามอัตราที่แนะนำในสลาก โดยฉีดป้องกในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน

๓.โรคกิ่งแห้ง เกิดจากเชื้อราเข้าทำลายกิ่งของกาแฟ โดยเฉพาะบริเวณยอดเขาของต้น โดยเริ่มที่ข้อกิ่งจะเป็นสีดำ หูใบและส่วนฐานของใบมีสีดำด้วย แล้วลามไปทั่วบริเวณเหนือของกิ่ง จนในที่สุดต้นกาแฟจะมีลักษณะคล้ายถูกไฟไหม้เกรียม

การป้องกันกำจัด

๑.ดูแลแปลงให้สะอาด ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคทิ้งแล้วเอาไปเผาทำลาย

๒.ปลูกกาแฟโดยมีไม้บังร่มเงา

๓.ใช้สารเคมีจำพวกคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ เช่น คูปราวิท หรือ บีโนมิล เช่น เบนเลท ฉีดพ่นเมื่อเกิดการระบาดของโรค

๔.โรคเปลือกของกาแฟ เป็นโรคที่ทำลายเปลือกต้นกาแฟที่ ร้ายแรงโรคหนึ่ง เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมีอาการของโรคแตกต่างกันไป เช่น อาการที่ปรากฏบนหน่อ จะเกิดเป็นจุดที่โคนของหน่อ บางทีเกิดเป็นวงรอบแล้วทำให้ลำต้นตีบหรือคอดไป ไปเหี่ยวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอาการที่ปรากฏบริเวณโคนต้น หรืออาจเรียกว่าโรคเน่าคอดิน คือ ลำต้น ระดับติดผิวจะเป็นจุดแห้งมีสะเก็ดสีเหลือง ลำต้นผอมคอด ใบเหลืองเหี่ยว ทำให้ต้นกาแฟตายในที่สุด อาการที่ปรากฏบนลำต้น จะเห็นจุดสีเหลืองลึกบนลำต้นและแผ่กระจายไปยังกิ่งก้าน โดยอาการนี้จะควบคู่ไปกับการที่เปลือกไม้จะหนามากขึ้น

การป้องกันกำจัด

๑.กำจัดต้นกาแฟที่เป็นโรคนี้ โดยการขุดรากถอนโคนทิ้งให้หมด

๒.ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคทิ้ง และทายาป้องกันเชื้อราบริเวณรอยตัด

๓.ใช้สารเคมีจำพวกแคปเทน เช่น ออร์ไธโซด์ ฉีดพ่นตามอัตราที่แนะนำในสลาก

๕.โรคใบจุด ใบจะเป็นจุดกลม สีน้ำตาล ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือขาวซีด ขอบแผลมีสีน้ำตาลแดงและมีวงสีเหลืองอยู่รอบนอกตรงกลางแผนสีจุดสีดำเล็ก ๆ ถ้าเป็นมาก ๆ จะทำให้ใบร่วงและกิ่งแห้งตาย ถ้าเกิดกับผลจะทำให้ผลกาแฟเน่าเป็นสีดำ เปลือกเหี่ยวย่นและผลร่วงก่อนสุกแก่ พบมีการระบาดได้ทุกฤดูแต่จะเป็นมากในช่วงฤดูแล้ง

การป้องกันกำจัด

๑.รักษาแปลงให้สะอาด กำจัดวัชพืชที่ขึ้นรกในแปลง และตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง ทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดความชื้นในไร่กาแฟทำให้ระบาดของโรคลดน้อยลง

๒.เมื่อเก็บเกี่ยวผลกาแฟแล้วให้ตัดส่วนเป็นโรคไปเผาไฟเพื่อป้องกันโรคระบาดในฤดูต่อไป

๓.ใช้สารเคมีฉีดป้องกัน ได้แก่ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ เช่น คูปราวิท คูปรอท ๘๗ คูโปรซาน คอปเปอร์ไซด์ ๘๕ ใช้ตามคำแนะนำในสลาก ๑ – ๒ เดือนต่อครั้ง จนกว่าโรคจะหายไป

แมลงศัตรูกาแฟ

๑.มอดกาแฟ เป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวสีน้ำตาลหรือดำ ขนาด ๒ – ๒.๕ มิลลิเมตร มอดกาแฟเข้า ทำลายผลกาแฟตั้งแต่ขณะที่ผลยังอ่อนพบมากในระยะที่ผลกาแฟมีขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟ ซึ่งมีเนื้อเมล็ดภายในอ่อนใส มอดกาแฟจะเจาะเข้าไปกัดกินทำให้ผลกาแฟร่วงหล่น หรือเจาะเข้าไปวางไข่ เมื่อผลกาแฟเริ่มสุก เมล็ดภายในเริ่มแข็งมีสีขาวขุ่น ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนกัดกินเนื้อเมล็ดจนเข้าสู่ระยะดักแด้และเจริญเป็นตัวเต็มวัย นอกจากนี้ยังติดไปกับผลกาแฟทำลายผลผลิตในช่วงตากกาแฟหรือช่วงที่เก็บไว้ยุ้งฉางอีกด้วย

การป้องกันกำจัด

๑.รักษาแผลงให้สะอาด กำจัดวัชพืชที่ขึ้นรกในแปลง และตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง

๒.เก็บผลที่ร่วงหล่นบริเวณโคนต้นในสวนกาแฟให้หมดและ การเก็บเกี่ยวผลกาแฟครั้งสุดท้าย จะต้องเก็บผลให้หมดไม่ให้เหลือคาดต้นแล้วนำไปเผาทิ้งฝังดิน เพื่อไม่ให้เห็นเป็นอาหารของมอดกาแฟข้ามฤดู

๓.เมื่อเก็บผลกาแฟมาแล้วให้นำไปตากแดดทันที ไม่ควรกองสุมไว้ เพราะมอดจะขยายพันธุ์และเข้าทำลายภายในผลได้อีก

๔.เมื่อพบว่ามอดเริ่มเจาะทำลายผลกาแฟและคาดว่าจะระบาดรุนแรง ให้ใช้สารเคมีฉีดป้องกันกำจัด สารเคมีที่แนะนำได้แก่ แลนเนท ๑๘% ฮิสตาไธออน ๔๐% เอคทิลลิค ๕๐% ฉีดพ่นตามคำแนะนำในสลาก

๒.หนอนเจาะกิ่งและลำต้น ตัวแก่เป็นผีเสื้อสีชมพูหรือขาวมีจุดำประทั่วปีก ตัวอ่อนเป็นหนอนสีชมพูหรือน้ำตาล ตัวเมียวางไข่ที่เปลือกแล้วฟักเป็นตัวหนอน เจาะเข้าไปกัดกินในลำต้น ทำให้กิ่งหรือลำต้นหักโคน ช่วงเวลาจากตัวหนอนเป็นดักแด้จะใช้เวลาประมาณ ๒ เดือนแล้วจะกลายเป็นผีเสื้อต่อไป หนอนเจาะกิ่งและลำต้นนี้จะทำลายต้นที่ให้ผลแล้วมากกว่ากาแฟต้นเล็ก

การป้องกันกำจัด

๑.รักษาแผลงให้สะอาด กำจัดวัชพืชขึ้นรกในแปลงและตัดแต่งกิ่งให้พุ่มโปร่ง

๒.เมื่อพบการทำลายให้ตัดแต่งกิ่งที่ถูกทำลายนำไปเผาไฟโดยตัดกิ่งให้ชิดลำต้น

๓.ใช้แสงไฟฟ้าล่อจับตัวแก่ที่บริเวณมาเล่นไฟตอนกลางคืนแล้วนำตัวแก่ไปทำลาย

๔.เมื่อพบรูที่หนอนเจาะทำลาย ให้ใช้สารระเหยพาราไดคลอไรเบ็นซินชุบสำลี แล้วอุดรู

๓.เพลี้ยหอย (สีเขียว) เป็นแมลงลักษณะรูปไข่ ไม่เคลื่อนที่อาศัยอยู่ตามเส้นใบและบริเวณยอดอ่อน ใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อนและผลอ่อนของกาแฟ ทำให้ยอดอ่อนและ ผลเหี่ยวเฉาถ้ามีการระบาดมากต้นกาแฟชะงักการเจริญเติบโตและ ตายได้

การป้องกันกำจัด

๑.ตัดแต่งกิ่งกาแฟให้โปร่ง รักษาความสะอาดสวนและทำลายแหล่งอาศัยของมดที่เป็นพาหะนำเพลี้ยมาระบาด

๒.ใช้สารเ คมีจำพวกโมโนโครโตฟอส เช่น อโซดรินนูวาครอย ๕๖% ชนิดน้ำ อัตรา ๒๐ ซีซรน้ำ ๒๐ ลิตร ฉีดพ่น ๑๐ วัน ครั้ง รวม ๓ ครั้ง สำหรับในแหล่งที่หาน้ำยาก ควรใช้ยาดูดซึมชนิดเม็ด เช่น ฟูราดาน ภ% จีอัตรา ๓๐ กรัม / ต้น หว่านในบริเวณราก

๔.เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงปากดูด ลักษณะเป็นรูปไข่ลำตัวปกคลุมด้วยขี้ผึ้งสีขาวคล้ายแป้ง จะเห็นอยู่เป็นกลุ่มบริเวณผลกาแฟตาดอก หรือยอดหน่ออ่อน และจะพบหยดน้ำหวานเหนียวใสที่ผิวหลังใบซึ่ง อาจมีกลุ่มราเมส่าสีดำปกคลุมน้ำหวานอีกทีหนึ่ง

การป้องกันกำจัด

เช่นเดียวกับเพลี้ยหอย

๕.เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูดเข้าทำลายต้นกาแฟโดยใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ทำให้ยอดหงิกงอชะงักการเจริฐเติบโตและมูลที่เพลี้ยอ่อนถ่ายออกมานั้นมีรสหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ราดำขึ้นจับใบจนมีสีดำ

การป้องกันกำจัด

ใช้สารเคมีจำพวกโมโนโครโตฟอสเช่นเดียวกับเพลี้ยหอยหรือใช้โอเมทโธเอท เช่น โฟลิแมท ๕๐% ชนิดน้ำ อัตรา ๒๐ ซีซี / น้ำ ๒๐ ลิตร

การเก็บผลกาแฟ

กาแฟจะเริ่มติดดอกออกผลหลังจากปลูกไปและประมาณปีที่ ๓ และผลกาแฟจะเริ่มสุกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นกาแฟและสภาพของพื้นที่ปลูก ผลกาแฟในแต่ละช่อจะสุกไม่พร้อมกัน ในการเก็บผลกาแฟให้เลือกเก็บเฉพาะผลที่สุกแก่มีสีแดงเท่านั้น ไม่ควรเก็บผลกาแฟที่ยังอ่อนซึ่งมีสีเขียว หรือผลไม่แก่จัดหรือใช้วิธีรูดทั้งกิ่ง เพราะจะทำให้ได้สารกาแฟคุณภาพต่ำสำหรับผลกาแฟที่เก็บได้มีควรมีการคัดยกคุณภาพ โดยผลกาแฟที่แก่จัดเกินไป ซึ่งมีสีแดงเข้ม หรือผลที่แห้งคาต้นผลที่ร่วง หล่นตามพื้นควรเก็บแยกไว้ต่างหากจากผลกาแฟที่เก็บได้ในแต่ละครั้ง จากนั้นให้นำผลกาแฟทั้งหมดออกตากแดดโดยเร็วที่สุด

การผลิตสารกาแฟทำได้ ๒ วิธี คือ วิธีสีสด (แบบแช่น้ำ) และวิธีสีแห้ง (แบบแห้ง)

๑.การสีสด เป็นวิธีที่ใช้กันมากเพราะได้สารกาแฟที่มีควบคุมคุณภาพได้แต่มีต้นทุนการ ผลิตที่สูงกว่าวิธีการสีแห้ง วิธีการเริ่มจากการเก็บผลกาแฟสุกมาปอกเปลือกให้หมดภายในวันเดียวกัน ถ้าปอกไม่ทันไม่ควรเก็บไว้เกิน ๑ คืน เพราะการเก็บหมักไว้นานจำทำให้เมล็ดเสื่อมคุณภาพได้ เมื่อปลอกเปลือกเรียบร้อยแล้วนำเอาเมล็ดที่ได้แช่น้ำพอท่วมเมล็ด แช่หมักไว้ ๒๔ ชั่วโมง แล้วขยี้ล้างเมือกออกให้หมด หรือใช้เครื่อง ขัดเมือกก็จะช่วยทุ่นเวลาไปได้มาก เมื่อขัดเมือกหมดแล้วเหลือแต่เมล็ดที่มีเปลือกแข็งหุ้มให้นำออกผึ่งแดดให้แห้งสนิท โดยใช้เวลาประมาณ ๕ – ๗ วัน แต่ปัจจุบันอาจใช้เครื่องอบเมล็ดให้แห้งภายใน ๒๔ – ๒๘ ชั่วโมง แล้วจึงนำมาเข้าเครื่องกะเทาะเปลือก และฝัดเอาฝุ่นผงออกให้หมด คัดเอาพวกเมล็ดแตก เมล็ดดำ หรือกาแฟที่มีเปลือกหุ้มอยู่ออกให้หมด ก็จะได้สารกาแฟตามที่ต้องการ

๒.การสีแห้ง เป็นวิธีที่นิยมทำกันมากในกาแฟโรบัสต้าเนื่องจากสะดวก ลงทุนน้อย แต่ควบคุมคุณภาพได้ยาก วิธีนี้ทำได้โดยเก็บกาแฟที่สุดแล้วมาตากให้แห้งสนิทบนลานคอนกรีต จนสามารถเขย่าให้รู้สึกเมล็ดในคลอนได้ แล้วจึงนำเข้าเครื่องสีเอาเปลือกออกให้หมดฝัดร่อนเอาเมล็ดที่เสียออก การสีแห้งนี้ไม่สามารถควบคุมการมหักตัวของเมล็ดกาแฟได้ ถ้าหากไม่มีแสงแดดเพียงพอติดต่อกันหลายวัน หรือผลกาแฟที่ตากบนลานไม่ถูกกระจายให้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง ทำให้เชื้อราสามารถเจริญเติบโต

การผลิตสารกาแฟให้ได้คุณภาพดีโดยวิธีสีแห้งจะต้องปฏิบัติดังนี้

๑.พยายามเก็บเฉพาะผลกาแฟที่สุกสีแดงเท่านั้น

๒.แยกเอาผลที่มีตำหนิ ผลยังไม่แก่ ผลที่แห้งคาต้น ผลที่ร่วงบนพื้นออกไปตากและแยกย้าย ไม่นำมาปะปนกันผลผลิตที่มีคุณภาพ

๓.รักษาความสะอาดของภาชนะ ลานตาก และอุปกรณ์ต่างๆ

๔.ผลกาแฟที่เก็บมาแต่ละวันต้องรีบนำมาผึ่งแดดทันที

๕.พยายามกลับกองกาแฟบนลานตากหลาย ๆ ครั้งในแต่ละวันทุก ๆ วัน

๖.ในช่วงเย็นและวันที่ฝนตก จะต้องนำผลกาแฟที่ตามมากองรวมกันและใช้ผ้าใบคลุม รอจนลานตากแห้งแล้วจึงเกลี่ยผลกาแฟมาตากอีกครั้งหนึ่ง

๗.หลังจากสีกะเทาะเปลือกออกแล้ว จะต้องฝัดเอาฝุ่นผงออกให้หมด และคัดเอาเมล็ดแตก เมล็ดดำ เมล็ด ที่มีเปลือกหุ้มอยู่ออกให้หมด

๘.กาแฟที่จะเก็บบรรจุลงกระสอบจะต้องเป็นกาแฟที่แห้งสนิทเท่านั้น

๙.กระสอบที่ใช้บรรจุเมล็ดกาแฟ ควรเป็นกระสอบใหม่หรือกระสอบที่ผ่านการทำความสะอาดและตากแห้งดีแล้วปราศจากกลิ่นอื่นใด ไม่ควรวางกระสอบบรรจุเมล็ดกาแฟบนพื้นโดยตรง ควรมีหมอนไม้รองไว้ชั้นชั้นหนึ่งก่อน และเก็บไว้ในโรงเรือนที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก.

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php