เกษตร » กาแฟ..พืชเศรษฐกิจอีกชนิดที่น่าสนใจ

กาแฟ..พืชเศรษฐกิจอีกชนิดที่น่าสนใจ

2 พฤศจิกายน 2017
2480   0

กาแฟ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
วงศ์ (Family):  Rubiaceae
จีนัส (Genus):  Coffea
สปีชีส์ (Species): C. Canephora
ชื่อสามัญ (Common name): Robusta Coffee
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Coffea robusta Pierre ex Froehner L.
C:\Documents and Settings\ploy\Desktop\งาน N'1\ส่ง\robusta2.gif

ราก

กาแฟมีรากแก้ว และมีรากแขนงแตกออกจากรากแก้ว ประมาณ 4 ถึง 8 ราก รากแขนงจะมีรากฝอย และจากรากฝอยจะมีรากแตกออกมาอีกเป็นรากสำหรับดูดอาหาร  รากชนิดนี้มีจำนวนประมาณ 60 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ จะแผ่กระจายในระดับผิวดินลึก ประมาณ  20 เซนติเมตร

C:\Documents and Settings\ploy\Desktop\งาน N'1\ส่ง\ราก.JPG

ลำต้นและกิ่ง

ลำต้น (Main Stem) เป็นลำต้นเจริญเติบโตมาจากรากแก้ว มีลักษณะเป็นข้อและปล้อง ในขณะที่กาแฟต้นยังมีขนาดเล็กจะเห็นได้ชัด โดยใบจะอยู่ตามข้อของลำต้น เมื่อต้นโตขึ้นใบจะร่วงหล่นไป และโคนใบของกาแฟมีตา 2 ชนิด คือ ตาบนและตาล่าง..

ตาบนจะแตกกิ่งออกมาเป็นกิ่งแขนงที่ 1 (Primary Branch) เป็นกิ่งลักษณะเป็นกิ่งนอนขนานกับพื้นดินมีข้อและปล้อง แต่ละข้อของกิ่งแขนงนี้จะมีกลุ่มตาดอกที่จะติดดอกเป็นผลกาแฟต่อไป
ส่วนตาล่างจะแตกออกเป็นกิ่งตั้ง (Sucker) กิ่งตั้งจะตั้งตรงขึ้นไปเหมือนลำต้น ไม่ติดดอกผล แต่สามารถสร้างกิ่งแขนงที่สามารถให้ดอกผล เรียกเป็นกิ่งแขนงที่ 1 เช่นกัน กิ่งแขนงที่ 1 สามารถแตกกิ่งแขนงต่อไปได้อีกเป็นกิ่งแขนงที่ 2 และกิ่งแขนงที่ 2 สามารถแตกเป็นกิ่งแขนงที่ 3 ได้อีก กิ่งแขนงเหล่านี้จะเกิดในลักษณะเป็นคู่สลับเยื้องกันบนลำต้นหรือกิ่งตั้ง เมื่อมีการตัดลำต้นกาแฟ ตาล่างบนลำต้นจะแตกกิ่งตั้งขึ้นมา กิ่งตั้งจะแตกเป็นกิ่งแขนงที่ 1 กิ่งที่ 2 และ 3 จากนั้นมีการสร้างดอกและผลกาแฟอีกต่อไป
C:\Documents and Settings\ploy\Desktop\งาน N'1\ส่ง\11111.JPG

 

ใบ

ลักษณะเป็นใบเดี่ยว  ก้านใบสั้น  โคนใบและปลายใบเรียวแหลม ตรงกลางใบกว้าง ผิวใบเรียบ นุ่มเป็นมัน ขอบใบหยักเป็นคลื่น ขนาดของใบขึ้นกับพันธุ์กาแฟ ใบจะเกิดที่ข้อเป็นคู่ตรงข้ามกัน ส่วนปากใบอยู่ด้านท้องใบ แต่ละใบจะมีปากใบประมาณ 3 ล้านถึง 6 ล้านรู  ปากใบของกาแฟโรบัสต้ามีขนาดเล็กกว่าปากใบของกาแฟอาราบิก้า  แต่มีจำนวนมากกว่า อายุใบประมาณ 250 วัน

C:\Documents and Settings\ploy\Desktop\งาน N'1\ส่ง\coffe 13.jpg

ช่อดอกและดอก

ดอก  ปกติดอกกาแฟจะมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอก จำนวน 4 ถึง 9 กลีบ กลีบเลี้ยง จำนวน 4 ถึง 5 ใบ มีเกสร 5 อัน รังไข่ 2 ห้อง แต่ละห้องของรังไข่จะมีไข่ 1 ใบ ผลกาแฟจึงมี 2 เมล็ด ดอกกาแฟจะออกเป็นกลุ่มๆ บริเวณโคนใบบน  ข้อของกิ่งแขนงที่ 1 แขนงที่ 2 หรือ 3 กลุ่มดอกแต่ละข้อมีดอก จำนวน  2 ถึง 20 ดอก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของต้นตา  ดอกจะออกจากกิ่งแขนงจากข้อที่อยู่ใกล้ลำต้นออกไปหาปลายกิ่งแขนง  ปกติกาแฟจะออกดอกตามข้อของกิ่ง ข้อที่ออกดอกผลแล้วในปีต่อไปจะไม่ออกดอกและให้ผลอีก

C:\Documents and Settings\ploy\Desktop\งาน N'1\ส่ง\47002964wk5.jpg

ผลและเมล็ด

ผล ผลของกาแฟมีลักษณะคล้ายลูกหว้า รูปรี ก้านผลสั้น ผลดิบสีเขียว  เมื่อเวลาผลสุกจะมีสีเหลือง สีส้ม สีแดง ผลของกาแฟจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. เปลือก (Skin)  2. เนื้อ (Pulp) มีสีเหลือง เมื่อสุกมีรสหวาน 3. กะลา (Parchment) จะห่อหุ้มเมล็ด ช่วงระหว่างเมล็ดกับกะลาจะมีเยื่อบางๆ หุ้มเมล็ดอยู่เรียกว่า เยื่อหุ้มเมล็ด (Silver Skin)  ผลกาแฟแต่ละผลจะมี 2 เมล็ดประกบกัน  ด้านที่ประกบกันจะอยู่ด้านในมีลักษณะแบน มีร่องบริเวณกลางเมล็ด 1 ร่อง  ส่วนด้านนอกมีลักษณะโค้ง ลักษณะเมล็ดจะเป็นเดี่ยวหรือเมล็ดโทน (Pea Bean, Pea Berry) ในบางครั้งหากการผสมเกสรไม่สมบูรณ์ จะทำให้ผลติดเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว ผลกาแฟมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียวรูปร่างกลมรีทั้งเมล็ด โดยมีร่องบริเวณกลางเม็ด 1 ร่อง (ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ; กรมวิชาการเกษตร)

C:\Documents and Settings\ploy\Desktop\งาน N'1\ส่ง\DSC03114.jpgC:\Documents and Settings\ploy\Desktop\งาน N'1\ส่ง\01.jpg
การปรับปรุงพันธุ์กาแฟโรบัสต้า

         โดยทั่วไปแล้วกาแฟมีอยู่หลายร้อยสายพันธุ์ แต่ที่เรานิยมนำมาบริโภคหรือกล่าวได้ว่ามีผลต่อเศรษฐกิจนั้นมีอยู่สองสายพันธุ์คือ อราบิก้าและโรบัสต้า สำหรับประเทศไทยนั้น กาแฟ จำนวน 90 เปอร์เซ็นต์เป็นพันธุ์โรบัสต้า ที่ปลูกทางภาคใต้ของประเทศ

โรบัสต้า (Robusta: Coffea Canephora) เป็นพันธุ์ที่ทนต่อโรค แต่มีรสชาติกระด้างกว่าและไม่อ่อนละมุนเหมือนพันธุ์อราบิก้า มี Body สูง มีสารคาเฟอีนมากกว่าพันธุ์อราบิก้า คือมีจำนวนประมาณ 2 ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ต่อเมล็ด สามารถปลูกได้ในพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงระดับเหนือน้ำทะเล ประมาณ 2,000 ฟุต ในประเทศไทยปลูกมากในภาคใต้ เช่น จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง และจังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นต้น สำหรับในตลาดโลก กาแฟโรบัสต้าถือว่าเป็นกาแฟที่มีคุณภาพต่ำ

เมล็ดดิบมีราคาไม่สูงนัก เนื่องจากวิธีการผลิตและเมล็ดที่ใช้ผลิตกาแฟพันธุ์โรบัสต้านั้น มักไม่เป็นที่ยอมรับในตลาดกาแฟชนิดพิเศษ แต่อย่างไรก็ตามผลผลิตเกือบทั้งหมดของกาแฟพันธุ์โรบัสต้ามักถูกนำไปผลิตเป็นกาแฟสำเร็จรูป ซึ่งจะมีมูลค่าในตลาดเครื่องอุปโภคบริโภคสูง การผลิตกาแฟโรบัสต้าจึงมีการผลิตเพื่อป้อนสู่ตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้ได้พันธุ์กาแฟ
โรบัสต้าที่ให้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและภาคอุตสาหกรรม จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงพันธุ์กาแฟโรบัสต้าขึ้น โดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ซึ่งมีปิยะนุช นาคะ เป็นหัวหน้าโครงการ ดังรายละเอียด (ปิยะนุช นาคะ, ปิยะมาศ ศรีรัตน์ และ อรพิน ภูมิภมร, 2550)
โครงการวิจัย 11 การทดลอง
1. คัดเลือกพันธุ์กาแฟโรบัสต้า
2. เปรียบเทียบพันธุ์กาแฟโรบัสต้า ชุดที่ 1
3. คัดเลือกพันธุ์กาแฟโรบัสต้า เมล็ดใหญ่
4. การเปรียบเทียบพันธุ์กาแฟโรบัสต้า ชุดที่ 4 จากประเทศมาเลเซีย
5. การเปรียบเทียบพันธุ์กาแฟโรบัสต้า ต่างประเทศ ชุดที่ 3 จำนวน 12 สายพันธุ์
6. การเปรียบเทียบพันธุ์กาแฟโรบัสต้า ชุดที่ 5 จำนวน 15 สายพันธุ์
7. การเปรียบเทียบพันธุ์กาแฟโรบัสต้าสาย พันธุ์ต่างประเทศ ชุดที่ 2 จำนวน 13 สายพันธุ์
8. การทดสอบพันธุ์กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ดีใน สภาพพื้นที่ต่างๆ
9. การเปรียบเทียบพันธุ์กาแฟโรบัสต้า ชุดที่ 6 จำนวน 6 สายพันธุ์
10. ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตต้นอ่อน กาแฟพันธุ์โรบัสต้าที่เหมาะสมจากการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
11. ศึกษาคุณภาพการชิมรส เคมี กายภาพ ของกาแฟโรบัสต้าพันธุ์ต่างๆ
การดำเนินงาน
1. คัดเลือกพันธุ์ที่เก็บจากแปลงเกษตรกร

– ปี พ.ศ. 2532 ถึง 2544 ศึกษาและคัดเลือกพันธุ์ได้ 3 สายพันธุ์ คือ 1/11, 1/13 และ 1/16
– ปี พ.ศ. 2546 ถึง 2548 เสนอเป็นพันธุ์แนะนำ 1 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ 1/11
– ปี พ.ศ. 2549 ถึง 2553 ศึกษาและคัดเลือกพันธุ์ ได้พันธุ์ที่มีแนวโน้มที่ดีคือ พันธุ์พะโต๊ะ เบอร์ 1, 5, 6 และ 9 พันธุ์เมล็ดใหญ่ เบอร์ 2, 16, 19, 28, 30, 42, 49 และ 69

2. ทดสอบพันธุ์ต่างประเทศ

– ปี พ.ศ. 2542 ถึง 2549 ทดสอบและคัดเลือกพันธุ์ได้ 7 พันธุ์ พันธุ์ที่ได้ผลผลิตสูง คือ

1) FRT65, FRT27, FRT11, FRT17 และ FRT10
2) FRT09 และ FRT68

– ปี พ.ศ. 2550 ถึง 2551 เสนอเป็นพันธุ์แนะนำ 2 พันธุ์คือ พันธุ์ FRT65 และ FRT17
– ปี พ.ศ. 2552 ถึง 2553 เสนอเป็นพันธุ์แนะนำ 2 พันธุ์คือ พันธุ์ FRT09 และ FRT68

ผลดำเนินงาน
1. สายพันธุ์ 1/11

1.1 ให้ผลผลิตเมล็ดแห้งเฉลี่ย ระยะเวลา 9 ปี จำนวน 3.94 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี สูงกว่า
พันธุ์เกษตรกรปลูกทั่วไป 73.80 เปอร์เซ็นต์

2.2 เมล็ดได้มาตรฐาน จำนวน 17.95 กรัมต่อ 100 เมล็ดแห้ง

3.3 การทดสอบคุณภาพการชิม จัดอยู่ใน Classs 7.2 4. มีค่า Extractability 53.73 เปอร์เซ็นต์ และคาเฟอีน 2.01 เปอร์เซ็นต์ ในการศึกษาและคัดเลือกพันธุ์ที่ได้มีการเก็บรวบรวมภายในประเทศนั้น สามารถคัดเลือกได้พันธุ์กาแฟที่มีแนวโน้มว่าจะใช้เป็นพันธุ์ปลูกได้ จำนวน 12 หมายเลข คือ สายพันธุ์พะโต๊ะ หมายเลข 1, 5, 6 และ 9 และสายพันธุ์เมล็ดใหญ่ หมายเลข 12, 16, 19, 28, 30, 42, 49 และ 69

2. สายพันธุ์ FRT 65

2.1 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ 73.7 เปอร์เซ็นต์ คือ เฉลี่ย 4 ปี (ปี พ.ศ. 2545/ 2546 ถึง 2548/2549) จำนวน 349.3 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
2.2 ขนาดเมล็ดได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ คือ มีน้ำหนัก 16.2 กรัมต่อ 100 เมล็ด
2.3 การทดสอบคุณภาพการชิมเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ โดยจัดอยู่ใน Class 7.2 4. มีเปอร์เซ็นต์สารสกัดเนื้อกาแฟและเปอร์เซ็นต์คาเฟอีนสูง คือ 57.37 และ 2.44
เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

3. สายพันธุ์ FRT 17

3.1 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ 55.8 เปอร์เซ็นต์ คือ เฉลี่ย 4 ปี (พ.ศ. 2545/ 2546 ถึง 2548/2549) จำนวน 207.8 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
3.2 อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ระยะเวลา 9 เดือน และเก็บเกี่ยวหมดก่อนพันธุ์อื่นๆ จำนวน 1 ถึง 2 เดือน
3.3 การทดสอบคุณภาพการชิมเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ โดยจัดอยู่ใน Class 7.2 4. มีเปอร์เซ็นต์สารสกัดเนื้อกาแฟและเปอร์เซ็นต์คาเฟอีนสูง 57.22 และ 2.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

4. สายพันธุ์ FRT 09

4.1 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองเฉลี่ยระยะเวลา 4 ปี ของการเก็บเกี่ยว (พ.ศ. 2546/ 2547 ถึง 2549/2550) จำนวน 3.7 เท่า คือ 469 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
4.2 ขนาดเมล็ดได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ คือ 15.97 กรัมต่อ 100 เมล็ดแห้ง
4.3 อัตราการเปลี่ยนจากผลสดเป็นเมล็ดกาแฟสารค่อนข้างสูง เฉลี่ย 4 ปี 23.78 เปอร์เซ็นต์

5. สายพันธุ์ FRT 68

5.1 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองเฉลี่ยระยะเวลา 4 ปี ของการเก็บเกี่ยว (พ.ศ. 2546/ 2547 ถึง 2549/2550) จำนวน 3.4 เท่า คือ 431 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
5.2 ขนาดเมล็ดได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ คือ 17.3 กรัมต่อ 100 เมล็ดแห้ง
5.3 อัตราการเปลี่ยนจากผลสดเป็นเมล็ดกาแฟสารค่อนข้างสูง เฉลี่ย 4 ปี 25.11 เปอร์เซ็นต์

 

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก
ดิน 
ดินสำหรับปลูกกาแฟนั้นสิ่งที่สำคัญคือ มีการถ่ายเทอากาศและระบายน้ำได้ดี ไม่ควรเป็นพื้นที่มีการท่วมขังของน้ำ ดินที่ปลูกหากถือว่าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์   ควรจะเป็นดินเหนียวที่มีธาตุโปแตสเซียม ซึ่งถือเป็นดินที่ดีที่สุด และความเป็นกรดเป็นด่างของดินควรอยู่ระหว่าง 4.5 ถึง 6.5

ภูมิอากาศ

อุณหภูมิ เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของกาแฟ  กาแฟแต่ละพันธุ์จะมีความต้องการอุณหภูมิที่แตกต่างกันไป  กล่าวคือกาแฟอาราบิกา สามารถเจริญเติบโตได้ดีระหว่างอุณหภูมิ 15 ถึง 26 องศาเซลเซียส  และกาแฟโรบัสตาจะเจริญเติบโตได้ดีระหว่างอุณหภูมิ 25 ถึง 32 องศาเซลเซียส

ปริมาณฝนและความชื้น 

ความชื้นของอากาศที่ต้องการสำหรับการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ของกาแฟแต่ละพันธุ์ที่แตกต่างกันไป กล่าวคือกาแฟอาราบิกาต้องการความชื้นอยู่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกาแฟโรบัสต้าต้องการความชื้นประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างไรก็ตามความชื้นที่ต่ำกว่าปกติที่กล่าวมาเรียกว่าช่วงแล้ง ถือว่าจำเป็นสำหรับกระตุ้นการเกิดตาดอก และหลังจากนั้นความชื้นที่สูงจำเป็นสำหรับการแตกดอกออกผลต่อไป

น้ำฝนเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความชื้น  เพราะส่วนใหญ่แล้วสวนกาแฟจะอาศัยปริมาณน้ำฝนเป็นหลักมากกว่าระบบชลประธานหรือการให้น้ำ  ในพื้นที่ปลูกกาแฟจะต้องมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,500-2,300 มิลลิเมตรต่อปี การรักษาความชื้นในดินในพื้นที่แห้งแล้งกระทำโดยการใช้วัสดุคลุมดินเป็นสิ่งจำเป็นในบางครั้ง โดยเฉพาะในระยะการออกดอกติดผล และการพัฒนาของผล

ปริมาณแสง 

กาแฟแต่ละชนิดจะทนทานต่อสภาพแสงแดดที่แตกต่างกันไป  ร่มเงาในพื้นที่และแสงแดดจัดจึงเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะกับต้นกาแฟที่ยังเล็กอยู่ แต่เมื่อต้นกาแฟโตขึ้นแล้วและให้ผลผลิต หากได้รับแสงมากจะให้ผลผลิตสูง แต่ปัจจัยด้านปุ๋ยและน้ำต้องพร้อมด้วย เพราะถือเป็นองค์ประกอบที่ต้องไปด้วยกัน
                
สรุปสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

  • ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง
  • มีความเป็นกรดเป็นด่าง ระหว่าง 4.5 ถึง 6.5
  • อุณหภูมิที่เหมาะสม 25 ถึง 32 องศาเซลเซียส
  • ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
  • มีช่วงแล้ง ระยะเวลานาน 8 ถึง 10 สัปดาห์ เพื่อชักนำให้เกิดตาดอกการปลูก

 

การปลูกและการดูแลรักษา
          ระยะปลูกระหว่างต้นและแถว  ระยะ 3 ถึง 4 x 3 เมตร อายุต้นกล้า 6 ถึง 14 เดือน และควรมีการทำร่มเงาชั่วคราวหรือปลูกพืชให้ร่มเงา เช่น สะตอ แค กระถิน เป็นพืชร่วมด้วย

การเตรียมพื้นที่

พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกกาแฟควรเป็นพื้นที่ที่มีความสูง ประมาณ 800 ถึง 12,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีความลาดชันไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ และต้องทำการกำจัดวัชพืชโดยการถางให้โล่ง การโค่นล้มพืชพรรณเก่าในพื้นที่ อาจจะโค่นล้มแบบเหลือตอ หรือโค่นล้มแบบถอนราก การโค่นล้มอาจจะเว้นต้นไม้เก่าไว้บ้างเพื่อใช้เป็นไม้ร่มเงา ซึ่งต้องพิจารณาถึงความจำเป็นของไม้ร่มเงาด้วย หลังจากโค่นล้มต้องมีการกำจัดพืชพรรณเก่าในแปลงโดยการกองแล้วเผาให้สะอาด เตรียมทำแนวระดับ การเตรียมพื้นที่ส่วนมากเริ่มเตรียมในช่วงฤดูแล้ง เพื่อให้พร้อมสำหรับปลูกกาแฟในฤดูฝนที่จะมาถึง (ประมาณเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ชั้นดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร มีความเป็นกรดด่าง 5.5  ถึง 6.5 และสามารถระบายน้ำได้ดี

การเตรียมต้นกล้ากาแฟ  

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมต้นกล้า

  • เตรียมแปลงเพาะเมล็ดกาแฟโดยใช้ทรายผสมกับขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1 ต่อ 1 เกลี่ยลงในกระบะหรือแปลงที่สามารถระบายน้ำได้ดี ซึ่งแปลงเพาะเมล็ดนี้ควรอยู่ในโรงเรือนที่มีหลังคาบังแดดให้แสงเข้าได้ 50 เปอร์เซ็นต์ และปราศจากสัตว์เลี้ยงเข้าไปขุดคุ้ย รบกวน
  • นำเมล็ดพันธุ์กาแฟที่แช่น้ำผสมยาฆ่าเชื้อรา เช่น สารประกอบทองแดง แช่ไว้เป็นเวลา 1 คืนมาเพาะลงในแปลงที่เตรียมไว้ โดยใช้ไม้กดเป็นร่องห่างกันประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วโรยเมล็ดลงไป
    หมายเหตุ: เมล็ดพันธุ์กาแฟที่ใช้ควรเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ดี มาจากต้นแม่ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้  มีอัตราการงอกสูง (เมล็ดไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 6 เดือน)
  • รดน้ำอย่างสม่ำเสมอจนเมล็ดงอกขึ้นมา ระยะเวลาจากการที่มีเมล็ดงอกขึ้นมาเป็นระยะหัวไม้ขีด ใช้เวลาประมาณ 30 ถึง 45 วัน และระยะที่มีใบเลี้ยงหรือระยะปีกผีเสื้อ ใช้เวลาประมาณ 46 ถึง 60 วัน ให้ทำการถอนต้นกาแฟไปปลูกต่อในถุงพลาสติกที่เตรียมไว้

ขั้นตอนที่ 2 เตรียมถุงพลาสติกใส่ดิน

ส่วนผสมของดินที่จะนำมาบรรจุถุงมีดังนี้

  • หน้าดินดำ จำนวน 5 ปี๊บ (หากไม่มีหน้าดินดำใช้ดินร่วน ทรายหยาบ และขี้เถ้าแกลบชนิดละ 1 ส่วน)
  • ปุ๋ยคอก จำนวน 1 ปี๊บ
  • ปูนขาว (โดโลไมท์) จำนวน 200 กรัม
  • หินฟอสเฟต (0-3-0)  จำนวน 200 กรัม
  • ฟูราดาน จำนวน 25 กรัม
ขั้นตอนในการทำ มีดังนี้
  • นำส่วนผสมมากองเป็นชั้นๆ ไล่จากส่วนผสมที่มีปริมาณมากที่สุดไปไปหาปริมาณน้อยที่สุด (ดิน > ปุ๋ยคอก > ปูนขาว > หินฟอสเฟต > ฟูราดาน ตามลำดับ) นำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
  • เตรียมถุงพลาสติกสีดำสำหรับใช้เพาะกล้า  โดยขนาดถุง กว้าง 7 นิ้ว สูง 10 นิ้ว (ถุง
ไม่พับ) หรือกว้าง 4 นิ้ว สูง 10 นิ้ว (ถุงพับที่ก้น) เจาะรูระบายน้ำ จำนวน 3 แถว โดยให้แถวแรกห่างจากก้นถุงประมาณ 2 ถึง 3 นิ้ว
  • นำดินที่ผสมแล้วไปบรรจุในถุงให้แน่นและใส่ให้เต็มจนถึงปากถุง เท่ากับจำนวนกล้าที่เพาะเมล็ดไว้ นำไปเรียงไว้ในเรือนเพาะชำ แล้วถอนต้นกล้าที่งอกจากเมล็ดที่เพาะไว้ในระยะหัวไม้ขีด ถึงระยะปีกผีเสื้อนำมาในถุงพลาสติก
หมายเหตุ: หากต้นกล้าแก่เกินไปจนเกิดใบจริงและจะทำให้รากยาวเกินไป ก่อให้เกิดปัญหารากคดงอระหว่างย้าย และส่งผลต่ออัตราการรอดชีวิตต่ำ
  • ให้น้ำสม่ำเสมอเช้าและเย็น จนต้นกล้าเจริญเติบโต ซึ่งใช้ระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 8 ถึง 12 เดือน โดยต้นกล้าที่ดีจะต้องมีลักษณะต้นตรง มีความแข็งแรง ทุกข้อมีจำนวนใบอยู่ครบ  ไม่มีโรคและแมลงเข้าทำลาย มีความสูงประมาณ 45 เซนติเมตร มีจำนวนข้อประมาณ 6 ถึง 8 ข้อ (มีใบ 6 ถึง 8 คู่)
  • ต้นกล้าที่พร้อมจะนำไปปลูก จะต้องผ่านการทดสอบให้ได้รับแสงแดดมากขึ้นประมาณ 1 เดือนก่อนนำไปปลูก เพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรงและมีอัตรารอดตายสูงเมื่อนำไปปลูกลงในแปลง

การปลูก 

การปลูกกาแฟโดยทั่วไปจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมและความต้องการของผู้ปลูกเองหลักการโดยทั่วไปคือ การกำหนดระยะปลูก ประชากรที่เหมาะสมของกาแฟที่จะให้ผลผลิตที่ดี จะอยู่ประมาณ 150 ถึง 200 ต้นต่อไร่แต่สามารถที่จะเพิ่มหรือลดจำนวนกว่าปกติได้ ขึ้นกับวิธีการปลูกดังนี้ คือหากจะเพิ่มจำนวนให้มากกว่านี้ การตัดแต่งต้นกาแฟจำเป็นจะต้องออกแบบให้เหมาะสมเพื่อให้ต้นกาแฟสามารถรับแสงเต็มที่ในการติดดอกออกผล บางครั้งจะต้องตัดทั้งต้นสลับแถวเพื่อให้เกิดช่องว่างในพื้นที่  แล้วต้องเลี้ยงต้นใหม่จนอายุ ประมาณ 3 ปีก็จะออกดอกติดผลอีก แต่ก็ต้องตัดต้นกาแฟในแถวใกล้เคียงกันออกเพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับต้นใหม่เช่นกัน โดยมีหลักการว่าต้นกาแฟจะติดดอกออกผลเมื่อต้นมีอายุประมาณ 3 ปีและต้นกาแฟที่อายุมากขึ้นจะให้ผลผลิตลดลงและการจัดการจะยุ่งยากมากขึ้น ดังนั้นการจัดการวิธีการปลูกจะต้องวางแผนให้แน่นอนและชัดเจน

การปลูกส่วนมากแล้วจะมาจากต้นกล้าที่ชำในถุงพลาสติก  ดังนั้นก่อนที่จะนำลงปลูกในหลุมจำเป็นที่จะต้องนำถุงพลาสติกออกเสียก่อน แล้วนำมาวางในหลุมที่ขุดให้มีขนาดพอใส่ถุงลงได้ และระมัดระวังอย่าให้รากแก้งคดงอ หลังจากนั้นนำดินมาใส่ให้เต็มโคนต้นและกดรอบๆ โคนต้นให้ดินแน่น ในกรณีที่ปลูกจากต้นกล้าที่ชำในแปลง และมีการถอนรากควรเลือกช่วงปลูกที่มีฝนตกสม่ำเสมอ หากฝนไม่ตกควรรดน้ำจนกว่าต้นกล้าจะตั้งตัวได้

ไม้ร่มเงา เป็นวิธีการที่นิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงาแก่ต้นกาแฟในระยะแรก และมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน โดยไม้บังร่มกาแฟแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ไม้บังร่มเงาชั่วคราว และไม้บังร่มเงาถาวร โดยไม้ร่มเงาชั่วคราว ได้แก่ พืชล้มลุก เช่น ข้าวโพด ปอเทือง กล้วย เป็นต้น ส่วนไม้ร่มเงาถาวร ได้แก่ ไม้ยืนต้น เช่น สะตอ ทองหลาง มะพร้าว แค ขี้เหล็ก เป็นต้น แต่การปลูกไม้ร่มเงานั้นควรมีการจัดการตัดแต่งไม้ร่มเงา เพื่อให้ต้นกาแฟได้รับแสงที่เหมาะสมเพื่อการติดดอกออกผลที่เต็มที่ด้วย เพราะบางครั้งหากการจัดการไม่ดี ไม้ร่มเงาจะเป็นตัวต้นเหตุของการทำให้ผลผลิตกาแฟลดลงได้เพราะจะเป็นการบังต้นกาแฟมากเกินไป และอาจจะแย่งน้ำและอาหารจากต้นกาแฟได้

 

ระยะห่างของการปลูก 

ระยะปลูกที่เป็นมาตรฐาน คือ ระยะ 3 x 3 เมตร จะได้ปริมาณต้นกาแฟ จำนวน 177 ต้นต่อไร่ การปลูกที่มีการวางแผนจะเป็นการปลูกในลักษณะตัดเป็นแถว เรียกว่าการปลูกแบบฮาวาย ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องจัดระยะชิดกว่าที่กล่าวมา  ดังนั้นการเตรียมหลุมปลูก  หากมีการไถพรวนอย่างดีก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขุดหลุมให้มีขนาดกว้างมากนัก แต่หากไม่มีการไถพรวนจำเป็นที่จะต้องขุดหลุม ให้มีขนาดกว้าง 50 x 50 x 50 เซนติเมตร แล้วทำการกลบหลุม  ในขณะที่มีการเริ่มปลูกควรใส่ปุ๋ย Rock Phosphate (ปุ๋ยรองหลุม) จำนวนประมาณ 200 กรัมต่อหลุม

การให้น้ำ 

พื้นที่ปลูกกาแฟที่เหมาะสม  ส่วนใหญ่จะอยู่บนพื้นที่ที่มีความสูงในระดับตั้งแต่ 700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ซึ่งจะอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ  โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 1,500 มิลลิเมตร และมีการกระจายของฝนตั้งแต่ระยะเวลา 5 ถึง  8 เดือน ในรอบ 1 ปี นอกจากนั้นยังมีสภาพอากาศหนาวเย็น และมีความชื้นสูง จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องอาศัยระบบการให้น้ำกับต้นกาแฟ และหากปลูกกาแฟร่วมกับไม้ผลยืนต้น หรือปลูกกาแฟภายใต้สภาพร่มเงาร่วมกับไม้ป่าโตเร็ว รวมถึงการคลุมโคนต้นก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ปลูกไม่ต้องพึ่งพาระบบชลประทาน

การตัดแต่งกิ่ง 

การตัดแต่งแบบต้นเดี่ยวของอินเดีย (Indian Single Stem Pruning) หรือการตัดแต่งแบบทรงร่ม (Umbrella) เป็นวิธีการตัดแต่งกิ่งที่ใช้กับกาแฟโรบัสต้าที่ปลูกภายใต้สภาพร่มเงา โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เมื่อต้นกาแฟเจริญเติบโตจนมีความสูง 90 เซนติเมตร ต้องตัดยอดให้เหลือความสูงเพียง 75 เซนติเมตร
  2. เลือกกิ่งแขนงที่ 1 (Primary Branch) ที่อ่อนแอทิ้ง จำนวน 1 กิ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ยอดฉีกบริเวณส่วนกลางของกิ่งและต้องหมั่นตัดยอดที่จะแตกออกมาจากโคนกิ่งแขนงของลำต้นทิ้งทุกยอด และกิ่งแขนงที่ 1 จะให้ผลผลิตในระยะเวลา 2 ถึง 3 ปีก็จะแตกกิ่งแขนงที่ 2 (Secondary Branch) ส่วนกิ่งแขนงที่ 3 (Terriary Branch) และกิ่งแขนงที่ 4 (Quarternary Branch) ให้ผลผลิตช่วงระยะเวลา 1 ถึง 8 ปี
  3. เมื่อต้นกาแฟให้จำนวนผลผลิตลดลง จะต้องปล่อยให้มีการแตกยอดออกมาใหม่ 1 ยอดจากโคนของกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่สูงสุดหรือถัดลงมา และเมื่อยอดสูงไปถึงระดับ ความสูง 170 เซนติเมตร ตัดให้เหลือความสูงเพียง 150 เซนติเมตรโดยการตัดกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่สูงสุดให้เหลือเพียง 1 กิ่ง ซึ่งจะสามารถให้ผลผลิตต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 8 ถึง 10 ปี
                การตัดแต่งแบบหลายลำต้น (Multiple stem pruning system) วิธีการนี้จะใช้กับต้นกาแฟโรบัสต้าที่ปลูกอยู่บริเวณกลางแจ้ง โดยจะทำให้เกิดต้นกาแฟหลายลำต้น มาจากโคนต้นที่ถูกตัด แต่คัดเลือกเหลือเพียงลำต้น 2 ลำต้น ซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
  1. เมื่อต้นกาแฟมีความสูงถึง 69 เซนติเมตร ให้ทำการตัดยอดให้เหลือความสูงเพียง 53 เซนติเมตร  หากเหนือพื้นดินมียอดแตกออกมาจากข้อโคนกิ่งแขนงที่ 1 จากคู่ที่อยู่บนสุด 2 ยอด จะต้องตัดกิ่งแขนงที่ 1 ทิ้งทั้ง 2 ข้าง
  2. ปล่อยให้ยอดทั้ง 2 ยอด เจริญเติบโตขึ้นไปทางด้านบน ในขณะเดียวกันกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่ต่ำกว่าความสูง 53 เซนติเมตร จะเริ่มให้ผลผลิต
  3. กิ่งแขนงที่ 1 ซึ่งอยู่ต่ำกว่าความสูง 53 เซนติเมตร จะถูกตัดทิ้งไปหลังจากที่ให้ผลผลิตแล้ว ในขณะเดียวกันกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่ระดับล่างๆ ของลำต้นทั้งสองก็เริ่มให้ผลผลิต
  4. ต้นกาแฟที่เจริญเติบโตเป็นลำต้นใหญ่  2 ลำต้น จะสามารถให้ผลผลิตอีก จำนวน 2 ถึง 4 ปี และขณะเดียวกันก็จะเกิดหน่อขึ้นมาเป็นลำต้นใหม่อีกบริเวณโคนต้นกาแฟเดิม และควรปล่อยหน่อที่แตกใหม่ให้เจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ และตัดให้เหลือเพียง 3 ลำต้น
  5. ให้ตัดต้นกาแฟเก่าทั้ง 2 ต้นทิ้งและเลี้ยงหน่อใหม่ที่เจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ ซึ่งสามารถให้ผลผลิตได้อีก จำนวน 2 ถึง 4 ปี แล้วจึงทำการตัดต้นเก่าเพื่อให้แตกต้นใหม่อีก

การคลุมโคนต้นกาแฟ 

การคลุมโคนต้นกาแฟมีประโยชน์มาก  โดยเฉพาะในช่วงที่สวนกาแฟต้องประสบกับภาวะแห้งแล้ง เป็นการช่วยไม่ให้ต้นกาแฟทรุดโทรมหรืออาจจะตายได้ เนื่องจากขาดความชื้นในอากาศและในดิน นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันวัชพืชที่จะงอกในแปลงกาแฟในขณะที่ทรงพุ่มกาแฟยังไม่ชิดกัน และยังเป็นการป้องกันการพังทลายของดินเมื่อเกิดฝนตกหนัก แต่มีข้อควรระวังในการคลุมโคนต้น คืออาจจะกลายเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลงศัตรูกาแฟ ดังนั้นการคลุมโคนต้นกาแฟควรจะคลุมโคนต้นให้ห่างจากต้นกาแฟประมาณ 10 ถึง 20 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงศัตรูกาแฟกัดกะเทาะเปลือกกาแฟได้ หรือไม่ให้เกิดอันตรายกับโคนต้นกาแฟในระหว่างที่วัสดุคลุมโคนเกิดการย่อยสลายได้  โดยคลุมโคนต้นให้มีความกว้าง 1 เมตรและหนาไม่ต่ำกว่า 10 เซนติเมตร

การปราบวัชพืชและการใส่ปุ๋ย

ควรมีการปราบวัชพืชทุกครั้งก่อนการใส่ปุ๋ย โดยอาจจะใช้ยาปราบวัชพืชหรือการถากถางตามระยะเวลาและความเหมาะสม และการใส่ปุ๋ยก็เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งของการปลูกกาแฟ จะต้องพิจารณาทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองว่าต้องเพียงพอกับต้นกาแฟ  ซึ่งจะสังเกตลักษณะของใบได้ ซึ่งมีรายละเอียดมากมายเกินที่จะกล่าวในที่นี้ แต่สูตรปุ๋ยที่ใช้โดยทั่วไป มักจะเป็นสูตรที่มีการมีความนิยม คือ สูตร 15-15-15 หรือสูตร 16-16-16 เป็นต้น วิธีการใส่ปุ๋ยนั้นจะใส่โดยการโรยลงบนดินเป็นลักษณะวงกลมรอบทรงพุ่ม โดยใส่ปุ๋ยในปีที่ 1 ถึง 3 ส่วนต้นกาแฟที่ยังไม่ให้ผลผลิต  ควรใส่ระยะเวลาประมาณ  2 ถึง 3 ครั้งต่อปี โดยใส่ครั้งละประมาณ 100 ถึง 300 กรัมต่อต้น  และควรมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพิ่มด้วยเพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดินควบคู่กันไปด้วย

การขยายพันธุ์

         การขยายพันธุ์กาแฟที่ปลูกเพื่อวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจ ที่มีกระทำกันปัจจุบันคือการเพาะเมล็ด โดยมีวิธีการพอสังเขป คือการนำผลกาแฟที่สุกเต็มที่มาแกะเอาเมล็ดออก และให้นำเฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์เท่านั้นไปเพาะเพื่อขยายพันธุ์

การเพาะเมล็ด ทำได้โดยวิธีการนำเมล็ดที่ได้ล้างไว้สะอาดแล้ว  มาเรียงในกระบะเพาะเมล็ดที่มีวัสดุปลูกที่สมบูรณ์ (วัสดุดินเพาะ) โดยปิดเมล็ดและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ จนระยะเวลาประมาณ  50 ถึง 60 วันเมล็ดกาแฟก็จะเริ่มงอก มีขนาด 1 ถึง 2 คู่ใบ จากนั้นให้ถอนต้นออกและนำไปเพาะต่อในถุงพลาสติกที่ได้บรรจุดินไว้หรือนำไปเพาะในแปลงเพาะที่เตรียมดินไว้  โดยปลูกให้มีระยะ ประมาณ 30 X 100 เซนติเมตร   และรดน้ำให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ จนอายุได้ประมาณ 1 ถึง 1 ปีครึ่ง (มีใบอย่างน้อย 7 คู่ใบ) ก็สามารถนำไปปลูกในแปลงได้

โรคกาแฟ
โรคราสนิม (Coffee Leaf Rust)
C:\Documents and Settings\ploy\Desktop\งาน N'1\ส่ง\ราสนิม.jpg
เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Helmileia vastatrix ทำความเสียหายร้ายแรงแก่กาแฟอาราบิก้ามานานกว่าร้อยปี

ลักษณะอาการของโรค 

โรคราสนิมสามารถเกิดกับใบกาแฟพันธุ์อาราบิก้าทั้งใบแก่และใบอ่อน  ทั้งในระยะที่เป็นต้นกล้าในเรือนเพาะชำและต้นโตในแปลง ลักษณะอาการครั้งแรกจะเห็นเป็นจุดสีเหลืองเล็กๆ ขนาด 3 ถึง  4 มิลลิเมตรบริเวณด้านในของใบ  และมักจะเกิดกับใบแก่ก่อน จุดสีเหลืองบนใบจะขยายโตขึ้นเรื่อยๆ สีของแผลจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีส้มหรือสีส้มแก่ เมื่ออายุมากขึ้นสีบนแผลจะมีผงสีส้ม ซึ่งเป็นยูรีโดสปอร์ของเชื้อรา บริเวณด้านบนของใบซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจุดที่เป็นโรค จากนั้นใบกาแฟพันธุ์อาราบิก้าจะร่วง ต้นโกร๋น และกิ่งจะแห้งในเวลาต่อมา ต้นที่เป็นโรครุนแรงใบจะร่วงเกือบหมดต้น

การป้องกันกำจัด

  1. ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดโรคราสนิมได้ เช่น บอร์โดซ์มิกซ์เจอร์ (Alkaline Bordeaux Mixture) 0.5 เปอร์เซ็นต์, คูปราวิท (Cupravit) 85 เปอร์เซ็นต์  W.P. ในอัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
  2. ใช้พันธุ์กาแฟที่ต้านทานต่อโรคราสนิม ได้แก่  กาแฟอาราบิก้าพันธุ์คาติมอร์ CIFC 7960,
    พันธุ์คาติมอร์ CIFC 7961, พันธุ์คาร์ติมอร์ CIFC 7962 และพันธุ์คาติมอร์ CIFC 7963
โรครากขาว (White root disease )
C:\Documents and Settings\ploy\Desktop\งาน N'1\ส่ง\R_เส้นใยสีขาว.jpg

         เชื้อราโรครากขาวสามารถเข้าไปทำลายรากของต้นกาแฟได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป โดยในระยะเริ่มแรกจะมองไม่เห็นลักษณะผิดปกติบริเวณส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน แต่เมื่อส่วนรากถูกทำลายเสียหายจนไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารได้  จึงจะแสดงอาการใบเหลืองและใบร่วง สำหรับต้นเล็กที่เป็นโรค พุ่มใบทั้งหมดจะมีสีเหลืองผิดปกติ  หากเป็นต้นใหญ่พุ่มใบบางส่วนจะดูเสมือนว่าแก่จัดและมีสีเหลือง ซึ่งจะแตกต่างกับสีเขียวเข้มของพุ่มใบของต้นที่สมบูรณ์อย่างเห็นได้ชัด

เชื้อสาเหตุ

เกิดจากเชื้อรา Rigidoporus lignosus (Klotzsch) imazeki

ลักษณะอาการของโรค 

เมื่อระบบรากของต้นกาแฟถูกทำลายมากขึ้น จะแสดงอาการให้เห็นที่ทรงพุ่ม ซึ่งเป็นระยะที่รุนแรงและไม่สามารถรักษาได้ บริเวณรากที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะปรากฏกลุ่มเส้นใยสีขาวเจริญเติบโตและแตกสาขาปกคลุมและเกาะติดแน่นกับผิวราก เมื่อเส้นใยมีอายุมากขึ้นจะกลายเป็นเส้นกลมนูนสีเหลืองซีด เนื้อไม้ของรากที่เป็นโรคในระยะแรก จะมีลักษณะแข็งกระด้างและเป็นสีน้ำตาลซีด ในระยะรุนแรงจะกลายเป็นสีครีม  หากอยู่ในที่ชื้นแฉะรากจะมีลักษระอ่อนนิ่ม  ดอกก็จะมีลักษณะเป็นแผ่นครึ่งวงกลมแผ่นเดียวหรือซ้อนกันเป็นชั้นๆ ส่วนผิวด้านบนจะเป็นสีเหลืองส้ม โดยมีสีเข้มอ่อนเรียงสลับกันเป็นวง และผิวด้านล่างจะเป็นสีส้มแดงหรือสีน้ำตาล ส่วนขอบดอกเห็ดเป็นสีขาว

การป้องกันกำจัด

  1. ทำการขุดตอพืชเดิมให้มากที่สุดและขุดพืชที่เป็นโรคออก
  2. หลุมปลูกควรตากแดดระยะเวลา1ถึง2เดือน(เฉพาะหลุมที่เป็นโรค)
  3.  อาจใช้สารเคมี Propiconazole หรือ Triabimenol
               
 
โรคเน่าคอดิน (Collar Rot หรือ Damping off)
C:\Documents and Settings\ploy\Desktop\งาน N'1\ส่ง\pytophthorapar.jpg

         โรคนี้จะเกิดในระยะกล้าขณะอายุ 1 ถึง 3 เดือนในแปลงเพาะชำ  สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคและความรุนแรงของโรคอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลักษณะของแปลงเพาะกล้าที่มีการระบายน้ำไม่สะดวก การเพาะเมล็ดซ้ำในแปลงเดิมติดต่อกันหลายครั้งโดยไม่เปลี่ยนวัสดุใหม่ หลังคาเรือนเพาะชำอาจจะทึบเกินไป ปริมาณของต้นกล้าที่งอกออกมาหนาแน่นเกินไป และประการสำคัญคือสภาพอากาศในช่วงที่ต้นกล้างอกมีความชื้นสูงสลับกับอากาศร้อน

เชื้อสาเหตุ 

เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani

ลักษณะอาการของโรค 

อาการของโรคเน่าคอดิน มีอยู่ 2 ระยะคือ

ระยะแรก  การเน่าของเมล็ดก่อนงอกคัพภะ (Embryo) และเอนโดสเปิร์ม (Endosperm) จะถูกเชื้อราซึ่งอยู่ในดินเข้าทำลาย ทำให้เมล็ดเน่าและแตกออก

ระยะที่สอง การเน่าของเมล็ดหลังจากกล้ากาแฟงอกออกจากเมล็ด และโผล่ขึ้นมาเหนือดินแล้ว เชื้อราอาจเข้าทำลายบริเวณโคนต้นที่อยู่เหนือพื้นดินหรือระดับผิวดิน  จะทำให้ต้นมีแผลสีน้ำตาลในระยะแรก ต่อมาจะเน่ากลายเป็นสีดำ และในที่สุดต้นกล้าจะเหี่ยวและตาย  เชื้อรา R.solani สามารถเข้าไปทำลายต้นกล้ากาแฟได้ทุกระยะหลังจากงอกขึ้นมาเหนือดิน ตั้งแต่ระยะเป็นลักษณะของหัวไม้ขีดซึ่งใบเลี้ยงคู่ยังไม่หลุดออกจากเมล็ดกาแฟ และระยะที่เป็นปีกผีเสื้อ  ซึ่งใบเลี้ยงคู่จะหลุดออกมาจากเมล็ดและเป็นปีกผีเสื้อ และในระยะที่กล้ากาแฟมีใบจริง 1 ถึง 2 คู่ หรือในกรณีที่ยังต้นกล้ายังอยู่ในแปลงและไม่ได้ย้ายลงถุง

การป้องกันกำจัด

  1. หน้าดิน (Top Soil) หรือวัสดุเพาะอื่นๆ ควรจะเป็นของใหม่ และไม่ควรนำของเก่ามาเพาะซ้ำ เพราะอาจจะมีเชื้อราสะสมอยู่ในวัสดุในปริมาณมากเกินไป
  2. ไม่ควรให้น้ำในแปลงเพาะมากเกินไปในแต่ละครั้ง เพราะอาจจะทำให้น้ำท่วมขังในแปลงได้ ระบบการระบายน้ำในแปลงควรจะดี
  3. การเพาะเมล็ดในแปลง ควรให้มีระยะห่างพอสมควรมิฉะนั้นเมื่อกล้างอกออกมาหนาแน่น จะต้องถอนทิ้งในภายหลัง
  4. ต้นกล้าที่เป็นโรคเน่าคอดิน ควรจะถอนทิ้งและเผาไฟ  และหลังจากนั้นจึงควรพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคแซบ (Mancozeb) 
โรครากเน่าแห้ง (Fusarium root disease)
C:\Documents and Settings\ploy\Desktop\งาน N'1\ส่ง\07-09-07sweetcornfusarium.jpg

โรครากเน่าแห้ง จะทำความเสียหายร้ายแรงแก่กาแฟพันธุ์อาราบิก้ามากกว่ากาแฟพันธุ์โรบัสต้า จะทำให้ต้นกาแฟตายภายในเวลาอันสั้น โรคนี้จะรุนแรงในสภาพพื้นที่ที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่าง อุณหภูมิสูงสุดและอุณหภูมิต่ำสุด และในสภาพที่มีอุณหภูมิของดินแตกต่างกันมากด้วยเช่นกัน ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์แปลงกาแฟที่ปลูกกลางแจ้งและรากหรือโคนต้นที่อยู่ใต้ผิวดินจะเกิดแผล ทำให้เชื้อราสามารถเข้าทางแผลนั้น จากการตรวจสอบต้นกาแฟที่เป็นโรครากเน่า พบว่ามีต้นกาแฟจำนวนมากที่มีแผลที่เกิดจาก หนอนเจาะโคนต้นหรือควั่นโคนร่วมอยู่ด้วย

เชื้อสาเหตุ 

เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp.

ลักษณะอาการของโรค

ต้นกาแฟที่เป็นโรคจะมีใบสีเหลืองและเหี่ยว และในเวลาต่อมาใบจะร่วงและกิ่งที่อยู่เหนือดินแห้งตาย เมื่อถอนต้นกาแฟจากพื้นดิน ก็จะถอนขึ้นมาได้ง่ายมาก เพราะรากเน่าและแห้งตายไปแล้ว และเมื่อมีการปาดเปลือกของรากและโคนต้นกาแฟที่อยู่ใต้ดิน จะทำให้มีสีน้ำตาล สีน้ำตาลเทา และรากส่วนใหญ่จะแห้ง

การป้องกันและกำจัดโรค

  1. ถอนต้นกาแฟที่เป็นโรคเน่าแห้งเผาไฟ เพื่อทำลายแหล่งเพาะเชื้อ
  2. โรครากเน่าแห้งจะรุนแรงในสภาพการปลูกกาแฟกลางแจ้งนั้น ดังนั้น ควรปลูกไม้บังร่มให้กาแฟอาราบิก้าในแหล่งที่มีโรครากเน่าแห้งระบาด
  3. เอกสารต่างประเทศได้แนะนำให้ใส่ปูนขาวลงไปในดิน ในกรณีพบโรครากเน่าแห้งและทดสอบ pH ของดินพบว่าต่ำกว่า 5.5 
โรคใบจุดตากบ (Brown EYE SPOT)
C:\Documents and Settings\ploy\Desktop\งาน N'1\ส่ง\ae939e3l.jpg

โรคใบจุดตากบ เป็นโรคที่พบระบาดแพร่หลายทั่วไป ทั้งกับกาแฟอาราบิก้าและกาแฟโรบัสต้า ระบาดมากในระยะกล้าที่ปลูกในเรือนเพาะชำ ขาดการดูแลรักษาที่ถูกต้อง เมื่อนำกล้าที่เป็นโรคนี้ไปปลูกในแปลง หากขาดการบังร่มให้แก่ต้นปลูกใหม่ ในระยะแรก โรคใบจุดตากบก็จะทำความเสียหายกับใบรุนแรง จะพบใบที่เป็นโรคร่วง บ่อยครั้งที่พบต้นกาแฟ เป็นโรคใบจุดตากบภายใต้ร่มเงาที่ไม่เหมาะสม โรคนี้อาจพบได้ทุกฤดู แต่จะพบมากในฤดูแล้ง

เชื้อสาเหตุ 
เกิดจากเชื้อรา Cercospora coffeicola

ลักษณะอาการของโรค 

ใบกาแฟที่เป็นโรคจะมีลักษณะเป็นจุดกลมๆ ขนาด 3 ถึง 15 มิลลิเมตร จะมีสีน้ำตาลในระยะเริ่มแรก ต่อมาจุดนี้จะกลายเป็นสีเทาหรือสีเทาอ่อนไปจนถึงสีขาวบริเวณจุดกึ่งกลางของแผล  ขอบแผลจะมีสีน้ำตาลแดง และจะล้อมรอบด้วยวงสีเหลือง ส่วนบริเวณตรงกลางของแผลจะมีสีเทาและเห็นจุดเล็กๆ  สีดำกระจายอยู่ทั่วไป จุดเล็กๆ เหล่านี้คือกลุ่มของสปอร์และสปอร์ของเชื้อรา

เชื้อราชนิดนี้สามารถทำให้เกิดโรคกับผลกาแฟได้ โดยทำให้ผลกาแฟเน่าและมีสีดำ  ในระยะรุนแรงกาแฟจะมีสีดำและเหี่ยวย่น  และทำให้ผลร่วงก่อนสุกในบางครั้ง

การป้องกันกำจัด

 

  1. แปลงที่ปลูกกาแฟควรมีร่มเงาอย่างเพียงพอ และต้นกาแฟที่ปลูกใหม่ควรจะมีร่มเงาชั่วคราวอย่างเพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรงของโรค
  2. การให้ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเพียงพอ จะช่วยลดความรุนแรงของโรคในระยะต้นกล้าที่ปลูกในแปลงเพาะและแปลงปลูกได้
แมลงศัตรูกาแฟ
เพลี้ยหอยสีเขียว (Green Scale)Coccus Viridis Green (Homoptera: Coccidae)
C:\Documents and Settings\ploy\Desktop\งาน N'1\ส่ง\grenscaleADLT.jpg

เพลี้ยหอยสีเขียวเป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของกาแฟ  ในกลุ่มแมลงปากดูดขนาดเล็กด้วยกัน (Gilletal, 1977) ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายต้นกาแฟโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ใบอ่อน และเป็นเหตุให้ยอดและใบหงิกงอผิดปกติ ใบร่วง ต้นกาแฟชะงักการเจริญเติบโต และหากเกิดการระบาดในขณะที่กาแฟกำลังติดผล จะทำให้ผลอ่อนของกาแฟมีขนาดเล็กลง เมล็ดลีบและผลร่วง ผลผลิตเล็กลง ต้นกาแฟจะทรุดโทรมเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้เพลี้ยหอยสีเขียวยังขับถ่ายน้ำหวาน (Honey Dew) ขึ้นคลุมผิวใบ เป็นผลให้พื้นที่ในการสังเคราะห์แสงลดลง และทำให้ต้นกาแฟชะงักการเจริญเติบโต

การป้องกันกำจัด 

กระทำได้โดยการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงประเภทดูดซึม  โดยใช้คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์ 20 เปอร์เซ็นต์ EC) ใช้ในอัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

หนอนเจาะลำต้นกาแฟ (Xylotrechus Quadripes Cherrolat)  (Coleoptera: Cerambycidae)
C:\Documents and Settings\ploy\Desktop\งาน N'1\ส่ง\1232900669.jpg
หนอนเจาะลำต้นกาแฟเป็นแมลงที่มีความสำคัญที่ทำความเสียหายต่อต้นกาแฟพันธุ์อาราบิก้าอย่างรุนแรง พื้นที่ที่พบมีการทำลายสูงสุดถึงร้อยละ 95  และส่วนใหญ่เป็นกาแฟที่ปลูกในสภาพกลางแจ้งร้อยละ 80 ส่วนกาแฟที่ปลูกในสภาพภายใต้ร่มเงา และปลูกในพื้นที่ระดับต่ำจะพบการทำลายน้อย  โดยเฉพาะกาแฟที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป  ต้นกาแฟที่ถูกหนอนเจาะและเข้าทำลาย  จะแสดงอาการใบสีเหลือง ใบเหี่ยว และมีอาการยืนต้นแห้งตายในที่สุด โดยจะพบร่องรอยการควั่นของหนอนเจาะลำต้นกาแฟตั้งแต่บริเวณโคนต้นขึ้นมาจนถึงกึ่งกลางต้น ทั้งนี้เมื่อหนอนฟักออกจากไข่ก็จะกัดกินเนื้อไม้ ในลักษณะการควั่นไปรอบลำต้นและเจาะเข้าไปกินภายในต้นด้วยการป้องกันกำจัด 

ควรจะกระทำในช่วงระยะที่หนอนยังเป็นตัวเต็มวัยก่อนผสมพันธุ์และวางไข่  รวมทั้งการทำลายไข่ หรือหนอนระยะแรกที่ฟักออกจากไข่ ก่อนที่จะเจาะเข้าไปในลำต้นหรือกิ่ง  ซึ่งจะเป็นการป้องกันกำจัดที่ดีที่สุด และเมื่อพบการระบาดควรฉีดพ่นสารฆ่าแมลง เฟนิโตรไธออน (ซูมิไธออน 50 เปอร์เซ็นต์ EC) ในอัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ในระยะเวลาของช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม และเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม

หนอนกาแฟสีแดง (Zeuzera Coffeae Nietner) (Lepidoptera: Cossidae)
หนอนเจาะกินเนื้อเยื่อภายในลำต้น จะมีลักษณะของลำต้นที่มียอดแห้งเหี่ยวตาย  ตั้งแต่ยอดลงมาจนถึงบริเวณที่ถูกเจาะ และเมื่อลมพัดก็ทำให้กิ่งไม้หักล้ม ตัวเต็มวัยซึ่งเป็นผีเสื้อกลางคืน มีปีกสีขาว มีจุดดำประเต็มทั่วทั้งปีก จะมาวางไข่บริเวณเปลือก ลำต้นหรือกิ่งของกาแฟ โดยไข่มีลักษณะเป็นสีเหลือง และตัวเมีย 1 ตัว จะวางไข่ได้ ประมาณ 300 ถึง  500 ฟอง ระยะการวางไข่ประมาณ 7 ถึง 10 วัน แล้วจึงฟักออกเป็นตัวหนอน  และเจาะเข้าสู่กิ่งหรือลำต้นของกาแฟ  กัดกินเนื้อเยื่อเป็นโพรงเล็กๆ ตามความยาวของกิ่ง และลำต้นของกาแฟ  ขณะเดียวกันก็จะกัดกิ่งและลำต้นกาแฟเป็นรูเล็กๆ เพื่อเป็นช่องให้มูลของหนอนออกมาจากกิ่งและลำต้น ระยะการเป็นตัวหนอน ประมาณ 2.5 ถึง 5 เดือน ระยะเป็นดักแด้  ประมาณ 2 ถึง 3 สัปดาห์ ในรอบปีหนึ่งจะพบประมาณโรคนี้ 2 ชั่วอายุขัย และเมื่อพบร่องรอยการทำลายแล้วให้ตัดกิ่งหรือต้นกาแฟที่ถูกทำลายไปเผาทิ้งการป้องกันกำจัด 

หนอนจะทำลายพืชอาศัยอื่นๆ ในบริเวณรอบๆ สวนกาแฟดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยและการขยายพันธุ์ของหนอน จะต้องรักษาบริเวณให้สะอาดและหมั่นตรวจดูตามต้นและกิ่งกาแฟอยู่เสมอ  หากพบรอยที่หนอนเจาะเข้าทำลายต้นกาแฟก็ให้ตัดกิ่ง และนำไปเผาไฟ เพื่อเป็นการลดการขยายพันธุ์ต่อไป ในพื้นที่ ที่พบการระบาดของหนอนสูง ก็ให้ใช้สารเคมีฆ่าแมลงเฟนิโตร ไธออน  ในอัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และนำไปทาด้วยแปรงทาสีบริเวณลำต้นกาแฟให้ทั่ว (หากใช้ฉีดพ่นให้ใช้ในอัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) และในช่วงที่พบตัวหนอนเต็มวัยสูงในช่วงระยะเวลาเดือนเมษายน มิถุนายน และเดือนกันยายน ก็ให้กำจัด ต้นกาแฟที่ถูกหนอนเจาะลำต้นเข้าทำลายทันที  เมื่อตรวจพบก็ให้ทำการตัดแล้วเผาทิ้ง นอกจากนี้ควรปลูกไม้บังร่ม จะเป็นการช่วยลดการเข้าทำลายของหนอนได้

วัชพืชของกาแฟ
วัชพืชฤดูเดียว เป็นวัชพืชที่ครบวงจรชีวิตภายในฤดูเดียว ส่วนมากจะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด แบ่งเป็นประเภทดังนี้
  • ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา หญ้านกสีชมพู หญ้าปากควาย หญ้ากุศล และหญ้าขจรจบดอกเล็ก
  • ประเภทใบกว้าง เช่น ผักบุ้งยาง แมงลักป่า กระดุมขน ผักโขม สาบแร้งสาบกา และสร้อยนกเขา
  • ประเภทกก เช่น หนวดแมว กกขนาก กกทราย และหนวดปลาดุก
วัชพืชข้ามปี เป็นวัชพืชที่ส่วนใหญ่แล้วจะขยายพันธุ์ด้วยต้น ราก เหง้า หัว และไหล   ขยายพันธุ์ได้ดีกว่าการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
  • ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าคา หญ้าชันกาด หญ้าขน หญ้าเห็บ หญ้าขจรจบดอกเหลือง และหญ้าแพรก
  • ประเภทใบกว้างเช่น สาบเสือ ผักปราบ มังเคร่ ขี้ไก่ย่าน และครอบจักรวาล
  • ประเภทกก เช่น แห้วหมู และกกตุ้มหู
การป้องกันกำจัดวัชพืชในสวนกาแฟสามารถกระทำได้หลายวิธี คือ 
1. การใช้แรงงานและการใช้เครื่องจักรกลตัดวัชพืชระดับผิวดินการใช้แรงงานคนเหมาะสำหรับสภาพพื้นที่ไม่สามารถใช้เครื่องจักรกลได้สะดวก โดยเฉพาะการ

กำจัดวัชพืชโดยวิธีการตัดหรือถากวัชพืชรอบบริเวณโคนต้นในสวนกาแฟที่ปลูกใหม่ เพราะระยะเวลานี้ การใช้สารกำจัดวัชพืชจะเป็นอันตรายกับต้นกาแฟได้ง่าย และในฤดูแล้งการกำจัดวัชพืชด้วยวิธีการดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำเพื่อลดการแย่งน้ำในดินระหว่างวัชพืชและต้นกาแฟ และใช้วัชพืชดังกล่าวคลุมโคนต้นกาแฟ เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ

 2. การปลูกพืชคลุมดิน 

การปลูกพืชคลุมดินนอกจากจะช่วยควบคุมไม่ให้วัชพืชเจริญเติบโตแข่งกับต้นกาแฟแล้ว ยังเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ซึ่งจะส่งผลให้ต้นกาแฟเจริญเติบโตและให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

3. การปลูกพืชแซม

สามารถกระทำได้ในพื้นที่ที่ค่อนข้างราบหรือมีความลาดเอียงในทิศทางเดียวกัน พืชแซมที่นิยมปลูกในสวนกาแฟปลูกใหม่ เช่น พืชผัก ถั่วต่างๆ หรือไม้ตัดดอก แต่หลังจากต้นกาแฟมีอายุมากขึ้น และให้ ผลผลิตแล้วคงจะไม่ใช่วิธีการนี้ได้เพราะทรงพุ่มกาแฟจะชิดกันมากขึ้น ทำให้ไม่มีพื้นที่ว่างพอที่จะปลูกพืชแซมได้

4. การใช้สารกำจัดวัชพืช 
วิธีการนี้ใช้ได้ทั้งในสวนกาแฟขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยใช้ในอัตราที่ปรากฏในตารางข้างล่าง โดยการผสมน้ำสะอาด จำนวน 60 ถึง 80 ลิตรต่อไร่ แล้วใช้หัวพ่นรูปพัดพ่นให้ทั่วต้นวัชพืช แต่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ละอองสารปลิวไปสัมผัสใบและต้นกาแฟ

 

ตารางการใช้สารกำจัดวัชพืช
สารกำจัดวัชพืช
อัตราที่ใช้
(กรัมหรือ

ซีซี/ไร่)
กำหนดการใช้
ชนิดวัชพืชที่
ควบคุมได้
ชนิดวัชพืชที่
ควบคุมได้
พาคาควอท
(27.6% AS)
300 – 800
พ่นหลังวัชพืชงอกและอยู่ในระยะเจริญเติบโตสูง   ไม่เกิน 15 เซนติเมตร วัชพืชปีเดียว ใบแคบ และใบกว้าง หลีกเลี่ยงสารกำจัดวัชพืชสัมผัสใบและต้นกาแฟที่มีสีเขียว
กลูโฟซิเนทแอมโมเนียม (15 %SL)
330 – 750
พ่นหลังวัชพืชงอกและอยู่ในระยะเจริญเติบโตและก่อนออกดอก วัชพืชปีเดียวใช้อัตราต่ำ วัชพืชข้ามปี เช่น หญ้าคาใช้อัตราสูง ระยะปลอดฝนประมาณ 4-6 เซนติเมตร
ไกลโฟเลท (48%AS)
330 – 750
พ่นหลังวัชพืชงอกและอยู่ในระยะเจริญเติบโตและก่อนออกดอก วัชพืชปีเดียวใช้อัตราต่ำ วัชพืชข้ามปี เช่น หญ้าคาใช้อัตราสูง ระยะปลอดฝนประมาณ 4-6 เซนติเมตร
กลูโฟซิเนทแอมโมเนียม (15%S%L)
+ไดยูรอน (80%WP)
1,800 – 300
พ่นหลังวัชพืชงอกและอยู่ในระยะเจริญเติบโตสูงไม่เกิน 15 เซนติเมตร วัชพืชปีเดียวใบแคบ และใบกว้าง ที่งอกจากเมล็ด ไดยูรอนสามารถควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืชในดินได้ 1-2 เดือน
ที่มา: ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ; กรมวิชาการเกษตร
การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

กาแฟจะออกดอกหลังจากผ่านการกระทบกับความแห้งแล้งและผ่านความชุ่มชื้นจากฝนหรือการให้น้ำแล้ว และจะพัฒนากลายเป็นผลจนสุก  ซึ่งมีลักษณะสีแดงในเวลาต่อมา   การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะต้องเก็บเฉพาะผลผลิตที่สุกเท่านั้น ซึ่งจะประสบปัญหายุ่งยากพอสมควร  เพราะกาแฟบางพันธุ์จะมีผลที่สุกไม่พร้อมกันในช่อเดียวกัน  จึงต้องระมัดระวังเพราะผลกาแฟที่แก่ ไม่สุก เมื่อนำไปแปรรูปจะทำให้กาแฟที่ได้มีคุณภาพที่ไม่ดี ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการเก็บเกี่ยวเกษตรกรจึงมักใช้วัสดุที่เป็นแผ่น เช่น ตาข่ายตาถี่ปูใต้โคนต้นแล้วเก็บเฉพาะผลที่สุกร่วงหล่นลงมาบนตาข่ายแล้วค่อยรวบรวมเป็นต้นๆ ไป

โดยกาแฟจะเริ่มติดดอกออกผลหลังจากปลูกไปแล้วประมาณปีที่ 3 และผลกาแฟจะเริ่มสุกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นกาแฟ และสภาพของพื้นที่ปลูก ผลกาแฟในแต่ละช่อจะสุกไม่พร้อมกัน ในการเก็บผลกาแฟให้เลือกเก็บเฉพาะผลที่สุกแก่มีสีแดงเท่านั้น  ไม่ควรเก็บผลกาแฟที่ยังอ่อนซึ่งมีสีเขียวหรือผลที่ไม่แก่จัดหรือใช้วิธีรูดทั้งกิ่ง เพราะจะทำให้ได้สารกาแฟคุณภาพต่ำสำหรับผลกาแฟที่เก็บได้มีควรมีการคัดแยกคุณภาพ โดยผลกาแฟที่แก่จัดเกินไปซึ่งมีสีแดงเข้ม หรือผลที่แห้งคาต้นผลที่ร่วง หรือหล่นตามพื้นควรเก็บแยกไว้ต่างหากจากผลกาแฟที่เก็บได้ในแต่ละครั้ง  จากนั้นให้นำผลกาแฟทั้งหมดออกตากแดดโดยเร็วที่สุด

 
อายุการเก็บเกี่ยว 
ผลกาแฟในแต่ละสภาพพื้นที่ปลูกไม่พร้อมกัน ดังนี้
  1. ระดับความสูง 700 ถึง  900 เมตร จากระดับน้ำทะเล อายุการเก็บเกี่ยว (ตั้งแต่ติดผล – ผลสุก) ประมาณ 6 เดือน
  2. ระดับความสูง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล อายุการเก็บเกี่ยว (ตั้งแต่ติดผล – ผลสุก) ประมาณ 9 เดือน

ดัชนีการเก็บเกี่ยว

ควรเก็บผลที่สุก 90 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ คือเมื่อผลมีสีแดงเกือบทั้งผลหรือทั่วทั้งผล หรือผลมีสีเหลืองเกือบทั้งผลหรือทั่วทั้งผล (บางสายพันธุ์ผลสุกจะเป็นสีเหลือง)

การทดสอบผลสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว สามารถทำได้โดยการเก็บผลกาแฟแล้วใช้นิ้วบีบผล หากผลสุกเปลือกจะแตกง่ายและเมล็ดกาแฟจะโผล่ออกมาจากเปลือก

การเก็บผลควรจะพิจารณาการสุกของผลของแต่ละกิ่งที่ให้ผลในแต่ละต้นว่ามีผลสุกมากกว่าร้อยละ 50 สำหรับการเก็บผลผลิตครั้งแรก ซึ่งปกติการเก็บผลกาแฟจะต้องใช้เวลาเก็บประมาณ 2 ถึง 4 ครั้ง

การผลิตสารกาแฟ (การสีกาแฟ)
การผลิตสารกาแฟทำได้ 2 วิธี คือ วิธีสีสด (แบบแช่น้ำ) และวิธีสีแห้ง (แบบแห้ง)1. การสีสด
เป็นวิธีที่ใช้กันมากเพราะจะได้สารกาแฟที่มีควบคุมคุณภาพได้  แต่มีต้นทุนในการผลิตที่สูงกว่าวิธีการสีแห้ง  วิธีการเริ่มจากการเก็บผลกาแฟสุกมาปอกเปลือกให้หมดภายในวันเดียวกัน หากปอกไม่ทันไม่ควรเก็บไว้เกิน 1 คืนเพราะการเก็บหมักไว้นานจะทำให้เมล็ดเสื่อมคุณภาพได้ เมื่อปลอกเปลือกเรียบร้อยแล้วให้นำเอาเมล็ดที่ได้มาแช่น้ำพอท่วมเมล็ด และแช่หมักไว้ 24 ชั่วโมง แล้วขยี้ล้างเมือกออกให้หมด หรือใช้เครื่องขัดเมือกก็จะเป็นการประหยัดเวลาไปได้มาก และเมื่อขัดเมือกหมดแล้วคงเหลือแต่เมล็ดที่มีเปลือกแข็งหุ้มให้นำออกผึ่งแดดให้แห้งสนิท โดยใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 7 วัน แต่ในปัจจุบันอาจจะใช้เครื่องอบเมล็ดให้แห้งภายใน 24 ถึง 28 ชั่วโมง แล้วจึงนำมาเข้าเครื่องกะเทาะเปลือก และปัดฝุ่นผงออกให้หมด คัดเฉพาะเมล็ดแตก เมล็ดดำ หรือกาแฟที่มีเปลือกหุ้มอยู่ออกให้หมด ก็จะได้สารกาแฟตามที่ต้องการ

2. การสีแห้ง

เป็นวิธีที่นิยมทำกันมากในกาแฟพันธุ์โรบัสต้า  เนื่องจากมีความสะดวก ลงทุนน้อย แต่จะควบคุมคุณภาพได้ยาก วิธีนี้เริ่มจากการเก็บกาแฟที่ผลสุกแล้ว  จากนั้นนำมาตากให้แห้งสนิทบนลานคอนกรีต ซึ่งทดสอบได้จากการเขย่าให้รู้สึกว่าเมล็ดในกาแฟคลอนได้ แล้วจึงนำเข้าเครื่องสีเพื่อเอาเปลือกออกให้หมด และฝัดร่อนเอาเมล็ดที่เสียออก การสีแห้งนี้ไม่สามารถควบคุมการหักตัวของเมล็ดกาแฟได้ และหากไม่มีแสงแดดเพียงพอติดต่อกันหลายวัน หรือผลกาแฟที่ตากบนลานคอนกรีตไม่ได้กระจายผลให้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง จะทำให้เชื้อราสามารถเจริญเติบโต
การผลิตสารกาแฟให้ได้คุณภาพดีโดยวิธีสีแห้ง  จะต้องปฏิบัติดังนี้

1. พยายามเก็บเฉพาะผลกาแฟที่สุกสีแดงเท่านั้น
2. แยกเอาผลที่มีตำหนิ ผลที่ยังไม่แก่ ผลที่แห้งคาต้น หรือผลที่ร่วงลงบนพื้นออกไปตากและแยก  ไม่นำมาปะปนกันผลผลิตที่มีคุณภาพ
3. รักษาความสะอาดภาชนะ ลานตากเมล็ดและอุปกรณ์ต่างๆ
4. ผลกาแฟที่เก็บมาแต่ละวันต้องรีบนำมาผึ่งแดดทันที
5. พยายามกลับกองกาแฟที่ตากบนลานตากจำนวนหลายๆ ครั้ง ในแต่ละวันและทุกๆ วัน
6. ในช่วงเย็นและช่วงวันที่ฝนตก จะต้องนำผลกาแฟที่ตากไว้มากองรวมกันและใช้ผ้าใบคลุม รอจนลานตากแห้งแล้วจึงเกลี่ยผลกาแฟมาตากอีกครั้งหนึ่ง
7. หลังจากสีกะเทาะเปลือกออกแล้ว จะต้องฝัดเอาฝุ่นผงออกให้หมด และคัดเอาเมล็ดแตก เมล็ดดำ หรือเมล็ดที่มีเปลือกหุ้มอยู่ออกให้หมด
8. กาแฟที่จะเก็บบรรจุลงในกระสอบจะต้องเป็นกาแฟที่แห้งสนิทเท่านั้น
9. กระสอบที่ใช้บรรจุเมล็ดกาแฟ ควรเป็นกระสอบใหม่หรือกระสอบที่ผ่านการทำความสะอาดและตากแห้งดีแล้วและปราศจากกลิ่นอื่นใด รวมทั้งไม่ควรวางกระสอบบรรจุเมล็ดกาแฟบนพื้นโดยตรง ควรจะมีหมอนไม้รองไว้อีกชั้นและควรเก็บไว้ในโรงเรือนที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

พื้นที่การปลูกกาแฟในภาคใต้
ตารางแสดง พื้นที่ ผลผลิต ต่อไร่ราคาและมูลค่าของผลผลิตตามราคาที่เกษตรกรขายได้ ปี 2543-2552
ปี
พื้นที่ปลูก 
(ไร่)
พื้นที่ให้ผล
(ไร่)
ผลผลิต
(ตัน)
ผลผลิต 
ต่อไร่
(กก.)
ราคาที่เกษตรกร
ขายได้

(บาท/กก.)
มูลค่าของผลผลิตตาม
ราคาที่เกษตรกรขายได้
(ล้านบาท)
2543
478,207
421,789
81,057
192
24.18
1,960
2544
488,754
432,314
86,009
199
31.24
2,687
2545
487,533
439,308
53,447
122
27.25
1,456
2546
476,426
440,291
53,907
122
31.82
1,715
2547
464,841
443,322
61,765
139
27.64
1,707
2548
447,749
434,569
59,644
137
28.75
1,715
2549
441,160
429,878
46,873
109
36.49
1,710
2550
436,847
424,632
55,660
131
45.57
2,536
2551
403,449
388,662
50,442
130
59.81
3,017
2552
381,224
365,337
56,315
154
61.79
3,480
ที่มา: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
 
ข้อมูลการปลูกกาแฟรายจังหวัดภาคใต้ ปี 2549
จังหวัด
พื้นที่ปลูก
(ไร่)
พื้นที่ให้ผล 
(ไร่)
ผลผลิตรวม 
(ตัน)
ผลผลิตเฉลี่ย 
(กก./ไร่)
กระบี่
16,557
16,316
2,023
124
ชุมพร
243,760
243,071
27,710
114
นครศรีธรรมราช
6,835
6,777
596
88
ระนอง
94,476
93,793
9,567
102
สุราษฎร์ธานี
47,521
47,521
4,039
85
พังงา
1,470
1,470
122
83
รวม
410,619
408,948
44,057
107
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
http://technicfarm.blogspot.com/2015/03/blog-post_31.html