ตุ๊กแกที่นิยมเลี้ยงมีอยู่หลายชนิดเช่น..
ตุ๊กแกเสือดาว
…เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ในธรรมชาติจะอาศัยอยู่บริเวณทะเลทรายของประเทศอัฟกานิสถาน, ปากีสถานและอินเดียตะวันตก เป็นต้น ความแตกต่างของตุ๊กแกเสือดาวเมื่อเปรียบเทียบกับตุ๊กแกชนิดอื่น ๆ ตรงที่ มีเปลือกตาเพื่อป้องกันฝุ่นละอองตามธรรมชาติ และเท้าที่เป็นเล็บแหลมสำหรับปีนป่ายซึ่งต่างจากตุ๊กแกชนิดอื่นที่ส่วนของ เท้าเป็นพังผืด มีหางที่อวบอ้วนซึ่งจะเป็นอวัยวะที่ช่วยเก็บสารอาหารทำให้ทนต่อสภาพการขาด อาหารในบริเวณท้องที่ทุรกันดารได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันตุ๊กแกเสือดาวได้กลายเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามอีกชนิดหนึ่งด้วย เสน่ห์ของสีสันและลวดลายบนลำตัว สามารถจับเล่นได้และมักจะเชื่องกับเจ้าของ โดยเฉพาะในปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายในสีและลวดลาย คุณรัฐกิจ จันทรสีมา ชาวบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร มีประสบการณ์ในการเลี้ยงตุ๊กแกเสือดาวมานานประมาณ 3 ปี และมีตุ๊กแกเสือดาวมากกว่า 10 สีและสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในบ้านเรา..
คุณรัฐกิจได้บอกวิธีการเลี้ยงตุ๊กแกเสือดาวควรจะเลี้ยงในตู้ปลาหรือกล่อง พลาสติก (ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้เลี้ยงในกล่องพลาสติกเพราะเคลื่อนย้ายได้สะดวก มีน้ำหนักไม่มากและทำความสะอาดง่าย)
ตู้เลี้ยงตุ๊กแกเสือดาว
เนื่องจากตุ๊กแกเสือดาวเป็นสัตว์ที่มาจากเขตร้อนและแห้งแล้ง ความร้อนเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับตุ๊กแกเสือดาวที่จะช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร และการย่อยอาหาร อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงจะเฉลี่ยอยู่ที่ 30-35 องศาเซลเซียส ถึงแม้ตุ๊กแกเสือดาวจะชอบอากาศร้อน แต่มีความต้องการอากาศที่ถ่ายเทได้สะดวกด้วย ดังนั้นไม่ควรปิดกล่องหรือตู้ปลาให้ทึบ สำหรับวัสดุที่ใช้รองพื้นมีให้เลือกหลายชนิด เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์, กระดาษทิซชู ฯลฯ หลายคนอาจจะใช้ทรายและดินเป็นวัสดุรองพื้นอาจจะมีผลกระทบต่อระบบการย่อย อาหาร ถ้าพบว่าตุ๊กแกเสือดาวกินทรายและดินเข้าไป
การรองพื้นสำหรับเลี้ยงตุ๊กแกเสือดาว
ในตู้เลี้ยงควรจะเตรียมที่ซ่อนตัวให้กับตุ๊กแกเสือดาว เช่นกล่องเจาะรูหรือถ้วยพลาสติกคว่ำเจาะช่องเข้า-ออก หรือถ้ามีเงินอาจทำเป็น บ้านไม้เล็ก ๆ สำเร็จรูป ที่ซ่อนควรจะมีความชื้นเพื่อช่วยในการลอกคราบโดยใช้กระดาษทิซชูหรือขุย มะพร้าวที่เปียกหมาด ๆ นอกจากนั้นในกรงเลี้ยงผู้เลี้ยงจะต้องเตรียมถ้วยตื้น ๆ เพื่อใส่น้ำให้กินและจะต้องเปลี่ยนทุกวันเพื่อความสะอาด สำหรับถ้วยอาหารจะต้องใช้ขนาดที่ตุ๊กแกปีนขึ้นไปกินอาหารได้
แคลเซียมและวิตามินมีความจำเป็นต่อการเลี้ยงตุ๊กแกเสือดาวจะส่งผลดีต่อ กระดูก เนื่องจากตุ๊กแกเสือดาวเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืนทำให้ไม่สัมผัสกับ รังสี UV จึงมีความจำเป็นจะต้องใช้แคลเซียมทดแทน
ตุ๊กแกเสือดาวจัดเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายถ้าได้รับอาหารที่ดี, ที่อยู่อาศัยดีและสะอาด การเจริญ เติบโตของตุ๊กแกเสือดาวเกิดจากการลอกคราบ ดังนั้นควรจะมีที่ชื้นเพื่อช่วยในการลอกคราบ.
“ตุ๊กแกบ้าน” (Gekko gecko)
หรือที่ชาวจีนเรียกว่า กาบก่าย มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและกระจายอยู่ในประเทศอินเดียตอนเหนือ จีนตอนใต้ ลาว เขมร มาเลเซีย อีกทั้งมีการนำเข้าไปขยายพันธุ์ในรัฐฮาวาย ฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา บางเกาะในทะเลแคริเบียน
ชอบอยู่อาศัยจะเป็นบริเวณพื้นที่แถบป่าไม้ ตามบ้านเรือนที่เป็นมุมมืดปราศจากการรบกวน ในบางครั้งยามที่แดดอ่อนก็จะออกมารับแสงบ้าง กระทั่งบางคนบอกว่า พวกมันเป็นสัตว์ที่ อาบแดดกลางวัน อาบแสงจันทร์กลางคืน…
ตุ๊กแกที่โตเต็มวัย.เมื่อฟ้าสลัวพลบค่ำ จึงออกมาเกาะผนังเฝ้า “รอคอย” จับเหยื่ออย่างพวกแมลงต่างๆ อาทิ แมลงเม่า อันเป็นเมนูสุดโปรด แมลงสาบ ตั๊กแตน จิ้งหรีด ด้วง มอด มด ผีเสื้อ หนอน แมงป่อง ตะขาบ หนู ที่ส่วนใหญ่เป็นสัตว์จำพวกแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารขณะยังมีชีวิต รวมทั้ง “คราบ” ที่ลอกของมันเอง…
ลักษณะลำตัวของ “ไอ้ตีนกาว” โดยทั่วๆไปจะเป็นรูปทรงกระบอก ค่อน ข้างแบน หัวมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว ดวงตากลมโปน ม่านตาปิดเปิดแนวตั้ง เปลือกตาเชื่อมกันและโปร่งแสง ผิวหนังสีเทาแกมฟ้า มีจุดสีส้ม เทาและขาวกระจายตลอดทั้งตัว สีผิวจะจางหรือเข้มนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ทั่วทั้งตัวมีเกล็ดเป็นตุ่มลักษณะนุ่มมือเมื่อสัมผัส
ใต้นิ้วเท้า แต่ละนิ้วมีแผ่นบางๆเรียงซ้อนกัน แต่ละแผ่นมี setae ซึ่งเป็นเซลล์ขนาดเล็กทำหน้าที่ยึดติดพื้นผิวเรียบ บริเวณปลายนิ้วจะมีเล็บช่วยเกาะเกี่ยวในการปีนป่าย ในวัยเล็กหางจะมีแถบสีฟ้าสลับขาว โตเต็มที่ตัวผู้นอกจากขนาดลำตัวยาวกว่าแล้ว โคนหางจะอวบและใหญ่กว่าตัวเมีย โดยมันจะใช้อวัยวะส่วนนี้เคาะพื้นผนังเพื่อสร้างอาณาเขต อีกทั้งส่งสัญญาณบอกพวกพ้องเมื่ออยู่ในภาวะคับขันและยังสามารถ สลัดให้หลุดเพื่อหลอกศัตรูตัวฉกาจอย่าง “เหมียว” ให้หลงกลได้อีกด้วย หากมันมีชีวิตรอดเพียง 3 สัปดาห์ ปลายหางก็จะงอกขึ้นมาใหม่แต่ไม่ดูดีดังเดิม
ส่วนการขยายเผ่าพันธุ์ โดยปกติจะเป็นช่วงฤดูหนาว ซึ่ง ตัวผู้จะส่งเสียงร้อง “ตุ๊ก–แก” เพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม หลังเสร็จสิ้นภารกิจตัวเมียจะหาที่วางไข่ (บริเวณเดียวกันได้หลายแม่) ลักษณะเปลือกไข่จะหนาติดเกาะแน่นกับผนัง รูปร่างรี สีขาว ปริมาณ 1-2 ฟอง/ครั้ง โดยใช้เวลาวางไข่ ประมาณ 4-5 เดือน
ช่วงนี้ทั้งคู่มีนิสัยค่อนข้างดุ ออกหากินไม่ห่างจากพื้นที่ แล้วอีก 60-200 วัน ตัวอ่อนจะออกมาสู่โลกภาย นอก ช่วงนี้จะอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว กระทั่งอายุได้ 1 ปี จึงเริ่มออกสร้างอาณาเขตแล้วเข้าสู่วงจรขยายเผ่าพันธุ์อีกครั้ง
การเลี้ยงตุ๊กแก
ตุ๊กแกเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการยากที่จะเลี้ยงในลักษณะ และ รูปแบบสัตว์เลี้ยงทั่วไป อีกทั้งตุ๊กแกก็ยังไม่มีวิธีการเลี้ยงที่แน่ชัดจากหน่วยงานของราชการ
การเลี้ยงแบบกึ่งธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่ได้ผลที่สุดในขณะนี้ โดยตุ๊กแกในกรงมีอัตราการขยายพันธุ์เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง..
การเตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงตุ๊กแก
พื้นที่สำหรับเลี้ยงตุ๊กแก ควรเป็นที่ไม่มีผู้คนพลุกพล่าน เพราะตุ๊กแกเป็นสัตว์ตกใจง่ายและรักสงบ ชอบอยู่ในมืดในเวลากลางวัน และเป็นพื้นที่สามารถเปิดไฟล่อแมลงได้
ตัวอย่างวัสดุ/อุปกรณ์
1 เสาไม้ 3x3x2.50 จำนวน 4 ต้น
2 ตาข่ายพลาสติก 2x2x250 เซนติเมตร จำนวน 20 เมตร
3 ไม้ไผ่ยาว 3 เมตร จำนวน 20 ท่อน
4 ตะปูขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 กิโลกรัม
5 ชุดไฟนิออน ควรเป็นหลอดสั้นแบบประหยัด จำนวน 2 ชุด
6 กระสอบ หรือ ผ้าห่มที่ไม่ได้ใช้แล้ว สำหรับให้ตุ๊กแกหลบนอนตอนกลางวัน
7 เศษไม้กระดาน หรือ ไม้ที่มีโพรงสำหรับตุ๊กแกวางไข่
8 อ่างน้ำขนาดเล็ก จำนวน 1 ใบ
9 อ่างพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร จำนวน 1 ใบ
10 พ่อพันธุ์+แม่พันธุ์ ตุ๊กแกที่สุขภาพสมบูรณ์ จำนวน 5 คู่
การดูแลรักษาในระยะเริ่มต้น
ในกรณีที่บางท่านอาจจับตุ๊กแกจากป่ามาเลี้ยง ทางเราจะไม่แนะนำให้ทำเพราะเป็นการทำผิดกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า การเลี้ยงตุ๊กแกในระยะแรก ตุ๊กแกจะไม่กินอาหารเพราะตุ๊กแกยังไม่คุ้นเคยกับกรงที่เราจัดทำขึ้น ช่วงนี้เราคอยระวังศัตรูจำพวก แมว สุนัข ที่จะมารบกวนและทำลายกรงเลี้ยง แล้วให้นำจี้งหรีดมาปล่อยลงในอ่างพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร พร้อมให้อาหารจี้งหรีดด้วยอาหารไก่เล็กอย่าลืมให้น้ำจิ้งหรีด โดยเอาฟองน้ำ หรือ สำลี ชุบน้ำให้ชุ่มวางไว้ไกล้กับอาหารลูกไก่ จากนั้นให้คอยสังเกตุตุ๊กแกว่ามีการกินแมลงในตอนกลางคืนหริอจิ้งหรีดที่ปล่อยหรือไม่อย่างไร
ปัญหาที่พบในการเลี้ยงแบบกึ่งธรรมชาติ
ส่วนใหญ่จะพบปัญหาเกี่ยวกับ การแสดงอาณาเขตของตุ๊กแกที่มีขนาดใหญ่ เราสามารถแก้ปัญหาโดยการเพิ่มเศษไม้ ตั้งชันแยกให้ห่างกันในระยะตุ๊กแกจะกระโดดถึง เพื่อหลบและหนีได้พ้นจากตุ๊กแกที่มีขนาดใหญ่
โรคที่เกิดกับตุ๊กแก
ตลอดเวลาที่เลี้ยงมาเรายังไม่พบปัญหาเกี่ยวกับโรคระบาด หรือโรคทั่วไปแต่อย่างใด ที่เราพบมีเพียงผิวหนังแห้งเกินไป ถ้าผิวหนังของตุ๊กแกแห้งเกินไป ตุ๊กแกจะไม่ยอมลอกคราบ จะทำให้การเจริญเติบโตช้า ทางเราจะแก้ปัญหาโดยการฉีดน้ำเป็นละอองเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง
ข้อควรระวัง
- ควรเปลี่ยนน้ำในอ่างเล็กทุกวัน เพื่อรักษาความสะอาดและสร้างความคุ้นเคย
- การจับตุ๊กแก ควรสวมถุงมือหนังเพื่อป้องกันเชื้อโรคในปากของตุ๊กแก
- ไม่ควรติดหลอดไฟไว้ในกรงเลี้ยงเพื่อป้องกันไฟช๊อตตุ๊กแก
https://sites.google.com/site/banraisrisutus/kar-leiyng-tukkae
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%95%E0%B8%..
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php