โป๊ะเช๊ะ ดอท คอม

คลิปการก่อสร้างกังหันลม10ล้านวัตต์ ที่อ.ปากพนัง จ.นครศรีฯ

ดูเนื้อหาทั้งหมดได้ที่ http://www.108kaset.com/index.php?topic=773

 

บ.กรีนโกรทเร่งเครื่องลุยโปรเจคทุ่งกังหันลมปากพนังเต็มพิกัด


กรีนโกรทรับบีโอไอหนุนเดินหน้าโครงการทุ่งกังหันลมเลียบชายฝั่งขนาดใหญ่ 10 เมกะวัตต์ มูลค่าการลงทุน 540 ลบ. เป็นกังหันลมที่สูงที่สุดและมีใบพัดยาวที่สุดในประเทศไทย

ดร.สุเมธ สุทธภักติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ วินด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (IWIND) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC เปิดเผยว่า บริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอเมื่อวันที่ 25  ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา ในโครงการทุ่งกังหันลมเลียบชายฝั่งทะเล ขนาด 10 เมกะวัตต์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลบางพระ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช บนพื้นที่ประมาณ 150 ไร่ โดยมีมูลค่าโครงการรวม 540 ล้านบาท

จากการที่ IWIND ได้ดำเนินการทดสอบกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า (Pre Commissioning) และทดสอบคุณภาพไฟฟ้า (Power Quality Test) กับทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งผลการทดสอบดังกล่าวเป็นไปได้ด้วยดี

สำหรับผลของการเริ่มทดสอบผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วงที่ผ่านมานั้น ผู้บริหารบริษัทได้วิเคราะห์และคาดการณ์ว่า การดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าในภาพรวมของโครงการนี้ จะสามารถพิสูจน์ระดับประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าตลอดทั้งปี เฉลี่ยอยู่ที่ 25-26 %  PF (Plant Factor) สูงกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ ตามรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการที่ 21.5% PF (Plant Factor)

ทั้งนี้เกิดจากการปรับลักษณะความยาวของใบพัดที่กว้างขึ้นเพื่อรับกระแสลม และอิทธิพลจากช่องเขาตามตำแหน่งที่ตั้งของโครงการทำให้ฐานรายได้สูงกว่าที่ประมาณการได้อย่างชัดเจน ในขณะเดียวกันบริษัทจะเริ่มดำเนินการพัฒนาโครงการต่อเนื่องทันทีในส่วนของโครงการนาลมลิกอร์ขนาด 8.965 เมกะวัตต์ และลมเทพาขนาด 4.8 เมกะวัตต์ ซึ่งการออกแบบโครงการและที่ตั้งล้วนแต่อยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดีเยี่ยม โดยโครงการทั้ง 2 จะมีกำหนดการป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบจำหน่ายภายในปี 2559 อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่โครงการระดับขนาดกลางและใหญ่ ที่ได้เริ่มดำเนินการไว้ก็จะถูกนำมาดำเนินการควบคู่กันไปตามลำดับ

สำหรับสิทธิประโยชน์ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประกอบด้วยมาตราต่างๆ อาทิ มาตรา 28 ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรตามที่คณะกรรมการพิจารณา มาตรา 35(1) ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละห้าสิบของอัตราปกติมีกำหนดห้าปี นับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 31 วรรคสอง 7. มาตรา 35(2) ได้รับอนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปาสองเท่าของค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นระยะเวลาสิบปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น เป็นต้น


ส่วนเหตุผลที่เลือกดำเนินโครงการที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากบริษัทเล็งเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่ลมมีศักยภาพสม่ำเสมอ  ประกอบกับพื้นที่ดังกล่าวได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างดี ส่วนหนึ่งเพราะว่าก่อนหน้านี้ กระทรวงพลังงานได้จัดทำโครงการนำร่องเมื่อปี 2552 ที่อำเภอหัวไทร ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากโครงการของบริษัทประมาณ 30 กิโลเมตรทำให้สามารถสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านได้อย่างครบถ้วนและบริษัทพอใจผลการทำประชาพิจารณ์เป็นอย่างมากเพราะชาวบ้านให้การตอบรับเป็นอย่างดี

รวมทั้งในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียงมีระบบไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพดีมาก โดยมีโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าหลายแห่ง อาทิ โรงไฟฟ้าขนอม เขื่อนรัชประภา จังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นต้น และในปี 2558 คาดว่าโรงไฟฟ้าบางแห่งจะมีการปิดตัวลง อาจทำให้กระแสไฟฟ้าในบริเวณดังกล่าวขาดแคลนหากมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นโครงการของบริษัทจะเป็นอะไหล่สำรองให้แก่ภาครัฐไปโดยปริยายและตนคาดหวังอยากให้พลังงานทดแทนเป็นพลังงานหลักของประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

“ตนใช้เวลาศึกษาศักยภาพของลมทั่วประเทศก่อนที่จะทำโครงการนี้เป็นเวลากว่า 4 ปี ไม่ใช่แค่เพียงที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเพียงที่เดียว บริเวณที่ค้นหาคือพื้นที่ที่ลมมีศักยภาพสม่ำเสมอมากกว่าพื้นที่ที่มีลมแรงจัดเป็นบางช่วง เราได้ค้นหาและสำรวจทุกภาคทั้งภาคเหนือ อีสาน กลางและใต้ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย โดยพบว่าภาคใต้ฝั่งทะเลอ่าวไทยมีศักยภาพลมค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดทั้งปีแต่จะมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับฤดูกาลเป็นหลัก จะแตกต่างจากภาคอีสานหรือภาคเหนือซึ่งจะมีลมแรงเป็นช่วงๆ และหายไปเลย ดังนั้นจังหวัดนครศรีธรรมราชจึงเป็นคำตอบที่เหมาะสมมากที่สุดแห่งหนึ่ง” ดร.สุเมธกล่าว


ด้านความคืบหน้าของโครงการ ถือว่าคืบหน้าไปมาก ทั้งในส่วนของการออกแบบฐานราก การจัดทดสอบฝังตำแหน่งกังหัน และการจัดสรรที่ดินเพื่อเตรียมก่อสร้าง โดยบริษัทจะเน้นสร้างให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณรอบข้าง และบริเวณที่เหลือบริษัทจะสร้างเป็นสวนสาธารณะให้ชาวบ้านได้มีโอกาสเข้ามาใช้ประโยชน์ เช่น การวิ่งออกกำลังกายในตอนเช้า เป็นต้น


ทั้งนี้หากได้รับใบอนุญาต รง.4 เ รียบร้อยแล้ว คาดว่าโครงการจะเริ่มจ่ายไฟได้เลย.. ซึ่งจะเร็วกว่ากำหนดการที่ทางการไฟฟ้าได้ตั้งเป้าไว้กับบริษัทคือในปี 2558 สำหรับกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดจะจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  (กฟภ.)100%   โดยโครงการของบริษัทนับเป็นโครงการกังหันลมขนาดใหญ่ตั้งแต่ 1 เมกกะวัตต์เป็นต้นไปของภาคเอกชนรายแรกของประเทศไทยที่จำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ กฟภ.


นอกจากนี้บริษัทได้สั่งซื้อกังหันลมเรียบร้อยแล้ว โดยจะใช้ระบบและเทคโนโลยีของประเทศเยอรมันจำนวนกังหันทั้งหมด 5 ต้น กำลังการผลิตต้นละ 2 เมกะวัตต์ โดยมีกำหนดการรับมอบกังหันลมจากผู้ผลิต  ในราวเดือนเมษายน 2557

สำหรับกังหันลมจะมีหลายขนาดและแต่ละขนาดจะมีความแตกต่างกันซึ่งจะขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่แต่ละบริษัทกำหนด โดยโครงการของบริษัทเนื่องจากตนจบเฉพาะทางด้านกังหันลมจากเดนมาร์คโดยตรง ดังนั้นตนจึงเลือกที่จะออกแบบกังหันเองร่วมกับบริษัทผู้ผลิต ให้เหมาะสมกับพื้นที่โครงการมากที่สุดและจะไม่ซื้อกังหันลมแบบสำเร็จรูป โดยปกติกังหันลมจะมีความสูงของลำต้นประมาณ 80 เมตร แต่ตนได้ขยับขึ้นมาเป็น 100 เมตร ซึ่งจะทำให้รับลมได้แรงกว่า เพราะความขรุขระของพื้นผิวไม่มีอะไรมาบดบัง ทั้งนี้จากการสำรวจเก็บวัดค่าลมพบว่าลมที่ความสูงที่ 100 เมตรสามารถรับลมได้ดีกว่า ส่วนใบพัดปกติจะมีความยาวเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 35-40 เมตร แต่ตนจะใช้ใบพัดที่มีขนาดความยาว 55 เมตร ซึ่งส่งผลให้กังหันลมของบริษัทสูงที่สุดและมีใบพัดยาวที่สุดในประเทศไทย

**ส่วนรายได้จากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้านั้น บริษัทได้กำหนดอัตราผลกำไรตอบแทนซึ่งคาดว่าจะสามารถคืนทุนกับสถาบันการเงินได้ภายในระยะเวลา 6 ปี และมั่นใจว่าจะสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาดังกล่าวเนื่องจากโครงการของบริษัทมุ่งที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับสถาบันการเงิน โดยจะนำรายได้จากโครงการดังกล่าวส่งคืนให้เร็วที่สุด ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่คืนทุนได้เร็วมากเมื่อเทียบกับปกติที่มีการกำหนดให้มีการคืนทุนก่อนค่าแอดเดอร์จะหมดวาระคือ 10 ปี

“โครงการของเราเป็นโครงการกังหันลมที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลแห่งแรกที่ดำเนินการโดยภาคเอกชนเราไม่ได้คาดหวังผลกำไรจากโครงการนี้มากมาย แต่ต้องการทำให้เป็นต้นแบบเพื่อให้ชาวบ้านกับโครงการประเภทดังกล่าวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืน และจากการที่โครงการของเราตั้งอยู่ในบริเวณที่มีการกัดเซาะสูง ดังนั้นเราจึงคาดหวังว่าระบบฐานรากที่เรานำมาใช้ในโครงการนี้ซึ่งเป็นระบบที่พิเศษมาก โดยในระยะยาวจะสามารถนำมาปรับเป็นแนวป้องกันไม่ให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งได้อีกทางหนึ่ง” ดร.สุเมธกล่าว

…สำหรับแผนลงทุนโครงการในต่างประเทศ บริษัทฯ ได้เตรียมลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นโครงการ Samdal Wind Farm ที่เกาะเชจู ประเทศเกาหลีใต้ ขนาดกำลังการผลิต 33 เมกะวัตต์ ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยได้ข้อสรุปและแผนโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจนเป็นที่เรียบร้อย โดยจะสามารถรับรู้รายได้ในทันที

ขณะเดียวกันบริษัทฯ Inter Far East Wind International Company Limited อยู่ในระหว่างการเตรียมเข้าพัฒนาโครงการที่ประเทศออสเตรเลีย ขนาดกำลังการผลิต 284.30 เมกะวัตต์ รวมทั้งโครงการกังหันลมพื้นที่ราบสูงในประเทศเวียดนาม กำลังการผลิตรวม 210 เมกะวัตต์

โดยคาดว่าจะสามารถลงนามเดินหน้าโครงการภายในก่อนสิ้นปี 2558 นี้ ซึ่งนับว่าจะเป็นการโตแบบก้าวกระโดด ตอกย้ำความสำเร็จจากโครงการทุ่งกังหันลมเลียบชายฝั่งปากพนัง คณะกรรมการบริหารบริษัทฯ ได้ข้อสรุปถึงผลการตอบรับข้อเสนอการเข้ามาร่วมทุนของบริษัท Goldwind International ผู้ผลิตกังหันลมอันดับต้นๆ ของโลก โดยทาง Goldwind จะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ เพื่อเสริมความเข้มแข็ง ให้กับ iWind สำหรับบุกตลาดต่างประเทศ โดยจะมีโครงการร่วมมือกันในโครงการที่ได้รับสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) แล้ว ของ Goldwind International ที่ประเทศออสเตรเลียในเบื้องต้น โดยบริษัทจะใคร่ขอชี้แจงในวาระโอกาสต่อไป.

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php