เลี้ยงสัตว์ » โรคสัตว์สำคัญที่ควรระวังในช่วงฤดูหนาว..

โรคสัตว์สำคัญที่ควรระวังในช่วงฤดูหนาว..

17 พฤศจิกายน 2017
3106   0

www.108kaset.com/goat/index.php/topic,479

กลุ่มระบาดวิทยาทางห้องปฏิบัติการ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ รายงานการพบโรคช่วงฤดูหนาว (เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา .. โรคที่มีการรายงานเกือบทุกปี จำแนกตามชนิดสัตว์ มีรายละเอียดเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้..

Brucellosis           = แท้งติดต่อ

Paratuberculosis =ท้องเสียเรื้อรัง https://goo.gl/x7oZyR

Anaplasmosis      =โรคพยาธิเม็ดเลือด http://niah.dld.go.th/th/AnimalDisease/cow_anaplasmosis.htm

Coccidiosis           =ระบบย่อยอาหาร

ฯลฯ

 

ในช่วงหน้าหนาวจะเห็นได้ว่า โรคติดเชื้อแบคทีเรียได้พบอย่างต่อเนื่อง โรคพยาธิทั้งภายในและในกระแสเลือดยังคงเป็นปัญหาพื้นฐานที่พบในสัตว์หลายชนิด ส่วนโรคทางไวรัสวิทยามักทำความสูญเสียอย่างมากเมื่อเกิดการระบาดขึ้น ดังนั้นโปรแกรมการป้องกัน การทำวัคซินชนิดต่างๆ โดยเฉพาะระบบการจัดการ ดูแลที่ดี ต้องมีการกระทำอย่างเข้มงวด และต่อเนื่อง นับเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย อย่าลืมว่าสัตว์ที่มีสุขภาพแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคที่ดี โอกาสเกิดโรคก็จะน้อยลง

ในสภาวะอากาศที่แปรปรวน มีอากาศหนาวเย็น โรคที่มักพบได้บ่อย มักเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินระบบหายใจ โรคติดเชื้อต่างๆจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ โรคสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังในกลุ่มสัตว์ใหญ่ คือ Haemorrhagic septicemia(ไข้เลือดออก), FMD(โรคปากและเท้าเปื่อย..Foot and mouth disease ) และโรคพยาธิในกระแส โลหิต

สำหรับสุกรโรคที่ต้องเฝ้าระวังคือ Swine fever, Colibacillosis โดยมักมี PRRS ร่วมทำให้เกิดความสูญเสียที่รุนแรงขึ้น นอกจากนั้นต้องระมัดระวังในด้านสุขอนามัยในการบริโภคด้วย ส่วน สัตว์ปีกให้ดูแลในด้านการควบคุมโรค Fowl cholera, Duck plaque และ NCD สำหรับสัตว์เลี้ยงโรคสำคัญที่พบบ่อย คือ โรคพิษสุนัขบ้า ในด้านอาหารสัตว์ ให้พึงระวังเกี่ยวกับเชื้อรา เนื่องจาก ความชื้นหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา ฯลฯ อันส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพสัตว์ จึงต้องมีการใส่ใจดูแลสัตว์อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีมาตรการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นในกลุ่มโรคสำคัญ ก็ อย่าได้วางใจ ควรต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

..ทั้งนี้โรคสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด คือ โรคไข้หวัดนก เนื่องจากมีการรายงานพบในประเทศใกล้เคียง (คือ กัมพูชา ลาว ฮ่องกง และ จีน ล่าสุดพบสงสัยที่เดนมาร์ก อยู่ระหว่างยืนยันผล) ดังนั้นหากพบสิ่งผิดปกติใดๆ ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยทันที จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรคให้มีประสิทธิภาพดียิ่ง ขึ้น

โค กระบือ แพะ แกะ – ช่วงการเปลี่ยนแปลงของอากาศจากฤดูฝนมาเป็นฤดูหนาว เป็นช่วงที่เชื้อโรคต่างๆจากพื้นดินอยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบ โต ทำให้สัตว์ต่างๆมีโอกาสที่จะได้สัมผัสรับเชื้อโรคเหล่านี้สูงมากขึ้น และสัตว์ที่ไม่ได้รับการทำวัคซีน ระดับภูมิคุ้มกันก็มีโอกาสต่ำทำให้สัตว์เหล่านั้นมีโอกาสเกิดโรคต่างๆที่ได้สัมผัสกับเชื้อโรคเหล่านั้น

นอกจากนี้โฮสต์กึ่งกลางของพยาธิก็มีมากมายในช่วงฤดูฝน มีการกระจายตามทุ่งหญ้าต่างๆได้มาก เมื่อสัตว์เข้าไปกินในทุ่งหญ้าเหล่านั้นก็มีโอกาสติดพยาธิได้เช่นกัน จึงต้องดูแลสุขภาพสัตว์ให้มาก เช่น ควรมีการตรวจสุขภาพสัตว์ประจำปี ทำวัคซีนในช่วงสัตว์มีสุขภาพที่ดี ตรวจอุจจาระเพื่อหาพยาธิและมีการถ่ายพยาธิอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เสริมก้อนแร่ให้กับสัตว์เพื่อ ช่วยเสริมให้สัตว์มีสุขภาพดีขึ้น หญ้าที่ใช้เลี้ยงสัตว์ ควรตัดและตากแดดไว้ 1-2 แดด เพื่อลดปริมาณตัวอ่อนพยาธิที่ติดตามใบหญ้า

ถ้าสัตว์มีสุขภาพผิดปกติ เช่น ซึม ไม่กินอาหาร ถ่ายอุจจาระผิดปกติ ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ในพื้นที่ ก่อนซื้อสัตว์จากฟาร์มอื่น ควรเช็ดดูว่าฟาร์มนั้นเคยเกิดโรคก่อนหน้านี้หรือไม่ เพื่อเตรียมการป้องกันไม่เกิดปัญหาขึ้นในฟาร์มของเรา เช่น โรคแท้งติดต่อ เป็นต้น ถ้า มียุง เหลือบแมลงวันคอก เป็นจำนวนมาก ควรมีมุงครอบคอกสัตว์ในช่วงกลางคืน

สุกร – ช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ประชาชนกลับบ้านตามท้องถิ่นของตนเอง จากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการฉลองกันมาก จึงขอ ให้ระวังในการบริโภค โดยเฉพาะการทำอาหารสุกๆดิบๆ ซึ่งมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อโรคต่างๆได้ เช่น เชื้อสเตรปโตค็อคคัส พยาธิตัวจิ๊ด พยาธิเม็ดสาคู เป็นต้น ส่วนโรคในช่วงฤดูหนาวที่พบมากจะเป็น โรคที่เกิดจากสัตว์ที่มีสุขภาพอ่อนแอ ได้รับความเครียดจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันต่ำลง ดังนั้น จึงขอให้เกษตรกรช่วยกันดูแลสุขภาพสัตว์ให้มาก เช่น ควรเสริมกระสอบรองพื้น ในคอกให้ลูกสุกรได้นอนเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับตัวสัตว์ให้มาก ทำวัคซีนตามโปรแกรมที่จัดไว้ในฟาร์มอย่างเคร่งครัด และต้องเช็ดดูแม่สุกรที่กลับสัดและไม่ได้ทำวัคซีนจะต้องดูแลด้วย สัตว์ที่นำ เข้าไปในฟาร์มควรกักดูอาการอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อดูอาการสัตว์ว่าปกติหรือไม่ และจัดทำวัคซีนในสัตว์เหล่านั้นก่อนเข้าไปรวมฝูงต่อไป ก่อนซื้อสัตว์จากฟาร์มอื่น ควรเช็ดดูว่าฟาร์มนั้นเคยเกิดโรค ระบาดก่อนหน้านี้หรือไม่ เพื่อเตรียมการป้องกันไม่เกิดปัญหาขึ้นในฟาร์มของเรา อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ ควรเป็นอาหารที่สด ไม่เก็บไว้นานเกินไป ปิดผ้าใบตามคอกสัตว์ในช่วงกลางคืน เพื่อป้องกันลม หนาวพัดเข้ามา และเปิดผ้าใบตอนกลางวันเพื่อให้แสงแดดส่องเข้าไปในคอกสัตว์ได้ มีเครื่องดักยุงให้กับสัตว์ในคอกเพื่อลดการรบกวนจากยุง ฯลฯ

โรคในสัตว์ปีก – ช่วงอากาศหนาวจะมีอุณหภูมิและความชื้นต่ำ การเลี้ยงในสภาพโรงเรือนเปิด ควรมีการป้องกันลมพัดโกรก ส่วนโรงเรือนปิดควรตรวจสอบ ระบบระบายอากาศและควบคุมอุณหภูมิให้มีการทำงานเป็นปกติอยู่เสมอ สำหรับลูกสัตว์ปีกควรดูแลเรื่องไฟกก ให้มีความอบอุ่นไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป การนำเข้าสัตว์ใหม่ควรมั่นใจว่าสัตว์ปลอด โรคจริงๆ(ควรพิจารณาแหล่งที่มาของสัตว์) ให้เข้มงวดในด้านการจัดการ ระบบสุขาภิบาลของฟาร์มรวมถึงความสะอาดของน้ำ อาหาร ต้องปราศจากการปนเปื้อน มีการกำจัดแมลง สัตว์พาหะต่างๆ ภายในโรงเรือนโดยใช้เครื่องดักจับ สิ่งสำคัญคือ มีโปรแกรมการทำวัคซินและถ่ายพยาธิตามกำหนด หากพบสัตว์ป่วยตายผิดปกติ ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ในพื้นที่ เพื่อให้ทราบสาเหตุและ สามารถควบคุม ดูแล ได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ ในช่วงปลายฝนต้นหนาวโดยเฉพาะปีนี้คาดว่าอากาศจะเย็นมากกว่าปกติ อันเป็นผลกระทบจากการเกิดอุทกภัยที่เกิดในหลายพื้นที่ ประกอบกับได้ รับทราบว่า ผลความกดอากาศสูงจากประเทศ จีนเริ่มมีอิทธิพลแผ่ลงมาถึงประเทศไทย ทำให้พื้นที่ทางภาคเหนือมีอากาศเย็นและมีหมอกในช่วงเช้า สิ่งที่จะเกิดตามมา คือ มีการอพยพของนกจาก พื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นไปสู่พื้นที่ที่มีความอบอุ่นกว่า ซึ่งในขณะนี้ ได้มีนกอพยพจากไซบีเรีย จีน มาอาศัยอยู่ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ในกลุ่มประเทศยุโรปได้มีการแจ้งเตือนภัยให้มีการเฝ้า ระวังการเกิดโรค เนื่องจากเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงสูงในการแพร่โรค โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมของแต่ละปี อันเป็นผลสืบเนื่องจากการอพยพของนกและสภาพอากาศที่เอื้อ ต่อการแพร่ กระจายของโรค ดังจะเห็นได้ว่ามีรายงานการพบโรคสูงในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนข่าวล่าสุดที่ว่า ได้มีการพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ที่ประเทศจีน ทำให้เกิดความวิตก ว่า จะมีการแพร่กระจายของเชื้ออย่างรุนแรงและกว้างขวางขึ้นได้ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ในส่วนภูมิภาคจึงมีการเตรียมความพร้อมทางด้านห้องปฏิบัติ การในทุกแห่งรวมทั้งจัดตั้งทีมเพื่อเฝ้าระวังและสอบสวนโรคให้มีความพร้อมดำเนินการได้ทันทีเมื่อมีการตรวจพบปัญหาในด้านต่างๆในส่วนของพื้นที่ควรเพิ่มมาตรการเฝ้าระวังด้านต่างๆ โดย เฉพาะการเฝ้าระวังทางอาการ หากพบสัตว์ป่วย ควรมีการเฝ้าติดตาม ควบคุมพื้นที่อย่างเข้มงวด มีการส่งตัวอย่างเพื่อยืนยันผลทางห้องปฏิบัติ ด้านสถานที่และสัตว์ในกลุ่มเสี่ยง เช่น สนามไก่ชน บริเวณที่พักอาศัยของนกอพยพ การควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ ฯลฯ ต้องมีมาตรการจัดการและการควบคุมที่ดี เน้นทางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) มีการสุ่มเก็บตัวอย่างตาม แผน / นโยบาย หรือตามความเหมาะสมที่เห็นควรให้มีการดำเนินการ ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถติดต่อ ประสานงาน ดำเนินการได้โดยตรงกับเจ้าหน้าที่กลุ่มระบาดวิทยาหรือทีมสอบสวนโรค สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติและศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ทุกแห่งในเขตความรับผิดชอบ เพื่อการดำเนินการได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้สามารถศึกษาราย ละเอียดของโรค การเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องและรายชื่อบุคคลรวมถึงหมายเลขติดต่อได้จากเว็บไซต์ของสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ในส่วนภูมิภาค

 

ขอบคุณ http://niah.dld.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=396:diseasewinterwarning&catid=126:diseaseforcase&Itemid=304