ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง>www.ubmthai.com เวอร์ชั่นPC-NoteBook >>
http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php/topic,98788.0.html
วันสงกรานต์ 2560 ในปีนี้ตรงกับวันวันศุกร์ที่ 14 เมษายน เวลา 2 นาฬิกา 49 นาที 12 วินาที จันทรคติ ตรงกับ วันพฤหัสบดี แรม ๒ ค่ำ เดือนห้า (๕) ปีระกา
ประวัติวันสงกรานต์
คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤตว่า “สํ-กรานต” ซึ่งแปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือย้ายขึ้น โดยมีนัยความหมายว่า การเข้าสู่ศักราชราศีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ นั้นเอง โดยเทศกาลสงกรานต์ นั้นเป็นประเพณีที่มีความเก่าแก่และคนไทยสืบทอดกันมาแต่โบราณคู่กับประเพณีตรุษจีนกันเลยทีเดียว จึงได้มีการรวมเรียกกันว่า “ประเพณีตรุษสงกรานต์” ซึ่งแปลว่าการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นั้นเอง
สงกรานต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงมากที่สุดในสายตาชาวโลกคือสงกรานต์ในประเทศไทย จึงทำให้เทศกาลสงกรานต์ของไทยติดอันดับเทศกาลที่มีสีสันที่สุด 1 ใน 5 ของเอเชีย
ส่วนในต่างประเทศ ชาวไต หรือชาวไท ในสิบสองปันนา โดยเฉพาะเมืองจิ่งหง หรือเมืองเชียงรุ่ง จะจัดงานสาดน้ำสงกรานต์ ในวันที่ 13-15 เมษายน เรียกว่างานเทศกาลพัวสุ่ยเจี๋ย
วันมหาสงกรานต์
ในสมัยโบราณ คนไทยถือว่า วันขึ้น 1 ต่ำ เดือนอ้าย ซึ่งจะตรงในช่วงเดือน พฤศจิกายนหรือธันวาคม ให้เป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ จนต่อมาในสมัยยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2483 ได้เปลี่ยนวันปีใหม่ให้เป็นวันสากล คือ วันที่ 1 มกราคม แต่ถึงอย่างไร คนโบราณก็ยังคงคุ้นเคยกับวันปีใหม่ไทยในเดือนเมษายน จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยร่วมด้วย
นางสงกรานต์ 2560
นางสงกรานต์ ในโบราณมีการกำหนดไว้ถึง 7 นางด้วยกัน ซึ่งแต่ละนางก็จะมีความหมาย คำทำนายที่แตกต่างกันออกไป โดยทั้ง 7 นางสงกานต์ จะประกอบไปด้วย
- นางทุงษะเทวี
- นางรากษเทวี
- นางโคราคเทวี
- นางกิริณีเทวี
- นางมณฑาเทวี
- นางกิมิทาเทวี
- นางมโหธรเทวี
สำหรับวันสงกรานต์ ปี 2560 นี้ นางสงกรานต์นามว่า “กาฬกิณีเทวี” ทรงพาหุรัด ทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา หัตถ์ขวาทรงขอช้าง หัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จไสยาสน์หลับเนตร (นอนหลับตา) มาเหนือหลังกุญชร(ช้าง) เป็นพาหนะ (ขอบคุณข้อมูลจาก : myhora)
กิจกรรมในวันสงกรานต์
ทำบุญตักบาตร วันมหาสงกรานต์ ประชาชนจะลุกขึ้นมาตอนเช้าเพื่อที่จะจัดเตรียมอาหาร ไปตักบาตรถวายพระ พอจัดเตรียมอาหารเสร็จก็จะ บรรจงลงภาชนะมีถ้วยโถโอชามที่สวยงาม แล้วเอาวางเรียงลงในถาด เพื่อนำไปทำบุญตักบาตรและเลี้ยงพระประจำหมู่บ้านของตน เรื่องการแต่งตัว จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่สะอาดสวยงามมิดชิดเหมาะแก่การไปวัดของชาวบ้าน
ก่อพระเจดีย์ทราย ใน สมัยก่อนทีเรื่องเล่าขานกันว่าทุกคนเมื่อเข้าวัดมาแล้วเวลาเดินออกจากวัดจะ มีเม็ดทรายติดเท้าออกไปด้วยเพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการเติมเต็มจึงมีการขนทราย เข้าวัดหรือการก่อพระเจดีย์ทรายนั้นเองแต่ถึงอย่างไรแล้วการก่อพระเจดีย์ ทรายก็เป็นเพียงกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมกันทำเพราะตอน เย็นๆชาวบ้านก็จะพากันไปที่ท่าน้ำแล้วขนทรายกันมาคนละถังเพื่อนำทรายมาก่อ เป็นพระเจดีย์นั่นถือว่าเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่จะให้ชาวบ้านมีความสามัคคี กรมเกลียวเพราะเมื่อขนทรายเข้าวัดแล้วทรายก็จะล้นวัดพระสงฆ์ก็จะนำทรายที่ ชาวบ้านขนมานำไปคืนสู่แม่น้ำดังเดิมเพราะไม่รู้จะเก็บไว้ทำอะไรเพราะฉะนั้น แล้วเวลาขนทรายเข้าวัดควรจะขนเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้นพอเพราะจะสร้างความ ลำบากให้พระเณรในภายหลัง
สรงน้ำ รดน้ำ และเล่นน้ำ การ สรงน้ำพระพุทธรูป มีดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชา แล้วเอาน้ำอบไปประพรมที่องค์พระ ทำเป็นสังเขปพอเป็นพิธีว่าได้แสดงความเคารพบูชาและสรงน้ำท่านในวันขึ้นปี ใหม่แล้ว เมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปมา ก็มีการแห่แหนกันอย่างสนุกสนาน สรงน้ำพระพุทธรูปแล้วก็มีการสรงน้ำพระสงฆ์ โดยมากมักเป็นสมภารเจ้าวัดเป็นการสรงน้ำจริงๆ สรงเสร็จครองไตรจีวรใหม่ที่อุบาสกอุบาสิกานำ มาถวาย ท่านก็ขึ้นธรรมาสน์เทศน์อำนวยพรปีใหม่ให้แก่ผู้ที่ไปสรงน้ำ นอกจากนี้ยังมีการ รดน้ำญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เพื่อขอศีลขอพรตามประเพณี
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับวันสงกรานต์
ในวันสงกรานต์ของประเทศไทยในแต่ละภาคจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
– สงกรานต์ภาคกลาง
13 เมษายน จะเรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” และถือเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติอีกด้วย
14 เมษายน จะเรียกว่า “วันเนา” และถือเป็นวันครอบครัว
15 เมษายน จะเรียกว่า “วันเถลิงศก” ถือว่าเป็นวันเริ่มจุลศักราชใหม่
– สงกรานต์ภาคเหนือ
13 เมษายน จะเรียกว่า “วันสงขารล่อง” ความหมายว่า อายุสิ้นปีหมดไปอีกปี
14 เมษายน จะเรียกว่า “วันเน่า” วันที่ห้ามพูดคำหยาบคาย
15 เมษายน จะเรียกว่า “วันพญาวัน” ถือว่าเป็นวันเริ่มจุลศักราชใหม่
– สงกรานต์ภาคใต้
13 เมษายน จะเรียกว่า “เจ้าเมืองเก่า” เชื่อกันว่าวันที่เทวดารักษาบ้านเมืองจะกลับบนสวรรค์
14 เมษายน จะเรียกว่า “วันว่าง” วันที่ปราศจากเทวดารักษาเมือง
15 เมษายน จะเรียกว่า “วันรับเจ้าเมืองใหม่” วันรับเทวดาองค์ใหม่เพื่อดูแลบ้านเมืองแทนองค์เดิม
รายละเอียดสงกรานต์ภาคเหนือ
วันสังขานต์ล่อง คือวันมหาสงกรานต์ ซึ่งออกเสียงแบบล้านนาว่า “สัง-ขาน” นี้คือวันที่พระอาทิตย์โคจรไปสุดราศีมีนจะย่างเข้าสู่ราศีเมษ ตามความเชื่อแบบล้านนากล่าวกันว่าในตอนเช้ามืดของวันนี้ “ปู่สังกรานต์” หรือ “ย่าสังกรานต์”จะนุ่งห่มเสื้อผ้าสีแดงสยายผมล่องแพไปตามลำน้ำ ปู่หรือย่าสังกรานต์นี้จะนำเอาสิ่งซึ่งไม่พึงปรารถนาตามตัวมาด้วย จึงต้องมีการยิงปืนจุดประทัดหรือทำให้เกิดเสียงดังต่าง ๆ นัยว่าเป็น “การไล่สังกรานต์” และถือกันว่าปืนที่ใช้ยิงขับปู่หรือย่าสังกรานต์นั้นจะมีความขลังมาก ตั้งแต่เช้าตรู่ของวันนี้จะมีการปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด มีการซักเสื้อผ้า เก็บกวาดและเผาขยะมูลฝอยต่าง ๆ มีการดำหัวหรือสระผมเป็นกรณีพิเศษ คือเมื่อสระผมแล้วก็จะต้องเงยหน้าไปตามทิศที่กำหนดไว้และทัดดอกไม้ที่เป็น นามของปีของแต่ละปี นุ่งห่มเป็นเสื้อผ้าใหม่ ฝ่ายพ่อบ้านก็จะนำเอาพระพุทธรูปพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลังต่างๆ มาชำระหรือสรงด้วยน้ำอบน้ำหอมหรือ เปลี่ยนดอกไม้บูชาพระในแจกันใหม่ด้วย
ใน วันสังกรานต์ล่องนี้ ตามประเพณีโบราณแล้ว กษัตริย์แห่งล้านนาจะต้องทำพิธีสรงน้ำตามทิศที่ โหรหลวงคำณวนไว้ และจะลงไปทำพิธีลอยเคราะห์ในแม่น้ำเช่น ในแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง เป็นต้น ในวันนี้บางท่านก็จะเรียกลูกหลานมาพร้อมกล่าวคำมงคลแล้วใช้น้ำส้มป่อยลูบ ศีรษะตัวเองหรือลูกหลานทุกคน และบางท่านจะให้ ลูกหลานเอาฟักเขียวหรือฟักทองไปปลูกและใช้มูลควายตากแห้งเป็นปุ๋ยโดยบอก เด็กว่าปู่ย่าสังกรานต์พึงใจที่ได้เห็น ลูกหลานปลูกฟัก บ้างว่า ผู้ที่ปลูกฟักนั้นก็จะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดด้วย สำหรับในเมืองใหญ่เช่นเชียงใหม่ นิยมจัดขบวนแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองเช่นพระพุทธสิหิงค์และพระเสตังคมณี ไปตามถนนสายต่าง ๆ แล้วนำไปประดิษฐานไว้เพื่อให้ประชาชนได้เข้านมัสการสรงน้ำพระพุทธรูปดัง กล่าวด้วย
วันเนา วันเนาว์ หรือ วันเน่า ในแง่ของโหราศาสตร์แล้ว วันนี้ควรจะเรียกว่า วันเนา เพราะเป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ระหว่างราศีมีนและราศีเมษ อันเป็นวันที่ถัดจากวันสังกรานต์ล่อง แต่ในการออกเสียงแล้วทั่วไปมักเรียก”วันเน่า” ทำให้เกิดความคิดที่ห้ามการกระทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคล โดยเฉพาะห้ามการด่าทอทะเลาะวิวาทกัน กล่าวกันว่าผู้ใดที่ด่าทอผู้อื่นในวันนี้แล้ว ปากของผู้นั้นจะเน่า และหากวิวาทกันในวันนี้ บุคคลผู้นั้นจะอัปมงคลไปตลอดปี ส่วนผู้ประสงค์จะปลูกเรือนด้วยไม้ไผ่ ก็ให้รีบตัดในวันนี้ เพราะเชื่อกันว่าไม้จะ”เน่า”และไม่มีมอดหรือปลวกมากินไม้ดังกล่าว วันเนานี้จะเป็นวันเตรียมงาน ชาวบ้านจะพากันไปซื้อของเพื่อกินและใช้ในวันพญาวัน เมื่อถึงตอนบ่ายจะมีการขนทรายเข้าวัด กองรวมกันทำเป็น การขนทรายเข้าวัดนี้ถือว่าเป็นการนำทรายมาทดแทนส่วนที่ติดเท้าของตนออกจาก วัดซึ่งเสมอกับได้ลักของจากวัด วันเนานี้อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันดา เพราะเป็นวันที่ ดา หรือจัดเตรียม สิ่งของต่างๆ จะใช้ทำบุญนั่นเอง
14เมษายน เรียกว่า วันเนาว์ วันแห่ง ปิยะวาจา
วันถัดจากวันสงกรานต์ หนึ่งวันชาวล้านนาเรียกว่าวันเนาว์ มีกิจกรรมที่ต้องทำและต้องห้ามหลายอย่าง โดยเฉพาะห้ามด่าทอทะเลาะวิวาท เพราะเชื่อว่าจะนำความอัปมงคลมาสู่ชีวิตตลอดปี
วันนี้เป็นวัน ถัดจากวันสงกรานต์ 1 วัน ชาวไทยล้านนาเรียกว่าวันเนาว์หรือวันเน่า ในวันนี้ห้ามทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคล ห้ามด่าทอทะเลาะวิวาทกัน กล่าวกันว่าผู้ใหญ่ที่ด่าทอผู้อื่นในวันนี้ ปากของผู้นั้นจะเน่าเหม็น และหากทะเลาะวิวาทกันในวันนี้ บุคคลผู้นั้นจะเป็นอัปมงคลไปตลอดชีวิต ส่วนผู้ที่ประสงค์จะปลูกบ้านเรือนด้วยไม้ไผ่ ให้รีบตัดในวันนี้ เพราะเชื่อกันว่าไม้จะเน่า ไม่มีมอดหรือปลวกมากินไม้ดังกล่าว วันเนาว์อาจจะเรียกว่าวันดา จะเป็นวันเตรียมงาน ชาวบ้านจะพากันไปซื้อของเพื่อนำมาใช้ในวันพญาวัน ตอนบ่ายมีขนทรายเข้าวัด ถือเป็นการนำมาทดแทนส่วนที่ติดเท้าของตนออกจากวัดซึ่งเท่ากับว่าได้ลักขโมย ทรายออกจากวัดโดยไม่เจตนา
ในวันนี้ประชาชนภาคเหนือจะทำตุง เช่นตุงไส้หมู ตุงช่อหรือพญายอ และช่อ รูปทรงสามเหลี่ยมเตรียมไว้ปักเจดีย์ทราย สนใจชมหรือร่วมก่อเจดีย์ทรายสุดส้าว หรือเจดีย์ทรายที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถแวะไปร่วมก่อเจดีย์ทรายและขนทรายเข้าวัดได้ที่วัดเจ็ดลิน ขณะที่ขบวนแห่ไม้ค้ำสะหลีและขนทรายเข้าวัดบนถนนท่าแพจะเริ่มในเวลา 16.00 น.วันนี้ตั้งแต่สะพานเหล็กไปยังถนนท่าแพ ส่วนนิทรรศการจ้อและตุงจัดแสดงที่วัดอินทขีลสะดือเมือง
ขนมที่ นิยมทำกันในเทศกาลสงกรานต์ คือ ข้าวหนมจ็อก หรือขนมเทียน ข้าวหนมปาด หรือขนมศิลาอ่อน เข้าวิทู หรือข้าวเหนียวแดง และข้าวแต๋น เป็นต้น โดยเทศกาลสงกรานต์ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ไทย จะไม่นิยมทำอาหารที่เน่าเสียง่าย
ธนวันต์ ชุมแสง สวท.เชียงใหม่
วันพญาวัน เป็นวันเถลิงศกเริ่มต้นจุลศักราชใหม่ วันนี้เป็นวันที่มีการทำบุญทางศาสนาดัง ตั้งแต่เวลา เช้าตรู่ผู้คนจะนำเอาสำรับอาหารหวานคาวต่าง ๆ ไปทำบุญถวายพระตามวัด ทานขันเข้า (อ่าน”ตานขันเข้า”) เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษหรือญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วด้วย บางคนอาจนำสำรับอาหารไปมอบให้แก่บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือ เรียกว่า ทานขันเข้าฅนเถ้าฅนแก่
จากนั้นจะนำทุงหรือธงซึ่งได้เตรียมไว้ไปปักบนเจดีย์ทราย ทั้งนี้ มีคติว่าการทานทุง นั้นมีอานิสงส์ สามารถช่วยให้ผู้ตายที่มีบาปหนักถึงตกนรกนั้นสามารถพ้นจากขุมนรกได้ จากนั้นก็มีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
ในวันพญาวันนี้ บางท่านอาจจะเตรียมไม้ง่ามไปถวายสำหรับค้ำต้นโพ ถือคติว่าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการจะช่วยกันค้ำจุนพระศาสนาให้ยืนยาวต่อไป และจะมีการสรงน้ำทั้งพระพุทธรูป สถูปเจดีย์รวมทั้งสรงน้ำพระภิกษุสงฆ์ด้วย ในตอนบ่ายจะมีการไป ดำหัวหรือไปคารวะผู้เฒ่าผู้แก่บิดามารดา ญาติพี่น้องผู้อาวุโสหรือผู้มีบุญคุณหรือผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาและผู้ใหญ่ก็จะให้พร
วันปากปี ในวันนี้ ศรัทธาที่ไม่ไปที่วัดก็ จะไปเตรียมสถานที่ เพื่อทำบุญใจบ้าน คือบริเวณที่ตั้งของ เสาใจบ้านหรือสะดือบ้านบ้างเรียก แปลงบ้าน หรือส่งเคราะห์บ้าน บริเวณหอเสื้อบ้าน (อารักษ์หมู่บ้าน) ที่วัดตอนเช้าจะมีการทำพิธีปูชาเข้าลดเคราะห์ ปูชาเข้ายกเคราะห์ ปูชาเคราะห์ปีใหม่ ปูชาสระพระเคราะห์ เป็นต้น เชื่อว่าผู้ที่บูชาดังว่าในวันปากปี จะได้รับความคุ้มครองไปตลอดปี และชาวบ้านบางคนจะพากันไปดำหัววัด คือไปทำพิธีคารวะเจ้าอาวาสวัดที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ด้วย
วันในลำดับที่ ๕ ของเทศกาลนี้คือ วันปากเดือน ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นของเดือนใหม่ ในวันนี้นิยมมีการส่งเคราะห์ต่าง ๆ ตามแบบที่นิยมนับถือกันมาแต่โบราณ การส่งเคราะห์ที่ว่านี้มีหลายอย่าง เช่น ส่งชน, ส่งแถน, ส่งเคราะห์นรา เป็นต้น ส่วนการดำหัวนั้นก็จะดำเนินต่อไปจนครบตามต้องการ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้มีการละเล่นที่สนุกสนานหลายอย่าง เช่น เล่นหมากบ้าหรือการเล่นสะบ้า เล่นหมากคอนหรือการเล่นโยนลูกช่วง เป็นต้น แต่การเล่นที่สนุกที่สุกและมีเพียงช่วงเดียวในรอบปี คือ เล่นหดน้ำ ปีใหม่ หรือการเล่นรดน้ำในเทศกาลขึ้นปีใหม่นั่นเอง
สถานที่จัดงานสงกรานต์ 2560
– งานมหาสงกรานต์ อีสาน จังหวัดหนองคาย 59
มีการอัญเชิญหลวงพ่อพระใสและพระพุทธรูปสำคัญต่างๆ เข้าขบวนแห่รอบตัวเมืองเพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ…
กำหนดการ : 12 เมษายน 2559 – 16 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน : ณ วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย
– งานสงกรานต์ COCO SONGKRAN @เกาะสมุย, จังหวัดสุราษฎร์ธานี 59
มีการจัดขบวนแห่นางสงกรานต์ พิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ…
กำหนดการ : 13 เมษายน 2559 – 14 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน : ณ ถนนสายเลียบหาดเฉวง ถนนคนเดินชุมชนบ่อผุด จังหวัดสุราษฎร์ธานี
– งานสงกรานต์ ถนนข้าวสาร, กรุงเทพ 59
ถนนข้าวสารเต็มไปด้วยหนุ่มสาววัยรุ่น ชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาร่วมสนุกและคลายร้อนกันอย่างสร้างสรรค์…
กำหนดการ : 12 เมษายน 2559 – 15 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน : ณ ถนนข้าวสาร จังหวัดกรุงเทพมหานคร
– งานหาดใหญ่ มิดไนท์ สงกรานต์, จังหวัดสงขลา 59
การประกวดเทพีสงกรานต์การละเล่นสาดน้ำสงกรานต์…
กำหนดการ : 13 เมษายน 2559 – 15 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน : ณ สี่แยกโอเดียน ถนนเสน่หานุสรณ์ ถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 และวัดมหัตตมังคลาราม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
– งานประเพณีสงกรานต์ จังหวัดแพร่ “ดอกลมแล้งบาน สงกรานต์เมืองแป้ นุ่งหม้อห้อมแต้งามตา” 59
ร่วมทำบุญตักบาตรอุทิศกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วและพิธีถวายเจดีย์ทรายโดยการ ปักตุง 12 ราศี…
กำหนดการ : 13 เมษายน 2559 – 17 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน : ณ สวนสุขภาพ 80 ปี และศาลากลาง จังหวัดแพร่
– งานประเพณีสงกรานต์ จังหวัดเชียงราย 59
ขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่อลังการในพิธีแห่ไม้ค้ำสรีชมการละเล่นพื้นบ้านที่สนุกสนาน…
กำหนดการ : 11 เมษายน 2559 – 13 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน : ณ สวนตุงและโคมเชียงรายเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดเชียงราย
– งานประเพณีสงกรานต์แม่สาย จังหวัดเชียงราย 59
การทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 99 รูป พิธีสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์จำลอง…
กำหนดการ : 13 เมษายน 2559 – 15 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน : ณ ลานที่ว่าการอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
– ก่อพระทราย วันไหลบางแสน จังหวัดชลบุรี 59
งานประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน จังหวัดชลบุรี เป็นงานประเพณีที่ชาวตำบลแสนสุข ได้ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณ…
กำหนดการ : 16 เมษายน 2559 – 17 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน : ณ บริเวณชายหาดบางแสน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
– ประเพณีวันไหลพัทยา – นาเกลือ และงานกองข้าวนาเกลือ 59
งานประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน จังหวัดชลบุรี เป็นงานประเพณีที่ชาวตำบลแสนสุข ได้ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณ…
กำหนดการ : 18 เมษายน 2559 – 20 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน : ณ ลานโพธิ์ นาเกลือ วัดชัยมงคล จังหวัดชลบุรี
ฯลฯ
ขอบคุณ http://scoop.mthai.com/specialdays/1733.html
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C