เกษตร » กระเพรา

กระเพรา

30 ธันวาคม 2017
4636   0

กระเพรา

กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และ กะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว ซึ่งจะเรียกตามสีของก้านใบและก้านดอก

กะเพรามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ

  • เชียงใหม่ – กอมก้อ, กอมก้อดง
  • แม่ฮ่องสอน – ห่อกวอซู, ห่อตูปลู, อิ่มคิมหลำ
  • กะเหรี่ยง – ห่อกวอซู, ห่อตูปลู
  • เงี้ยว – อิ่มคิมหลำ
  • ภาคกลาง – กะเพราขน, กะเพราขาว, กะเพราแดง (กลาง)
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – อีตู่ข้า

กะเพราขาว


ชื่อทางพฤกษศาสตร์ : Ocimum sanctumวงศ์ : LABIATAEชื่อที่เรียก : ทั่วไปเรียก กระเพรา กระเพราขาว ทางภาคเหนือเรียก กอมก้อลักษณะ : ต้นกระเพราขาว เป็นต้นไม้เล็กๆ เนื้อออ่น ลำต้นสูงประมาณ 4-5 ฟุต ลำต้นสี่เหลี่ยม ต้นมีใบและขนน้อยๆ ใบมีสีขาวเขียว คล้ายใบสะระแหน่แต่โตกว่าเล็กน้อย ลำต้นมีสีเขียว ดอกออกเป็นช่อตั้งขึ้นเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตรการเจริญเติบโต : ปลูกเป็นสวนครัว ตามเรือกสวนไร่นา ขึ้นง่ายในดินทุกชนิด นำกิ่งที่เราใช้แล้วปักลงในดินก็ขึ้นได้ประโยชน์ : ใช้ใบปรุงเป็นอาหารจำพวกผัก มีรสเผ็ดร้อนแรงนำมาปรุงเป็นเครื่องกับแกล้มก็ได้ แกงก็ได้สรรพคุณ : ใช้เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง แก้ท้องขึ้น แก้ท้องเฟ้อ แก้ธาตุพิการ ใช้ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้ลมตานทราง ทำให้ขับผายลมทำให้เรอ แก้ลมจุกเสียดในท้อง แก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

……………………..

กะเพราแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ociemum Sanctum L.

ชื่อวงศ์: LABIATAE

ชื่อสามัญ: Holy Basil , Sacred Basil

ชื่อท้องถิ่น: ห่อตูปลู

ถิ่นกำเนิด: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะวิสัย: ไม้พุ่มเตี้ย

ลักษณะ: เป็นไม้พุ่มเตี้ยความสูงประมาณ 1-3 ฟุต ต้นค่อนข้างแข็ง แตกกิ่งก้านสาขามาก ก้านเป็นขน ก้านใบยาว รูปใบเรียว โคนใบรูดในลักษณะเรียวปลายมนรอบขอบใบเป็นหยัก พื้นใบด้านหน้าสีเขียว หรือแดงแก่กว่าด้านหลัง ซึ่งมีกระดูกใบนูนเห็นได้ชัด ดอกออกเป็นช่อตั้งขึ้นคล้ายฉัตร เมล็ดอยู่ภายในกลีบ กลีบเลี้ยงสีม่วง เมล็ดแก่สีดำ เมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือก

ประโยชน์: สรรพคุณทางยาแผนโบราณ แก้ลม ขับลม จุกเสียดในท้อง เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ใช้รักษาโรคของเด็ก คือเอาใบกระเพรามาตำละลายกับน้ำผึ้ง หยอดให้เด็กแรกเกิดกินเรียกว่าถ่ายขี้เถ้า หรือตำแล้วบีบเอาน้ำผสมกับมหาหิงค์ ทารอบสะดือ แก้ปวดท้องของเด็ก ปรุงเป็นยาผงส่วนมากจะใช้เฉพาะใบ รากแห้งชงกับน้ำร้อนดื่มแก้ธาตุพิการได้ดี เป็นยากันยุง และใบกับดอกผสมปรุงอาหาร

การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำ

……………………..
กระเพราเหมาะสำหรับใช้ในการรักษาโรคของเด็กเล็กๆเป็นอย่างมากถ้าจะปรุงเป็นยาผงจะใช้แต่ใบของมันเท่านั้นแต่ถ้าจะปรุงเป็นยาต้มจะใช้ทั้งต้น กระเพรา 3-5 ใบขยี้หรือบดให้ละเอียดผสมกับเกลือละลายน้ำสุกหรือน้ำผึ้งหยดให้เด็กอ่อนเพิ่งคลอดรับประทานช่วยในการถ่ายขี้เทาและขับผายลมได้ดีมาก

ชาวฮินดูในประเทศอินเดีย ถือว่ากะเพราเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ ใช้ประกอบอาหารในพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นที่มาของชื่อภาษาอังกฤษว่า Holy Basil และ Sacred Basil

ส่วนชาวตะวันตกรู้จักกะเพราผ่านทางอาหารไทยหลายชนิด กะเพราจึงมีอีกชื่อว่า Thai Basil

ในแง่ของคุณค่าสารอาหาร ใบกะเพรา 100 กรัม มีเบตาแคโรทีนสูงถึง 7,857 ไมโครกรัม ซึ่งเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกาย ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันการเสื่อมของสายตาก่อนวัยอันควร มีเหล็ก แคลเซียม และฟอสฟอรัสที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และนับว่ากะเพรามีวิตามินสูง โดยกะเพรา 100 กรัม มีวิตามินซี 22 มิลลิกรัม ถือว่ามากเป็นอันดับต้น ๆ ในบรรดาสมุนไพรวงศ์เดียวกัน

ใบกะเพรามีกลิ่นรสฉุนหอมพิเศษเฉพาะตัว เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งประกอบด้วย เมทิลชาวิคอล (Methyl Chavicol) ไลนาโลออล (Linalool) ยูจีนนอล (Eugenol) และแคมเฟอร์ มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ยับยั้งการสังเคราะห์สารที่ทำให้เกิดการอักเสบ ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อสิว Propionibacterium Acnes ลดการหลั่งกรดและป้องกันการถูกทำลายของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ที่สำคัญคือมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ซึ่งนักวิจัยแนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานเล็กน้อยถึงปานกลาง

สรรพคุณโดดเด่นของกะเพราคือ ช่วยขับลม แน่นจุกเสียด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เตรียมตัวยาง่าย ๆ ด้วยการใช้ใบสดหรือยอดอ่อนต้มในน้ำเดือด กรองเอาน้ำดื่ม หรือจะใช้ใบแห้งชงกับน้ำดื่มก็ได้ผลเช่นกัน

สำหรับเด็กทารกให้ใช้ใบสดตำละเอียด คั้นน้ำ ผสมกับมหาหิงคุ์ ทารอบ ๆ สะดือและฝ่าเท้า หรือใช้น้ำต้มใบกระเพรา 2-3 หยด ผสมน้ำนมให้ทารกดื่มก็ได้ ตามตำรายาไทยนิยมเลือกใช้กะเพราแดง เพราะมีฤทธิ์แรงกว่ากะเพราขาว ในอินเดียจะเก็บกะเพราหลังผลิดอกครั้งแรกเพื่อให้มีสรรพคุณทางยาสูงสุด

รวมสรรพคุณทุกส่วนของกะเพรา

 

  • ใบ บำรุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้องอุจจาระ แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน “แก้โรคบิด” และขับลม
  • เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
  • ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ
  • น้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกอก
  • ใบและกิ่งสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08-0.10 ซึ่งมีราคา 10,000 บาทต่อกิโลกรัม
  • แก้ลม ขับลม จุกเสียดในท้อง เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ใช้รักษาโรคของเด็ก คือเอาใบกะเพรามาตำละลายกับน้ำผึ้ง หยอดให้เด็กแรกเกิดกินเรียกว่าถ่ายขี้เถ้า หรือตำแล้วบีบเอาน้ำผสมกับมหาหิงค์ ทารอบสะดือ แก้ปวดท้องของเด็ก ปรุงเป็นยาผงส่วนมากจะใช้เฉพาะใบ รากแห้งชงกับน้ำร้อนดื่มแก้ธาตุพิการได้ดี เป็นยากันยุง และใบกับดอกผสมปรุงอาหาร
  • เป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลม เกิดจากน้ำมันหอมระเหย และสาร Eugenol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

การปลูกกะเพรา

การเพาะเมล็ดสำหรับทำกล้า 

  1. ทำแปลงเพาะขนาดความกว้าง 1 เมตร
    ความยาวแล้วแต่แปลง

  2. ย่อยดินให้ละเอียด  คลุกเคล้าปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก

  3. หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง 

  4. หลังเพาะประมาณ 7 – 10  วัน  เมล็ดเริ่มงอก

  5. ดูแลรักษาต้นกล้าประมาณ 25 – 30  วัน
    ก็ย้ายต้นกล้าไปปลูกในแปลงได้

    การเตรียมดินปลูกและการย้ายกล้าปลูก

  6. ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 15 – 20 ซม.  หรือ 1 หน้าจอบ

  7. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงแปลงกว้าง 1 เมตร
    ความยาวแล้วแต่ขนาดแปลง

  8. ขุดหลุมปลูกขนาดลึก 1/2  หน้าจอบ

  9. ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 30 ซม. ระหว่างแถว 60 ซม.   

  10. นำต้นกล้าลงปลูกในหลุมแล้วรดน้ำตาม

    การดูแลรักษา

  11. การใส่ปุ๋ย  เมื่อต้นกะเพราอายุ  10 – 15 วัน

  12. ใช้ปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนี่ยมซัลเฟต 1- 2 ช้อนชา
    ต่อน้ำ10 ลิตร  รดทุก 5 – 7 วัน

  13. เมื่อต้นกะเพราอายุ 25 – 30 วัน ใส่ปุ๋ย 15-15-15
    อัตรา 1 ช้อนชาต่อต้น  ให้ทุก 20 – 25 วัน
    โดยโรยห่างโคนต้น  1 – 2 นิ้ว
    หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ
    ช่วยให้ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงได้

  14. การให้น้ำ  ให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอทุกวัน

  15. การกำจัดวัชพืช  ควรกำจัดวัชพืชทุกครั้งที่มีการให้ปุ๋ย
    และเมื่อมีวัชพืชรบกวน

    การเก็บเกี่ยว

  16. หลังปลูกประมาณ 30 – 35 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้
    โดยใช้มือหรือกรรไกร  ตัดกิ่งที่มียอดอ่อนไปบริโภค หรือจำหน่าย

  17. ถ้าต้นกะเพราออกดอกควรหมั่นตัดแต่งออกทิ้ง
    เพื่อให้กะเพรามีทรงพุ่มที่แข็งแรงและมีอายุยืนยาว

 

เรียบเรียงจาก
http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9..
http://thailand-an-field.blogspot.com/2009/11/ocimum-sanctum-labiatae-4-5-3-5.html
https://prayod.com/%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B..
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%..
http://www.trgreen.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539573119&Ntype=26