ลึกลับ&ดวง » สวดมนต์กรณียเมตตสูตร…ชีวิตมีแต่รุ่งเรือง เทวดารักษา

สวดมนต์กรณียเมตตสูตร…ชีวิตมีแต่รุ่งเรือง เทวดารักษา

18 พฤศจิกายน 2017
2776   0

กะระณียะเมตตสูตร

ประวัติที่มา

ตัวบทของพระสูตรที่ปรากฏในขุททกปาฐะ ในขุททกนิกาย ของ พระสุตตันตปิฎก   มีเพียงพระคาถา 10 บท
มิได้ระบุถึงที่มาของการตรัสพระสูตรแต่อย่างใด ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับที่ปรากฏในพระสูตรอื่นๆ ในขุททกปาฐะ ทว่าในคัมภีร์ปรมัตถโชติกา อรรถกถาอธิบายความในขุททกปาฐะ ได้อธิบายไว้ว่า
…สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสพระสูตรนี้ที่สาวัตถี เพื่อให้บรรดาพระภิกษุได้เจริญเมตตาเพื่อยังความร่ำเย็น เป็นสุข และเพื่อความเป็นมิตรต่อสัตว์ทั้งหลาย มิให้เบียดเบียนกัน

…โดยที่มาของพระสูตรเกิดขึ้นเมื่อพระ ภิกษุ ประมาณ 500 รูป ได้เรียน กรรมฐาน จากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จากนั้นได้เดินทางไปแสวงหาเสนาสนะที่เป็นสัปปายะ สุดท้ายพระภิกษุทั้งหมดได้บำเพ็ญพระกรรมฐานอยู่ตามโคนไม้ ณ ป่าหิมวันต์ ในปัจจันตประเทศ

อย่างไรก็ตาม บรรดา รุกขเทวดา และเทพยดาที่สถิตอยู่ตามต้นไม้ ต่างต้องลงมาจากวิมานของตน
เนื่องจากบรรดาพระภิกษุได้กระทำความเพียรอยู่ ณ โคนต้นไม้ เมื่อได้รับความลำบาก
และคิดว่าพระภิกษุเหล่านี้ต้องกระทำความเพียรตลอดพรรษาไม่อาจจะไปที่ไหนได้อีก
จะยังความลำบากให้แก่พวกตนและลูกหลานของตนอีกยาวนาน บรรดารุกขเทวดาและเทพยดาในถิ่นนั้น
จึงรวมตัวกันแสดงอาการอันน่ากลัว แล้วหลอก เพื่อขับไล่พระภิกษุเหล่านั้น

พระภิกษุเหล่านั้นได้รับความลำบากกายลำบากใจอย่างยิ่งที่ถูกบรรดารุกขเทวดาและเทพยดาจำแลงกายหลอกหลอนตนจนไม่อาจบำเพ็ญเพียรเจริญพระกรรมฐานได้ ต่อมาจึงพากันเดินทางไปยังนครสาวัตถีเพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระพุทธองค์ทรงสดับเรื่องราวแล้ว ทรงมีพระดำรัสให้ภิกษุทั้งหลายกลับไปเจริญพระกรรมฐานยังสถานที่แห่งเดิม
แล้วจึงทรงตรัสเมตตสูตร เพื่อให้ภิกษุทั้ง 500 รูปได้เจริญเมตตาโปรดรุกขเทวดาเทพยดาทั้งหลาย ให้หยุดจองเวรเสีย.

 

เป็นมงคลคาถาของพระพุทธเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์อีกบทหนึ่ง เมื่อสวดเป็นประจำจะเป็นที่รักของเหล่าเทวดา ภูต ผี ปีศาจ เจ้าที่เจ้าทาง ..ทำให้ชีวิตมีแต่รุ่งเรือง ผาสุข ตลอดไป.

กะระณียะเมตตะสูตร + คำแปล

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ 
กิจอันใด อันพระอริยะเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ

สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ
กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ และซื่อตรงดี
สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ

สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ
เป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย
อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
เป็นผู้มีธุรกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต

สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ
มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญา
อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย

นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง 
วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย

สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ 
สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา 
ยังเป็นผู้สะดุ้ง ( คือมีตัณหา ) หรือเป็นผู้มั่นคง ( ไม่มีตัณหา ) ทั้งหมดไม่เหลือ

ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
เหล่าใดยาวหรือใหญ่ หรือปานกลางหรือสั้นหรือผอมพี

ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา
เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น
เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ไม่ไกล

ภูตา วา สัมภะเวสี วา 
ที่เกิดแล้ว หรือแสวงหาภพก็ดี
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด

นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ
สัตว์อื่นอย่างพึงข่มเหงสัตว์อื่น
นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ 
อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ไรๆ เลย

พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธด้วยความคับแค้นใจ

มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
มารดาถนอมลูกคนเดียว ผู้เกิดในตนด้วยยอมพร่าชีวิตได้ฉันใด

เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง 
พึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณในสัตว์ฉันนั้น
——————————————————————————————–
เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง 
บุคคลพึงเจริญเมตตา มีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น

อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ 
ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องเฉียง
อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง

เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู

ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา 
ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี
สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด

เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ 
ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น
พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหารในพระศาสนานี้

ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา
บุคคลที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล
ทัสสะเนนะ สัมปันโน
ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค)

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง
นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก
นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ
ย่อมไม่ถึงความนอน ( เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียว

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
กรณียเมตตสูตรในขุททกปาฐะ

                          กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบ
                          แล้วอยู่ พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ
                          เป็นผู้ตรง ซื่อตรง ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษ
                          เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบา มีอินทรีย์อันสงบ
                          ระงับ มีปัญญาเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุล
                          ทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไรๆ ซึ่งเป็นเหตุ
                          ให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตในสัตว์ทั้งหลาย
                          ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตน
                          ถึงความสุขเถิด สัตว์มีชีวิตเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ เป็นผู้
                          สะดุ้งหรือเป็นผู้มั่นคง ผอมหรือพี และสัตว์เหล่าใดมีกาย
                          ยาวหรือใหญ่ ปานกลางหรือสั้น ที่เราเห็นแล้วหรือมิได้เห็น
                          อยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ ที่เกิดแล้วหรือแสวงหาที่เกิด ขอ
                          สัตว์ทั้งหมดนั้นจงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์อื่นไม่พึง
                          ข่มขู่สัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่นอะไรเขาในที่ไหนๆ ไม่พึง
                          ปรารถนาทุกข์แก่กันและกันเพราะความกริ้วโกรธ เพราะความ
                          เคียดแค้น มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน แม้ด้วย
                          การยอมสละชีวิตได้ ฉันใด กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์
                          พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉันนั้น
                          ก็กุลบุตรนั้น พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณไปในโลก
                          ทั้งสิ้น ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่คับแคบ
                          ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู กุลบุตรผู้เจริญเมตตานั้นยืนอยู่ก็ดี เดิน
                          อยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี พึงเป็นผู้ปราศจากความง่วง
                          เหงาเพียงใด ก็พึงตั้งสตินี้ไว้เพียงนั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
                          วิหารธรรมนี้ว่า เป็นพรหมวิหาร ในธรรมวินัยของพระอริย
                          เจ้านี้ กุลบุตรผู้เจริญเมตตา ไม่เข้าไปอาศัยทิฐิ เป็นผู้มีศีล
                          ถึงพร้อมด้วยทัศนะ กำจัดความยินดีในกามทั้งหลายออก
                          ได้แล้ว ย่อมไม่ถึงความนอนในครรภ์อีกโดยแท้แล ฯ

จบเมตตสูตร
จบขุททกปาฐะ

ขอบคุณ https://sites.google.com/site/dhammatharn/thrrm-than-chna-kar-..
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%..
http://www.watpamahachai.net/Doc4.htm

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php

เรียบเรียง-แก้ไขโดย ปื้น ปากพนัง: ความดีงามในบทความนี้จงบังเกิดกุศลผลบุญ แก่ครอบครัว+ตัวของข้าพเจ้า มารดา-บิดา พี่ๆน้องๆ..และสรรพอันเป็นที่รักของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเทอญ.